ปัจจุบันหลายคนชอบทำอะไรหลาย ๆ อย่างในเวลาเดียวกัน เช่น ทำการบ้านไปด้วย ส่องไอจีไปด้วย กินขนมไปด้วย และคุยแชทกับเพื่อนไปด้วย การทำแบบนี้จะส่งผลให้สมองคุ้นชินกับการรับข้อมูลหลายทางแบบเป็นชุดเล็ก ๆ ยิบย่อยอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้กลายเป็นคนไม่มีสมาธิที่จะทำเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นเวลานาน ๆ ซึ่งการจะอ่านหนังสือให้เข้าใจหรือการตั้งใจเรียนอย่างจริงจัง เราจะต้องโฟกัสกับมันเป็นเวลานาน เพราะฉะนั้นเมื่อสมองเราเคยชินกับการรับข้อมูลชุดสั้น ๆ แบบเปลี่ยนเรื่องไปเรื่อย ๆ อย่างรวดเร็ว มันเลยทำให้เรากลายเป็นคนที่ไม่สามารถจดจ่อกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้นาน ๆ นั่นเอง
หากการทำอะไรหลายอย่างในเวลาเดียวกันนั้นมีการใช้โซเชียลด้วย เช่น ชอบเล่นทวิตเตอร์ตอนอ่านหนังสือ หรือชอบเช็กเฟซบุ๊กตอนกำลังเรียน การเล่นโซเชียลมาก ๆ จนติดจะส่งผลให้สมองเสพติดการได้รับการกระตุ้น งการกระตุ้นดังกล่าวจะทำให้ร่างกายหลั่งสารชื่อโดพามีน (Dopamine) ออกมา ส่งผลให้สมองเกิดการเสพติดการหลั่งสารตัวนี้ เมื่อเราหยุดเล่นโซเชียล สมองก็จะทำให้เรารู้สึกว่าน่าเบื่อจัง และยังส่งผลให้เราไม่มีสมาธิ หรือไม่สามารถโฟกัสกับอะไรนาน ๆ ได้เลย
รู้แบบนี้แล้ว เราควรตั้งเป้าหมายในการปรับพฤติกรรม โดยอาจจะเริ่มต้นจากลดการเล่นโซเชียลให้น้อยลง เรียนรู้วิธีเพิ่มสมาธิ หรือลดนิสัยชอบทำหลาย ๆ อย่างพร้อมกัน ช่วงแรก ๆ อาจจะรู้สึกฝืนตัวเองหน่อย แต่อยากให้อดทนและค่อย ๆ ปรับนิสัยไป เพราะผลลัพธ์ที่ได้มันจะช่วยให้เราอ่านหนังสือรู้เรื่องขึ้น เรียนเข้าใจขึ้น และยังช่วยให้เรามีสมาธิกับการทำสิ่งต่าง ๆ ได้ดีมากขึ้นด้วย
บทความที่เกี่ยวข้อง
อ่านหนังสือไม่ได้ เอาแต่เล่นมือถือ ระวังเป็นโรค ‘สมาธิสั้นเทียม'
รวมเทคนิคการจำ ที่จะช่วยให้กลายเป็นคนจำแม่น อ่านอะไรก็ไม่ลืม
เทคนิคการจำแบบไม่ต้องจำ โดยจิตแพทย์ชาวญี่ปุ่น
ฝึก ‘ความฉลาดทางอารมณ์’ เคล็ดไม่ลับอัปผลการเรียนให้ดีขึ้น
เบื่อจัง ชีวิตจะเป็นอะไรได้อีก ถ้าหากไม่ได้เป็น ‘คนเรียนเก่ง’
แหล่งข้อมูล
ดร.นำชัย ชีววิวรรธน์. (2560). อย่าชวนเธอไปดูหนังรัก. กรุงเทพฯ: มติชน