ใครที่เป็นแฟนบาสเกตบอลคงจะเคยได้ยินคำว่า ‘Choke’ ที่แปลว่าพลาดในนัดสำคัญ เมื่อนักบาสพลาดชู้ตลูกบาสไม่ลงห่วงในนัดชิงแชมป์ หรือเมื่อต้องเล่นภายใต้ความกดดันสูง ทำให้แม้จะซ้อมมาหลายชั่วโมงก็เล่นได้ไม่ดีเท่าที่ควรหรือที่เขาเรียกว่า หมูสนามจริง สิงห์สนามซ้อม ซึ่งมันก็คล้ายกับเวลาเราอยู่ในสนามสอบนั่นแหละ
วิธีทั่วไปที่เรารู้จักกันดีเวลาที่ต้องรับมือกับความกดดัน คือการสูดลมหายใจเข้าใจลึก ๆ และออกช้า ๆ หรือการมองไปที่นิ้วก้อยเท้าเพื่อที่จะหลอกสมองไม่ให้นึกถึงเรื่องกวนใจที่จะทำให้เราหลุดโฟกัสหรือเสียสมาธิ นอกจากนี้ก็ยังมีวิธีอื่น ๆ ที่จะช่วยฝึกให้สมองส่วนหน้าของเรารับมือกับความกดดันได้อย่างมืออาชีพอีกด้วย
แน่นอนว่าค่าสอบต่าง ๆ มันค่อนข้างที่จะแพง เราคงจะไปลองสอบจริงในสนามสอบก่อนไม่ได้ แต่เราสามารถนำข้อสอบเก่า ๆ มาฝึกทำแล้วจับเวลาให้เหมือนกับเวลาสอบจริงได้ โดยให้จำลองเหตุการณ์เสมือนจริงว่าเรานั่งอยู่ในห้องสอบ นำชุดปากกาที่ต้องใช้ในวันจริงมานั่งทำ เพราะนักวิจัยเผยว่าคนที่ฝึกซ้อมภายใต้แรงกดดันจริงจะทำได้ดีกว่าคนที่ไม่เคยซ้อมเลย
ในแทบจะทุกการเล่นกีฬาจะมีท่าที่ต้องทำก่อนเล่นจริง (A pre-performance routine) อย่างในการเล่นกอล์ฟก็จะมี Pre shot routine เอาไว้สร้างทักษะให้กับกล้ามเนื้อในการตีลูกเพื่อเวลาเล่นจริงจะได้ทำสวิงโดยไม่ต้องคิดถึงสวิง เช่นเดียวกันกับการสอบ การสูดหายใจเข้าลึก ๆ พูดคำดี ๆ กับตัวเอง เช่น ฉันทำได้ ฉันจะทำให้เต็มที่ ฯลฯ หรือการขยับเล็ก ๆ เพื่อเรียกสมาธิและคลายกล้ามเนื้อของเราให้ผ่อนคลาย เช่น ขยับข้อมือเบา ๆ ยืดคอเล็กน้อย หรือว่าจะขยับปากก็ช่วยได้เยอะ
จากการทำการวิจัยพบว่าการติวเป็นกลุ่ม (External focus) มีผลช่วยลดความเครียดและสร้างแรงกดดันที่ดีกว่าการติวหนังสือคนเดียว (Internal focus) เพราะเป็นการสร้างแรงกดดันระดับปานกลางที่จะทำให้เรา active ขึ้นจากการเปิดโอกาสให้ตัวเองได้อยู่ในสิ่งแวดล้อมแบบเปิด แชร์สิ่งที่รู้และไม่รู้กับเพื่อนที่มากกว่า 1 คนหรือตัวต่อตัว
การปิิดหนังสือแล้วลองสรุปเนื้อหาถือเป็นการสร้างความกดดันระดับปานกลาง (Moderate pressure) การทำแบบนี้จะช่วยเตรียมเราให้พร้อมเมื่อต้องสอบจริง แถมยังทำให้เรา Productive มากขึ้นอีกด้วย เก็บไว้เป็นวิธีฝึกซ้อมไม่ให้ตัวเองกดดันเมื่อต้องอ่านหนังสือคนเดียว
เมื่อปราศจากความกลัวแล้ว คนเราจะทำเรื่องโง่ ๆ และถ้าปราศจากความกล้าแล้ว คนเราจะไม่ทำในสิ่งที่ไม่เคยทำ คนที่บาลานซ์ระหว่างสองสิ่งนี้ได้จะได้เปรียบกว่าคนอื่น คือจะสามารถปลดปล่อยเอาความสามารถที่มีอยู่ไปใช้ได้อย่างไร้ขีดจำกัดและพลาดน้อย ลองบาลานซ์ระหว่างสิ่งดีที่สุดก็คือได้คะแนนเต็ม และนึกถึงสิ่งที่แย่ที่สุดก็คือได้ไม่ถึงครึ่ง ทีนี้เราก็จะฮึกเหิมขึ้นมาทันทีที่จะโฟกัสให้ตัวเองได้เต็ม !
ต่อไปนี้คงจะไม่ใช่แค่ Practice, makes perfect ซะแล้ว แต่เป็น Practice, under pressure, with focus, makes perfect ! ฝึกฝนภายใต้แรงกดดันด้วยการโฟกัสเพื่อชัยชนะที่หอมหวานนั่นเอง ฮึบโว้ยยย !
แหล่งข้อมูล
How to stay calm under pressure