เเต่ยังมีหลายคนที่อาจเข้าใจอาการของโรคไข้เลือดออกผิด ทำให้การรักษาไม่ได้ผล หรือรักษาได้ไม่ทันท่วงที ทำให้มีอันตรายถึงชีวิตได้ รวมไปถึงความเข้าใจเกี่ยวกับยุงลายและการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย หลายคนยังเข้าใจผิดและสับสนทำให้การป้องกันโรคไม่ได้ผล เรามาดูวิธีป้องกันและการกำจัดยุงลายที่ถูกต้องกัน เพราะยุงลาย 1 ตัวออกลูกได้มากถึง 500 ตัว ! อย่างนี้ไม่กลัวได้อย่างไร
ความเชื่อนี้ถูกครึ่งหนึ่งค่ะ ความจริงวงจรชีวิตของยุงลายก็อยู่ได้แค่ 2-3 สัปดาห์จริง แต่หากอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ยุงลายจะมีชีวิตอยู่ได้นานถึง 6 สัปดาห์เลยทีเดียว ระหว่างนี้เมื่อยุงตัวเมียโตเต็มวัย กัดผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสเดงกี่ ไวรัสที่ทำให้เป็นโรคไข้เลือดออก จะไปสะสมที่ต่อมน้ำลายและสามารถแพร่กระจายไปสู่ผู้อื่นได้ภายใน 1-2 สัปดาห์ถัดมา
ความเป็นจริง อยู่สูงแค่ไหนยุงก็ไปถึง เพราะเกาะไปกับตัวคน และพร้อมขยายพันธ์ุทันทีเช่นกัน
ความเป็นจริงยุงลายชอบเพาะพันธ์ุในน้ำใสสะอาดและนิ่ง เช่น อางบัว น้ำในจานรองกระถางต้นไม้ และสามารถวางไข่ได้ในที่ที่มีน้ำขังเล็กเพียงน้อยอย่างน้ำขังในโพรงใบไม้ หรือกระป๋องเปล่า และแม้กระทั่งน้ำที่หลังตู้เย็น
ไม่จบค่ะ เพราะไข่ยุงลายแห้งนั้นถึกกว่าที่เราคิด อยู่ได้ในสภาพแห้งนานถึง 1 ปีและพอได้รับน้ำอีกครั้งก็พร้อมฟักเป็นลูกน้ำ แพร่พันธุ์ต่อได้ทันที ! ดังนั้นหลังจากเทน้ำขังในภาชนะเปล่ารอบบ้านแล้ว ต้องขัดให้สะอาดเพื่อกำจัดไข่ยุงลาย และหาฝาปิดให้มิดชิด
ความจริงแล้ว อัตราการพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในวัยรุ่นและวัยทำงานมีมากที่สุด และพบจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกมากในกรุงเทพฯ มากกว่าต่างจังหวัด
เมื่อป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกสายพันธุ์ใดแล้วรักษาจนหาย ร่างกายจะมีภูมิคุ้มกันไวรัสสายพันธุ์นั้นไปตลอดชีวิต ไม่กลับมาเป็นซ้ำหากได้รับเชื้อไวรัสตัวเดิม ความเป็นจริงโรคไข้เลือดออกเกิดจากไวรัสเดงกี่ ที่มีถึง 4 สายพันธุ์ ผลัดเปลี่ยนกันระบาดในแต่ละปี จึงทำให้มีโอกาสป่วยเป็นไข้เลือดออกได้ถึง 4 ครั้ง ! เมื่อป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกเป็นครั้งที่ 2 มักมีอาการรุนแรงกว่าครั้งแรกเพราะร่างกายเข้าใจผิด คิดว่าเป็นไวรัสสายพันธุ์เดียวกับที่เคยเป็น ทำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันช้ากว่าครั้งแรก
อาการหลัก ๆ ของผู้ป่วยที่เป็นโรคไข้เลือดออกเบื้องต้นจะมีอาการคล้ายไข้หวัด คือมีไข้สูง ปวดหัวรุนแรง ปวดตามข้อและกล้ามเนื้อ แต่หลายคนคิดว่าผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกทุกคนต้องมีอาการเป็นผื่นแดง มีจ้ำจุดแดง หรือเลือดออกใต้ผิวหนัง เลือดกำเดาไหลทุกคน แต่ในผู้ป่วยบางรายไม่พบรอยผื่นแดง หรือเลือดออกตามอวัยวะต่าง ๆ ในวันแรก เพราะการแสดงอาการของโรคไข้เลือดออกจะแสดงจากเบาไปหาหนัก ดังนั้นเมื่อมีไข้สูงเฉียบพลัน 2-3 วันแล้วไข้ไม่ลด มีอาการปวดหัว ปวดกระบอกตา ปวดตัวร่วมด้วย สงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก ให้รีบไปพบแพทย์ด่วน
โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่ยังไม่มียารักษา หมอจึงต้องให้ยาแก้ปวด ลดไข้รักษาตามอาการ และยาที่ห้ามใช้กับผู้ป่วยไข้เลือดออกเด็ดขาดก็คือ ยาแก้ปวดในกลุ่มแอสไพรินและไอบูโพรเฟน เพราะโรคไข้เลือดออกทำให้ผู้ป่วยมีภาวะเกล็ดเลือด และภาวะแข็งตัวของเลือดบกพร่อง ทำให้เลือดออกง่าย ยาแก้ปวดสองชนิดนี้จะทำให้ผู้ป่วยเสี่ยงกับภาวะเลือดออกมากขึ้นจนถึงภาวะช็อกได้เลยทีเดียว และยังก่อให้เกิดการระคายเคืองกระเพาะอาหารของผู้ป่วยไข้เลือดออก กรมอนามัยฯ จึงแนะนำให้ผู้ป่วยไข้เลือดออกกินยาพาราเซตามอลที่มีขายทั่วไป ควบคู่ไปการจิบเกลือแร่แบบชง เพื่อรักษาระดับของของเหลวในร่างกาย แต่การกินยาพาราเซตามอลก็ต้องกินในพอดี เพราะกินมากเกินไปอาจส่งผลให้ตับเกิดภาวะเป็นพิษได้
วัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออกมีประสิทธิภาพป้องกันโรคถึง 82% ในผู้ที่เคยป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกมาก่อน แต่กลับให้ประสิทธิภาพในการป้องกันในผู้ที่ไม่เคยป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกเลยเพียง 52% เท่านั้น และหลังจากการติดตามผลการฉีดวัคซีนในกลุ่มอาสาสมัครกลับพบว่า หลังรับวัคซีน ผู้ที่อยู่ในกลุ่มไม่เคยป่วยมาก่อน เสี่ยงต่อการนอนโรงพยาบาลเพราะโรคไข้เลือดออกถึง 1.4 เท่า และเสี่ยงต่อการมีอาการของโรครุนแรงขึ้นถึง 2.4 เท่า ! ดังนั้นองค์การอนามัยโลกและสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กและผู้ใหญ่แห่งประเทศไทย จึงออกมาแนะนำว่า ผู้ที่ไม่เคยป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกมาก่อน ไม่ควรรับวัคซีนป้องกันไข้เลือดออก
ความจริงแล้วเราทุกคนสามารถป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกได้ทุกฤดู ไม่ว่าจะเป็นหน้าร้อน หน้าฝน หรือหน้าหนาว ตราบเท่าที่ยุงลายตัวเมียยังคงหากินและแพร่พันธุ์ ฤดูไหนเมื่อถูกยุงกัดก็มีโอกาสเป็นโรคไข้เลือดออกได้เท่า ๆ กัน อย่าชะล่าใจนะจ๊ะ