การสัมผัสเป็นเสมือนประตูเชื่อมโยงระหว่างโลกภายนอกกับโลกภายในหรือสมองของเด็ก ๆ ที่สามารถทำได้ง่ายและให้ผลดีมากที่สุดวิธีหนึ่ง โดยการสัมผัสที่ครูพิมจะแนะนำในวันนี้ จะเป็นการสัมผัสทางผิวหรือการใช้มือหยิบสัมผัสเป็นหลัก ทั้งนี้วัสดุหลาย ๆ อย่าง ก็อาจจะให้คุณสมบัติด้านเสียง สีสัน และกลิ่น ซึ่งนับเป็นอีกหนึ่งประสาทสัมผัสที่สำคัญเช่นกันค่ะ ถ้าพร้อมแล้วก็มาดูไปพร้อม ๆ กันเลยนะคะ ว่ามีวัสดุชนิดใดกันบ้าง
จะแบบหุงสุกแล้ว หรือ ยังไม่หุงก็ได้นะคะ เพราะทั้ง 2 แบบให้สัมผัสที่ต่างกัน นอกจากนี้ หากอยากจะเพิ่มการรับรู้ทางสายตา ก็อาจจะใช้สีผสมอาหารผสมกับข้าวเพื่อทำให้เกิดสีสันต่าง ๆ ด้วยก็จะยิ่งสนุกและมีประโยชน์มากขึ้นค่ะ
เด็ก ๆ จะได้เรียนรู้สัมผัสหนึบ ๆ ของเส้นบะหมี่ และเข้าใจถึงลักษณะของสิ่งที่เป็นเส้น ๆ ยาว ๆ ได้ด้วย ข้อดีของการใช้เส้นก๋วยเตี๋ยวก็คือ รับประทานได้และไม่เป็นอันตรายสำหรับเด็ก ๆ ค่ะ
สำหรับทราย ควรเป็นทรายที่สะอาด หรือทรายพิเศษที่มีไว้สำหรับเล่นโดยเฉพาะก็ได้ค่ะ (อันนี้กินไม่ได้ แต่ถือว่าอยู่ในวัตถุที่ไม่อันตรายสำหรับเด็กค่ะ) ความละเอียดและการเปลี่ยนรูปร่างของทราย จะเป็นตัวกระตุ้นพัฒนาการชั้นดีให้กับเด็ก ๆ และเราสามารถใช้ของเล่นอื่น ๆ มาประกอบเพื่อเพิ่มความสนุกสนานและการเรียนรู้ให้เด็กได้อีกด้วยนะคะ
อาหารสำเร็จรูปพวกนี้ มีผิวสัมผัสที่หลากหลาย มีรูปร่างและสีสันที่แตกต่างกันไป และยังรับประทานในระหว่างเล่นได้อีกด้วย ถือว่าเป็นของเล่นประเภท Sensory ที่ดีทีเดียวค่ะ ถ้าไม่นับว่าอาจจะสิ้นเปลืองไปสักนิด
เด็ก ๆ สนุกมากเมื่อได้เล่นกับผิวลื่น ๆ หยุ่น ๆ ของเยลลี่ ที่มีสีสันหลากหลาย และยังสามารถใช้มือบด ขยำได้อย่างไม่รู้เบื่อ แถมยังอร่อยอีกด้วยนะคะ หากกลัวว่าจะสิ้นเปลือง ครูพิมแนะนำให้ซื้อแบบกึ่งสำเร็จรูปแล้วนำมาผสมน้ำและแช่เย็นเอง จะประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่าการซื้อเยลลี่สำเร็จรูป และที่สำคัญคือ เราสามารถควบคุมปริมาณน้ำตาลเองได้อีกด้วยนะคะ
เนื้อสัมผัสของแป้งจะมีความฝืดนิด ๆ และสนุกตรงที่สามารถเล่นได้อย่างอิสระ เหมือนการเล่นทรายเลยค่ะ ลองเตรียมแป้ง น้ำเปล่า และสีผสมอาหารให้เด็ก ๆ ได้ลองผสมผสานและสังเกตการเปลี่ยนแปลงของเนื้อแป้ง ก็เป็นกิจกรรมที่ให้กระตุ้นสมองได้ไม่น้อยเลยค่ะ
อันนี้แทบไม่ต้องบรรยายเลยค่ะ ทั้งสนุกและอร่อย แถมอิ่มท้องด้วย เด็ก ๆ ที่ทานยาก อาจจะลองวิธีนี้ดูก็ได้นะคะ เพราะการเล่นไป ทานไป เด็ก ๆ จะไม่ค่อยรู้สึกว่าเป็นการบังคับมากค่ะ
อุปกรณ์ง่าย ๆ อย่างน้ำและน้ำแข็งขนาดต่าง ๆ ก็สามารถเป็นวัสดุที่ช่วยกระตุ้นพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก ๆ ได้เช่นเดียวกันนะคะ โดยอุณหภูมิที่เปลี่ยนไปของน้ำ การละลายของน้ำแข็ง บวกกับความไหลลื่นของน้ำนับว่าเป็นความสนุกที่ลงตัวแบบสุด ๆ รับรองว่าเด็ก ๆ ได้เล่นต้องติดใจแน่นอนค่ะ
จะมีอะไรที่ช่วยให้เด็ก ๆ ได้สร้างสรรค์จินตนาการได้ดีไปกว่าหินเล็ก ๆ และดินเหนียว ๆ ของเล่นที่ดูเหมือนว่าจะสกปรกเลอะเทอะนี่หละค่ะ ที่เป็นครูชั้นดีให้กับเด็ก ๆ หากคุณพ่อคุณแม่กังวลเรื่องความสะอาด ครูพิมแนะนำให้เลือกแหล่งที่มาของวัสดุที่น่าจะปลอดภัย แล้วก็สวมชุดกันเปื้อนให้เด็ก ๆ เพิ่มสักนิด เท่านี้ก็ไม่น่าเป็นห่วงแล้วค่ะ และการได้สัมผัสกับเลอะเทอะบ้างนั้น ก็ทำให้เด็ก ๆ ได้ก้าวผ่านข้อจำกัดต่าง ๆ ของชีวิตได้ง่ายขึ้นด้วยนะคะ
ครูพิม ณัฏฐณี สุขปรีดี
นักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาศักยภาพเด็กเล็กและการเลี้ยงลูกเชิงบวก
Facebook.com/PimAndChildren