เซลล์ในร่างกายของเราจะตายหากเราขาดน้ำตาล แต่การบริโภคน้ำตาลที่มากเกินไปก็ทำให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดโรคภัยและปัญหาสุขภาพได้ ไม่ว่าจะเป็นโรคอ้วน โรคเบาหวาน และฟันผุ วิธีที่ดีที่สุดในการควบคุมน้ำตาลคือรู้ว่าในแต่ละวันเรารับประทานน้ำตาลไปมากน้อยแค่ไหน วันนี้เรามีรายละเอียดของปริมาณน้ำตาลในอาหารที่นิยมบริโภคในแต่ละวัน ทั้งอาหารจากธรรมชาติและอาหารแปรรูปมาเป็นข้อมูลให้ทุกท่านค่ะ
น้ำตาลเป็นคาร์โบไฮเดรต เป็นสารอาหารที่มีรสหวานซึ่งมาได้ในหลายรูปแบบ หลัก ๆแล้วน้ำตาลจะแบ่งออกได้ 3 ชนิดขึ้นอยู่กับที่มาของน้ำตาลนั้น ๆ คือ ซูโครส แลคโตสและฟรุคโตส ถึงแม้ว่าเซลล์ในร่างกายของเราจะต้องการน้ำตาล (กลูโคส) เพื่อให้อยู่ได้ แต่การบริโภคน้ำตาลชนิดนี้มากเกินไปจะสร้างปัญหาสุขภาพได้มากมาย การเติมน้ำตาลในอาหารไม่ได้ช่วยเพิ่มสารอาหารให้ร่างกายแต่อย่างใด แต่กลับทำให้เสี่ยงต่อฟันผุ โรคอ้วน และโรคเบาหวานได้
สถาบันหัวใจของสหรัฐอเมริกา (AHA) ได้กล่าวไว้ว่า การเติมน้ำตาลเป็นการเพิ่มสารอาหารที่เป็นศูนย์ และเป็นการเพิ่มแคลอรี่ที่จะทำให้มีน้ำหนักเพิ่ม ซึ่งส่งผลเสียต่อหัวใจ แม้ว่าช่วงหลังมานี้ การรณรงค์ให้ระมัดระวังเรื่องการบริโภคน้ำตาลที่มากเกินไปได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง แต่ก็ยังมีอาหารอีกหลากหลายชนิดที่เติมน้ำตาล
ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2558 กรมอนามัยโลกแนะนำไว้ว่า เด็กและผู้ใหญ่ควรลดการบริโภคน้ำตาลในแต่ละวันให้เหลือแค่ 10 เปอร์เซนต์ จากอาหารที่รับประทานในแต่ละวัน หรือจะให้ดีที่สุดควรเหลือเพียง 5 เปอร์เซนต์
การบริโภคแบบ “ปราศจากน้ำตาล” ที่กล่าวถึงนี้ หมายถึงน้ำตาลที่เติมในอาหารและเครื่องดื่ม รวมทั้งน้ำตาลที่มีอยู่ในน้ำเชื่อม น้ำผึ้ง และน้ำผลไม้ แต่ไม่รวมน้ำตาลที่พบตามธรรมชาติจากผักสด ผลไม้ หรือนม เพราะไม่พบผลกระทบที่เกิดจากน้ำตาลจากการบริโภคสิ่งเหล่านี้
"...น้ำตาล 1 ช้อนชามีน้ำหนักประมาณ 4 กรัม ซึ่งกรมอนามัยโลกแนะนำว่าเราควรลดการบริโภคน้ำตาลลงเหลือเพียง 5 เปอร์เซนต์ของอาหารที่รับประทานต่อวัน ซึ่งเท่ากับใน 1 วันควรรับประทานน้ำตาลไม่เกิน 6 ช้อนชา..."
วันนี้เรามีรายละเอียดเกี่ยวกับปริมาณน้ำตาลในอาหารชนิดต่าง ๆ ที่เป็นที่นิยม มาให้เป็นข้อมูลเพื่อบริโภคน้ำตาลให้เหมาะสมในแต่ละวันกันค่ะ
- ช็อคโกแลตสนิกเกอร์ ( 52.7 กรัม) - 6.75 ช้อนชา
- ช็อคโกแลตนมแบบแท่ง (44 กรัม) – 5.75 ช้อนชา
- ช็อคโกแลตนมแบบแท่งตราเฮอร์ชี่ (43 กรัม) – 6 ช้อนชา
- ช็อคโกแลตทวิกซ์ (50.7 กรัม) – 6 ช้อนชา
- ช็อคโกแลตเอ็มแอนด์เอ็ม 1 ห่อ (47.9 กรัม) – 7.5 ช้อนชา
จะเห็นได้ว่าช็อคโกแลตมีน้ำตาลผสมอยู่ในปริมาณที่ค่อนข้างสูง จึงแนะนำให้บริโภคเป็นครั้งคราว ไม่ควรรับประทานบ่อย ๆ ค่ะ
- โค้ก 1 กระป๋อง - 8.25 ช้อนชา
- เป็ปซี่ 1 กระป๋อง - 8.75 ช้อนชา
- กระทิงแดง 1 กระป๋อง - 6.9 ช้อนชา
- สไปรท 1 กระป๋อง - 8.25 ช้อนชา
น้ำอัดลมส่วนใหญ่จะมีส่วนผสมของน้ำตาลสูง การศึกษาจากสถาบันหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกาให้ข้อมูลไว้ว่า การดื่มน้ำอัดลมมากกว่า 1 ชนิดใน 1 วันจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและโรคเบาหวาน
- อัลเพน - 5.75 ช้อนชา
- คอร์นเฟลก - 2.4 ช้อนชา
- ฟรุทลู้ป - 10.5 ช้อนชา
- ทริกซ์ - 8 ช้อนชา
- วีทตี้ส์ - 3.75 ช้อนชา
- โกโก้พัฟ - 9.25 ช้อนชา
แม้ว่าอาหารเช้าแบบธัญพืชจะดูเหมือนเป็นอาหารที่มีประโยชน์และมีคุณค่าทางโภชนาการ แต่ก็มีการทดสอบออกมาว่า ในอาหารเช้าประเภทนี้มีน้ำตาลสูงถึง 56 เปอร์เซนต์ คือ ครึ่งหนึ่ง เช่นเดียวกันกับเส้นใยที่ได้รับ และมีโซเดียมสูงถึง 50 เปอร์เซนต์เช่นกัน
- มะม่วง - 3.2 ช้อนชา
- กล้วย - 3 ช้อนชา
- แอปเปิ้ล - 2.6 ช้อนชา
- สับปะรด - 2.5 ช้อนชา
- องุ่น - 4 ช้อนชา
- เลม่อน - 0.6 ช้อนชา
- กีวี่ - 2.3 ช้อนชา
- แอปพริคอท - 2.3 ช้อนชา
- สตรอว์เบอร์รี่ - 1.3 ช้อนชา
- ราสป์เบอร์รี่ - 1 ช้อนชา
- บลูเบอร์รี่ - 1.7 ช้อนชา
- แครนเบอร์รี่ - 1 ช้อนชา
- มะเขือเทศ - 0.7 ช้อนชา
ในผลไม้มีน้ำตาลที่เรียกว่าฟรุกโตส ซึ่งถือได้ว่าเป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติที่ไม่มีการปรุงแต่งรสชาติหวานจากน้ำตาล แต่จากผลการตรวจวัดปริมาณน้ำตาลในผลไม้ 100 กรัม ผลไม้บางชนิดยังให้น้ำตาลในปริมาณที่สูงตั้งแต่ 1 ถึง 4 ช้อนชา
- พายบาน้อฟฟี่ 1 ถ้วย – 4.25 ช้อนชา
- เค้กแครอท 1 ชิ้น - 3 ช้อนชา
- คัสตาร์ด 1 ถ้วย - 3.25 ช้อนชา
- มูสช็อคโกแลต 1 ถ้วย - 3 ช้อนชา
- โดนัทไส้แยม 1 ชิ้น - 3.5 ช้อนชา
- พายผลไม้ 1 ชิ้น - 3.5 ช้อนชา
- เค้กผลไม้ 1 ชิ้น - 5 ช้อนชา
- มัฟฟิ่นช็อคโกแลตชิป - 4.75 ช้อนชา
- ไอศกรีม 1 สกู้ป - 3 ช้อนชา
- พุดดิ้ง 1 ถ้วย - 3.75 ช้อนชา
- สปอนจ์เค้ก - 5.5 ช้อนชา
ในขนมหวานส่วนใหญ่จะใช้น้ำตาลเพื่อเพิ่มรสชาติความหวานเป็นหลัก แม้ว่าในขนมขนาดกลาง 1 ชิ้นจะมีปริมาณน้ำตาลไม่สูงมากเหมือนในน้ำอัดลม 1 กระป๋องหรือในช็อคโกแลตนม แต่หากใน 1 วัน เรารับประทานขนมมากกว่า 1 ชนิด ก็จะได้รับน้ำตาลในปริมาณที่สูงเช่นกัน
รวบรวมข้อมูลโดย University of Illinois-Chicago, School of Medicine Knowledge center เมื่อวันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559