เด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์จะมีความสามารถในการคิดได้หลากหลายและแปลกใหม่จากเดิม อาจนำไปสู่การคิดค้นและสร้างสิ่งประดิษฐ์ที่แปลกใหม่ รวมถึงพัฒนาต่อยอดความคิดในด้านการเรียน และการใช้ชีวิต ดังนั้นการเล่นจึงมีบทบาทสำคัญที่ทำให้เด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความคิดหลักแหลม มีความสุขและเต็มไปด้วยจินตนาการ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถส่งเสริมและพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของลูกได้ผ่านการเล่น โดยสามารถเริ่มต้นได้ตั้งแต่ลูกยังเล็ก โดยพื้นฐานความคิดของเด็กวัย 3 – 5 ปี มี 4 แบบ ซึ่งถ้าได้รับการส่งเสริม สนับสนุน และกระตุ้นให้เรียนรู้ ก็จะค่อย ๆ พัฒนาไปสู่ความคิดสร้างสรรค์ในที่สุด
1. เด็กจะคิดว่า “อะไรที่เคลื่อนไหวได้ล้วนมีชีวิต” (Animism) ดังนั้น การ์ตูน ตุ๊กตาต่าง ๆ ที่เด็กจับมาเดินจึง เป็นเสมือนเพื่อนที่มีชีวิตของเขา
2. เด็กมีความคิดเชิงเวทย์มนต์ (Magical thinking) คือมีความคิดจินตนาการแนวแฟนตาซีเหนือจริง
3. เหตุการณ์สองอย่างที่เกิดขึ้นพร้อมกันมักเกี่ยวข้องเป็นเหตุเป็นผลกัน (Phenominalistic Causality) เป็น พื้นฐานของการคิดเชื่อมโยง
4. เด็กมักเอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง (Egocentric) ตัวเอกของหนังสือการ์ตูนที่เขาชอบก็คือตัวเขานั่นเอง
หากคุณพ่อคุณแม่นำพื้นฐานทางความคิดทั้ง 4 แบบ ไปพัฒนาเป็นการเล่นที่สอดคล้องและเหมาะสมกับธรรมชาติ ความสนใจและกลไกการทำงานของสมองของลูก เขาก็จะได้รับการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างเต็มที่
คุณพ่อคุณแม่อาจหาอุปกรณ์ที่ไม่ใช้แล้วและปลอดภัยมาให้ลูก เพื่อให้เขานำมาดัดแปลงเป็นของเล่นด้วยตนเอง โดยคอยดูและให้คำแนะนำอยู่ห่าง ๆ เพื่อให้ลูกได้ใช้จินตนาการของตัวเองให้เต็มที่
ลองเล่นบทบาทสมมุติกับลูกตามเรื่องที่เขาจินตนาการขึ้นมา ปล่อยให้ลูกเป็นผู้นำการเล่น หรือจะช่วยสร้างบรรยากาศโดยการเพิ่มบทสนาสนุก ๆ มาโต้ตอบกับลูก เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ลูกคิดสร้างสรรค์
เช่น บล็อก ตัวต่อเลโก้ ปั้นดินน้ำมัน ของเล่นที่เป็นธรรมชาติ ( ทราย ดิน น้ำ แท่งไม้ ) เพื่อให้เด็กได้ใช้จินตนาการต่อยอดความคิดได้อย่างเต็มที่
แทนที่จะเล่นตามคำแนะนำหรือเล่นตามต้นแบบที่กำหนดไว้ ลองปล่อยให้ลูกเล่นอย่างอิสระ โดยไม่กำหนดรูปแบบหรือชี้นำให้เด็กทำตาม ซึ่งจะเป็นการปิดกั้นการแสดงออกทางความคิด
เช่น เที่ยวสวนสาธารณะ ทะเล น้ำตก ป่า สวนสัตว์ เพื่อให้เขาได้เรียนรู้โลกกว้างอย่างอิสระ และสัมผัสประสบการณ์ต่าง ๆ ด้วยตนเอง