เด็กที่ขาดความอดทน ไม่รู้จักรอคอย ยึดถือตัวเองเป็นศูนย์กลาง เคยชินกับการที่อยากได้อะไรต้องได้ทันที มีปัญหาในการควบคุมอารมณ์ เวลาครูหรือพ่อแม่มอบหมายงานให้ทำ ก็ไม่สามารถอดทนทำให้สำเร็จได้ ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการเลี้ยงดูที่ตามใจมากจนเกินไป หรือขัดใจมากจนเกินไป ทำให้เด็กมีพฤติกรรมที่ต้องการจะเอาชนะ กลายเป็นเด็กเอาแต่ใจตัวเอง บางคนก็ร้องอาละวาดเพื่อให้ได้ในสิ่งที่ต้องการ ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ไม่เป็นที่ยอมรับในสังคม คุณพ่อคุณแม่จึงควรฝึกให้ลูกรู้จักการรอคอย เพราะถือเป็นพื้นฐานสำคัญในการเข้าสังคมของเด็กในอนาคต
ควรบอกให้รู้ว่าเมื่อรอแล้วอีกไม่นานก็จะได้ ซึ่งจะค่อย ๆ ปลูกฝังว่าเขาไม่จำเป็นต้องได้อะไรในทันทีทุกครั้งเสมอไป
เช่น "ถ้าอยากกินขนม ต้องกินข้าวให้เสร็จก่อน" เพื่อทำให้การอดทนรอคอยของเขามีจุดสิ้นสุด ไม่ใช่การรอแบบไม่มีจุดหมาย เช่น บอกลูกว่า "เดี๋ยวก่อน" หรือ "รอแป๊บนึง" เด็กจะไม่เข้าใจว่าต้องรอถึงเมื่อใด
หากลูกเริ่มมีท่าทีหงุดหงิด โมโห หรือกระวนกระวายเวลาที่ต้องคอยอะไรนาน ๆ อย่าดุ หรือตำหนิ เพราะจะยิ่งเป็นการ กระตุ้นความว้าวุ่นใจของเขาให้มากยิ่งขึ้น คุณพ่อคุณแม่ต้องช่วยลดความรู้สึกกระวนกระวายใจลงให้ได้ เช่น ชวนทำอย่างอื่นเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ หรือ ถ้าเบี่ยงเบนไม่สำเร็จ ก็ปลอบใจลูกที่กำลังหงุดหงิดให้รู้สึกผ่อนคลาย
เช่น การต่อบล็อกไม้ ต่อจิ๊กซอว์ ต่อเลโก้ เพราะนอกจากฝึกความอดทนได้ดีแล้วยังเป็นการฝึกสมาธิไปด้วยในตัว
เช่น ให้ไปเล่นร่วมกับเด็กอื่น ๆ ที่ต้องมีการเข้าคิว พาลูกต่อแถวรอเข้าห้องน้ำในห้างสรรพสินค้า เข้าคิวเวลาออกไปทำธุระนอกบ้าน หรือรอคิวซื้ออาหาร โดยชี้ให้เด็กเห็นว่าทุกคนต่างก็ต้องรอเพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการ
เช่น “บอกให้ลูกรอโดยไม่รบกวนระหว่างแม่ทำงานบ้าน เมื่อแม่เสร็จงานแล้วจะพาออกไปเล่นนอกบ้าน” และเมื่อลูกทำตามที่ตกลงได้ คุณพ่อคุณแม่ก็ควรรักษาสัญญาเพื่อให้ลูกรู้ว่าการรอคอยนั้นได้ผล
เมื่อถึงจุดสิ้นสุดการรอคอยแล้วลูกสามารถรอได้โดยไม่อาละวาด ด้วยคำพูด ท่าทาง สีหน้า น้ำเสียง การชื่นชมเมื่อลูกรู้จักรอคอยเป็นการสร้างแรงจูงใจให้เขาสามารถรอคอยในครั้งต่อไป