พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระเมตตาต่อสัตว์เลี้ยง สัตว์พิการ และสัตว์ป่าจำนวนมาก นอกจากการเลี้ยงปศุสัตว์และการประมงพระราชทานแล้ว ทรงมีสัตว์หลากหลายสายพันธุ์ ที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณอีกหลายชนิด
ดร.วิวรรณ ธรรมมงคล จากคณะสัตวแพทยศาสตร์ บรรยายเรื่อง "พระมหากรุณาธิคุณต่อมวลสรรพสัตว์" ว่า สัตว์ที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระองค์ท่านแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ
1) สัตว์ที่มาอาศัยอยู่ในบริเวณพระราชวัง
2) สัตว์ที่พิการบาดเจ็บจากโรคหรืออุบัติเหตุ
3) สัตว์ทรงเลี้ยง
สัตว์ที่เข้ามาอาศัยในบริเวณพระราชวังนั้น มีทั้งที่มาเองตามธรรมชาติ อาศัยอยู่ในเขตพระราชฐานสวนจิตรลดา เช่น นกกระทุง นกพิราบ กา และนก ซึ่งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถทรงอนุรักษ์ เช่น นกยูง หงส์ดำ หงส์ขาว และสัตว์ที่ข้าราชบริพารนำมาปล่อยไว้อย่างปลา เต่า ซึ่งต่างก็ได้รับพระเมตตาโดยทั่วหน้า
ส่วนกลุ่มสัตว์ที่พิการบาดเจ็บได้พระราชทานชีวิตใหม่ให้ เช่น
ลิงซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงที่เกี่ยวข้องกับพระองค์ท่าน โดยเฉพาะ “โครงการแก้มลิง” ซึ่งเกิดจากการที่สมเด็จพระบรมราชชนนีทรงโปรดให้เลี้ยงลิงในขณะที่ยังทรงพระเยาว์ และทรงสังเกตการซ่อนอาหารในกระพุ้งแก้มของลิงที่ทรงเลี้ยงขณะยังทรงพระเยาว์ จึงนำมาประยุกต์กับโครงการแก้มลิง ใช้ในการกักเก็บน้ำไว้ใช้
- "กะลา" ลิงที่มือติดอยู่ในกะลามะพร้าว เมื่อปี 2542
พระองค์ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ ทรงนำมาเลี้ยงไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ เป็นตัวแรก
กะลาเป็นลิงแสมมือพิการที่ถูกนำไปเลี้ยงในพระราชวังดุสิต เพราะมือไปติดอยู่ในกะลาที่คนเจาะรูทิ้งไว้ เมื่อรักษาหายแต่มือพิการ และ ก็ไม่สามารถกลับเข้าฝูงเดิมได้ จึงจัดได้เป็น ลิงในวัง
ต่อมาได้ทรงมีกระแสพระราชดำรัส กับสัตวแพทย์ของ สวนสัตว์ดุสิต ให้นำลิงแสมจากสวนสัตว์ดุสิตมาเป็นเพื่อน คุณกะลา ในวัง ซึ่งในขณะนั้น มีคนนำลูกลิงแสมคู่หนึ่ง เป็น เพศผู้ และ เพศเมีย มาบริจาคให้ สวนสัตว์ดุสิต ลิงแสมคู่นั้นจึงควรได้เข้าไปอยู่ในวัง โดยพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามลิงแสมเพศผู้ว่า "สมศักดิ์" และ ลิงเพศเมียว่า "สมศรี"
“คุณกะลา” ได้เสียชีวิตลง ในเดือนมกราคม 2553 พระองค์ทรงเกรงว่า คุณสมศักดิ์และคุณสมศรีจะเหงาหงอย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สวนสัตว์รับไปดูแล และพระราชทานเงินค่าอาหารรายเดือนให้ตลอดมา
- "กะละมัง" ลิงอีกตัวที่เพชรบุรี ขาถูกมัดเป็นเงื่อนติดกับกะละมัง ก็นำมารักษาจนหายดีแล้วปล่อยคืนสู่ฝูง
โน้มนำให้พสกนิกรเห็นคุณค่าสุนัขจรจัด
"สีนวล" สุนัขจรจัดซึ่งถูกรถชนบาดเจ็บเดินไม่ได้ พระองค์ก็โปรดให้นำมารักษาที่โรงพยาบาลสัตว์ ม.เกษตรฯ และต้องทำล้อให้ใส่เดิน ในที่สุดก็ได้ไปอยู่ที่พระราชวังไกลกังวล
"ลุงมอม" สุนัขเพศผู้และเป็นโรคไตวายเรื้อรัง ก็อยู่ในพระบรมราชานุเคาะห์ เมื่อรักษาหายแล้วก็ไปอยู่ที่พระราชวังไกลกังวลเช่นกัน
รวมถึง "แป้งจี่" และ "หมูตั้ง" ที่ประสบอุบัติเหตุมาด้วย
นอกจากนี้ยังมีสุนัขจรจัดอีกมากมายที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ ทรงเลี้ยงไว้ให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
พระองค์ ทรงเปี่ยมด้วยความรัก ความเมตตาและกรุณาต่อสัตว์ ทรงมีความผูกพันกับสัตว์เลี้ยงต่างๆ ที่ทรงเลี้ยงไว้ โดยเฉพาะสุนัข ทรงมีความใกล้ชิดเป็นอย่างมาก และทรงโปรดสุนัขพันธุ์ผสมทั่วไป สุนัขที่ทรงเลี้ยงไว้บางตัวก็เคยเป็นสุนัขจรจัดมาก่อน
บางครั้งมีผู้จับไปส่งเทศบาล ก็มีรับสั่งให้ไปนำตัวกลับคืนมา และทรงเลี้ยงไว้ด้วยพระองค์เอง ทรงศึกษาและวิเคราะห์นิสัยต่าง ๆ ของสุนัขแต่ละตัวที่ทรงเลี้ยงไว้ ทรงให้เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลสุนัขทำการฝึกสุนัขให้รับคำสั่ง ประกอบกิจกรรมต่างๆ และดูแลสุขภาพอย่างใกล้ชิด โดยจดรายงาน น้ำหนักของสุนัขทุกตัว และถวายรายงานทุกวัน ทรงมีวิธีเก็บข้อมูลสุนัขอย่างมีระบบด้วยคอมพิวเตอร์ เพื่อประเมินสุขภาพสุนัขคร่าว ๆ โดยทรงเน้นหลักการป้องกันโรคมากกว่าที่จะรอให้เกิดการเจ็บป่วย
ทรงทราบถึงปัญหาสุนัขจรจัดในเขตกรุงเทพมหานคร จึงมีพระราชดำริให้กรุงเทพมหานครจัดทำโครงการหาบ้านใหม่ให้ “หมาเทศฯ” ตามที่ทรงเรียกขานสุนัขจรจัดว่า “หมาเทศฯ” ซึ่งหมายถึง “สุนัขเทศบาล” นั่นเอง
กรุงเทพมหานครได้รับสนองพระราชดำริและดำเนินการตามรอยพระยุคลบาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยให้นำสุนัขไม่มีเจ้าของที่รวบรวมจากที่สาธารณะต่างๆ มาคัดแยกและบำรุงสุขภาพ ฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดต่อต่างๆ ผ่าตัดทำหมัน พร้อมฝึกฝนเบื้องต้นในระดับหนึ่ง
และเชิญชวนให้ประชาชนมารับอุปการะ “หมาเทศฯ” ที่ผ่านการทดสอบแล้ว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยวิทยาลัยเทคนิคการสัตวแพทย์ ก็ได้ดำเนินการตามรอยพระยุคลบาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เช่นเดียวกับกรุงเทพมหานครฯ โดยมีโครงการหาบ้านใหม่ให้สุนัขจรจัดเช่นเดียวกัน ศูนย์รักษ์สุนัขหัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ก็จัดตั้งขึ้นตามพระราชประสงค์ โดยทรงพระราชทานเงินจากการจำหน่ายเสื้อพิมพ์ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ครอบครัวคุณทองแดงจำนวน 4 ล้านบาท เป็นทุนในการก่อสร้างอาคาร และเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรกิจกรรมด้วย
สมัยพระเยาว์ทรงเลี้ยงสัตว์หลายชนิดทั้งสุนัข กระต่าย ไก่ นกขุนทอง ลิง แม้แต่งูก็เคยเลี้ยง ครั้งหนึ่งงูตายไปก็มีพิธีฝังศพอย่างใหญ่โต
ติโตแมวเพศผู้ พันธุ์วิเชียรมาศที่สมเด็จย่าทรงเลี้ยงคู่กับ ติต้า เพศเมีย ทรงเลี้ยงระหว่างประทับอยู่ที่สวิตเซอร์แลนด์มีสีน้ำตาลเข้มและมีหูกับส่วนต่างๆออกสีเข้มกว่าตัวอกสีอ่อน ตาสีฟ้า เป็นแมวที่ชอบการท่องเที่ยวชอบหนีเที่ยวไปข้างนอกแล้วเข้าพระตำหนักไม่ได้เป็นประจำ ทั้งยังช่างครวญครางคล้ายจะพูดได้เป็นที่สุด
"ติโต" นั้นคือ ชื่อแฝงของ ประธานาธิบดีโยซิป โบรช (Josip Broz) ประเทศยูโกสลาเวีย เป็น นักต่อสู้ ผู้กล้าหาญ และมีเลือดรักชาติอย่างที่สุด ผู้หาญสู้กับฮิตเลอร์ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ด้วยความองอาจ รวมทั้งรักษาประเทศให้พ้นจากอำนาจของสหภาพโซเวียต พระองค์ทรงประทับใจ ในตัวของ "ติโต" มาก พระองค์ทรงแปล "Tito" เป็นพระราชนิพนธ์ "นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ" ให้พสกนิกรคนไทยได้ประจักษ์ถึง วีรกรรมที่ควรจะจดจำของ "ติโต"
สัตว์เลี้ยงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดมากที่สุดคือ สุนัข เพราะสุนัขเป็นสัตว์เลี้ยงที่จงรักภักดีและซื่อสัตย์ต่อเจ้าของ สุนัขจะสามารถสื่อสารให้ทราบว่ามีความรู้สึกอย่างไร ทำให้เข้าใจความหมาย ความรัก ความต้องการ นอกจากนี้ยังปกป้องคุ้มครองเจ้าของอีกด้วย
ทรงเลี้ยงสุนัขไว้หลายสุนัข ได้แก่ คุณโจโฉ คุณสุดหล่อ คุณหมามุ่ย คุณมะลิ คุณทองแท้ คุณทองกวาว คุณทองพันดุลย์ คุณทองพันชั่ง คุณทองมีดขูด คุณโล่ทอง คุณทองเดือนห้า คุณสร้อยทอง คุณทองชมพู คุณทองเครือวัลย์ คุณทองเจิม คุณทองแดงและลูกหลาน
สุนัขทรงเลี้ยงทุกตัว พระองค์ท่านจะทรงจำได้หมดว่า สุนัขแต่ละตัวชื่ออะไร น้ำหนักเท่าไร บางครั้งครูฝึกเองก็อ่านใจสุนัขทรงเลี้ยงไม่ออกแต่พระองค์ท่านทรงมองออก และได้เสนอแนวทางให้รับใส่เกล้าฯ มาใช้ในการทำงาน สุนัขตัวแรกที่ทรงเลี้ยงสมัยทรงพระเยาว์เป็นสุนัขไทย ทรงตั้งชื่อให้ว่า ”บ๊อบบี้”
คุณทองแดง ก็ทำให้เกิดโครงการต่าง ๆ ขึ้นมามาหลายโครงการเพื่อช่วยเหลือเพื่อนสัตว์ด้วยกัน ที่สำคัญพระองค์ยังทรงเป็นผู้กระตุ้นให้ประชาชนชาวไทยเห็นความสำคัญของสุนัขสายพันธุ์ไทยพร้อมกับเคยรับสั่งว่า สุนัขจรจัดก็มีความสามารถเทียบเท่ากับสุนัขที่มีสายพันธุ์ได้ และยังแข็งแรง ทนต่อทุกสภาพภูมิอากาศ ดูแลง่าย มีนิสัยซื่อสัตย์กตัญญู
ด้าน ร.ต.บุญสิงห์ คุ้มสกุล รองหัวหน้าชุดครูฝึกสุนัขทรงเลี้ยง ให้สัมภาษณ์ถึงคุณทองแดงว่า
"คุณทองแดงมีอุปนิสัย เรียบร้อย น่ารัก ฉลาด นอบน้อม และไม่ดื้อ ในตอนเย็นจะตามเสด็จฯ ทรงออกกำลังกายภายในตำหนักบ้าง และที่ชายทะเลบ้าง คุณทองแดงจะชอบการวิ่งเก็บของที่โยนให้ตามชายหาดเป็นพิเศษ"
มีกิริยามารยาทเรียบร้อย เจียมเนื้อเจียมตัว รู้จักที่ต่ำที่สูง เวลาเข้าเฝ้าฯ จะนั่งอยู่ต่ำกว่าเสมอ แม้จะทรงดึงตัวขึ้นมากอด แต่ทองแดงก็จะทรุดตัวลงหมอบกับพื้น และทำหูลู่อย่างนอบน้อม คล้ายกับแสดงอาการว่า ไม่อาจเอื้อม”
พระองค์ทรงยกย่องคุณทองแดงว่า
คุณทองแดงเคยเป็นโรคเครียด ด้วยเหตุที่คิดถึงพระองค์ท่านยามเสด็จพระราชดำเนินไกล ๆ คุณหมอบอกว่า คุณทองแดงเป็นสุนัขเงียบ ไม่ค่อยแสดงออก ดังนั้นความเครียดจึงมีผลมากต่อร่างกาย จากนั้นมา คุณทองแดงจึงได้ตามเสด็จเสมอ
ด้วยเหตุทั้งมวลนี้ คุณทองแดง สุนัขทรงเลี้ยงสุนัขที่ 17 ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงได้รับการตั้งฉายาว่าเป็น “สุนัขประจำรัชกาล” ติดตามถวายงานรับใช้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทุกครั้ง ไม่ว่าจะเสด็จพระราชดำเนินไปที่ใด ซึ่พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์ หนังสือ “เรื่อง ทองแดง (The Story of Tongdaeng)” ออกเผยแพร่เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษด้วย
วันที่ 26 ธันวาคม 2558คุณทองแดงได้เสียชีวิตลงแล้ว และ ฌาปนกิจ ในวันที่ 29 ธันวาคม 2558 โดยนำเถ้ากระดูกลอยทะเลหัวหิน
ตามความเชื่อที่มีมาแต่โบราณของไทย "ช้างเผือก" ถือว่าเป็นเครื่องเชิดชูเกียรติประดับบารมีของพระมหากษัตริย์ เมื่อมีช้างเผือกเข้ามาสู่พระบารมี จะทรงโปรดเกล้าฯ ให้ทำพิธีสมโภชขึ้นระวาง พระราชทานนามเป็น "พระยาช้างต้น" หรือ "นางพระยาช้างต้น" ทรงพระเมตตาต่อช้างต้น ตามโบราณราชประเพณีช้างเผือก และช้างที่มีคชลักษณ์ ถือว่าเป็นช้างแก้วคู่พระบารมี เจ้าของจะน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระมหากษัตริย์
ตามพระราชประเพณีดั้งเดิมนั้น โรงช้างต้นจะอยู่ในพระบรมมหาราชวัง ในปัจจุบันโรงช้างต้นอยู่ในเขตพระราชฐานสวนจิตรลดา และพระราชวังไกลกังวล หัวหิน ต่อมามีพระราชวินิจฉัยว่า สถานที่อาจจะไม่เหมาะกับอุปนิสัยของช้าง การหาอาหารช้างก็ไม่สะดวก จึงมีพระราชกระแสรับสั่ง ให้เชิญช้างต้นไปทดลองเลี้ยงยังสถานที่ขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ จังหวัดลำปาง และที่พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ จังหวัดสกลนคร โดยให้ช้างต้นได้คุ้นเคยกับสภาพในธรรมชาติมากขึ้นทีละน้อย ทำให้ช้างต้นมีชีวิตที่มีความสุข และมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
เป็นช้างพลายเผือกโทลูกเถื่อน ตระกูล "พรหมพงศ์" จำพวก "อัฏทิศ" ชื่อว่า "กมุท" คล้องได้เมื่อปี 2499 ที่ จ. กระบี่ มีการสมโภชช้างนี้เมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2510 และน้อมเกล้าฯ ถวายขึ้นระวางโรงช้างต้น พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ 11 พ.ย. 2502 พระราชทานนามว่า
"พระเศวตอดุลยเดชพาหน ภูมิพลนวนาถบารมี ทุติยเศวตกรีกมุทพรรโณภาส บรมกมลาสนวิสุทธวงศ์ สรรพมงคลลักษณคเชนทรชาติ สยามราษฎรสวัสดิ ประสิทธิ์รัตนกุญชรนิมิตบุญญาธิการ ปรมินทรพิตรสารศักดิเลิศฟ้า"
จากเรื่องเล่าจาก “ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ที่มาโดย พ่อของแผ่นดิน
เมื่อคุณพระเศวตฯ ยังเป็นลูกช้างเล็กๆ อยู่ที่บ้านกำนันในจังหวัดย
นางเบี้ยวก็กตัญญูรู้คุณ ติดตามคุณพระเศวตฯ เรื่อยมา ไม่ยอมห่าง คุณพระก็เมตตาเอ็นดูนางเบี้
เมื่อถึงคราวที่คุณพระเศวตฯ
"ช้างทั้งตัวยังเอาไปได้ ทำไมหมาอีกตัวเดียวจะเอาไปไ
นางเบี้ยวติดตามเข้ามาอยู่ก
เมื่อครั้งพระนางเจ้าอลิซาเ
ผม (ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช) บังเอิญไปเห็นเข้าก็เข้าไ
คุณพระได้ยินดังนั้น ก็ร้องเหมือนเสียงแตร หมาทั้งปวงก็วิ่งกลับมารวมก
ควาญเล่าว่า เวลากลางคืนหมาหลายสิบตัวเห
คุณพระเศวตฯ เล็กมีความจงรักภักดีต่อพระ
จนพระกรุณาตรัสว่า "ไม่ต้องถวายบังคมบ่อยถึงเพี
คุณพระจึงจะหยุดถวายบังคม
จากเรื่องเล่าจาก “ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ที่มาโดย พ่อของแผ่นดิน
นอกจาก ลิง, สุนัข และแมว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยังทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อสัตว์ชนิดต่างๆ มากมาย อาทิ นก ไก่ กระบือ โค ฯลฯ โดยปัจจุบันมีสุนัขทรงเลี้ยงที่วังไกลกังวล อ.หัวหิน 76 ตัว ส่วนที่โครงการชั่งหัวมัน มีโคนม 39 ตัว และไก่อีกกว่า 1,000 ตัว
เป็นช้างพลายเผือก ลูกบ้านของ นายแก้ว ปัญญาคง อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ เป็นช้างสำคัญในตระกูล "วิษณุพงศ์" จำพวก "อัฎฐคช" ชื่อ "ดามพหัสดินทร์" สมโภชขึ้นระวาง ณ จ.เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 24 ม.ค. 2509 พระราชทานนามว่า
"พระเศวตวรรัตนกรี นพีสีสิริพิงคนัทย์ เอกาทัศน์มงคลสุลักษณ์ ศุภนัขเนตราทิโควรรณ พิษณุพันธุ์ อัครคชาธาร อัฏฐกุลสารดามพหัสดิน ปรมินทรมหาราชพาหน สยามประชาชนสวัสดิคุณเดชอดุลยเลิศฟ้า"
ปัจจุบันพระเศวตวรรัตนกรีล้มแล้ว
เป็นช้างที่ นายเจ๊ะเฮง หะระดี กำนันตำบลการอ อ.รามัน จ.ยะลา พบเจอ มีลักษณะที่เป็นมงคลจึงแจ้งต่อผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นช้างสำคัญในตระกูล "พรหมพงศ์" จำพวก "ช้าง 10 หมู่" ชื่อ "ดามพหัตถี" สมโภชขึ้นระวาง ณ จังหวัดยะลา เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2511
ทรงพระราชทานนามว่า
"พระเศวตสุรคชาธาร บรมนฤบาลสวามิภักดิ์ ศุภลักษณเนตราทิคุณ ทศกุลวิศิษฎพรหมพงศ์ อดุลยวงศ์ดามพหัตถี ประชาชนะสวัสดิวิบูลย์ศักดิ์ อัครสยามนาถสุรพาหน มงคลสารเลิศฟ้า"
ในปัจจุบันพระเศวตสุรคชาธารล้มแล้ว
เป็นช้างพังเผือกลูกเถื่อน เดิมชื่อเจ้าแต๋น ได้มาจาก จ.ฉะเชิงเทรา เป็นช้างสำคัญในตระกูล "วิษณุพงศ์" จำพวก "อัฏฐคช" ชื่อ "ดามพหัสดินทร์" สมโภชขึ้นระวาง ณ โรงช้างต้น สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ 7 พ.ค. 2519
พระราชทานนามว่า
"พระศรีเศวตศุภลักษณ์ อรรครัตนกริณี ดามพหัสดีพิษณุพงศ์ ดำรงสุทธสกนธ์สุคนธชาติ เฉลิมราชกฤดาบารมี ศรีตรังคพิเศษสุทธิ์ อุดมสารเลิศฟ้า"
เป็นช้างพลายเผือกลูกเถื่อน ชื่อบุญรอด เป็นลูกช้างที่คนของกรมป่าไม้พบในป่าบริเวณแม่น้ำแควน้อย จ.กาญจนบุรี เป็นช้างสำคัญในตระกูล "วิษณุพงศ์" จำพวก "อัฏฐคช" ชื่อ "ดามพหัสดินทร์" สมโภชขึ้นระวาง ณ โรงช้างต้นสวนจิตรลดา พระราชวังสวนดุสิต เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. 2520
ทรงพระราชทานนามว่า
"พระเศวตสศทธวิลาศ อัฏฐคชชาตพิษณุพงศ์ดำรงประภาพมหิมัน ตามรพรรณไพศิษฎ์ ผลิตวรุตตมมงคล ดาลศุภผลสวัสดิวิบุล อดุลยลักษณเลิศฟ้า"
เป็นช้างพังเผือกลูกเถื่อน ชื่อขจร นายปรีชา และนางพิมพ์ใจ วารวิจิตร น้อมเกล้าฯ ถวาย เป็นช้างสำคัญในตระกูล "พรหมพงศ์" จำพวก "อัฏฐทิศ" ชื่อ "กมุท" สมโภชขึ้นระวาง ณ โรงช้างต้น สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. 2520
พระราชทานนามว่า
" พระวิมลรัตนกิริณี กมุทศรีพรรณโศภิต อัฏฐพงศ์กมลาสน์ อรรคราชทิพยพาหน ถกลกิตติคุณกำจร อมรสารเลิศฟ้า"
ปัจจุบันนำไปยืน ณ โรงช้างต้น พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ จ.สกลนคร
เป็นช้างพังเผือกลูกเถื่อน ชื่อ จิตรา เป็นลูกช้างพลัดแม่ที่เทือกเขากือซา นายมายิ มามุ พบเจอ เป็นช้างสำคัญในตระกูล "พรหมพงศ์" จำพวก "อัฐทิศ" ชื่อ "อัญชัน" สมโภชขึ้นระวาง ณ จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2520
พระราชทานนามว่า
"พระศรีนรารัฐราชกิริณี จิตรวดีโรจนสุวงศ์ พรหมพงศ์ อัฐทิศพิศาล พิเสฐธารธรณิพิทักษ์ คุณารักษกิตติกำจร อมรสารเลิศฟ้า"
เป็นช้างพลายลูกเถื่อน ชื่อภาศรี เป็นช้างสำคัญในตระกูล "วิษณุพงศ์" จำพวก "อัฏฐคช" ชื่อ "ดามพหัสดินทร์" น้อมเกล้าฯ ถวายขึ้นระวางที่โรงพระราชพิธี จ.เพชรบุรี เมื่อวันที่ 25 พ.ค. 2521
พระราชทานนามว่า
"พระเศวตภาสุรคเชนทร์ นวเมนทรพาหน สุทธวิมลวิษณุพงศ์ คุณธำรงดามพหัสดินทร์ สุพัชรินทร์อนันตพล คชมงคลเลิศฟ้า"
เป็นช้างพังเผือกลูกเถื่อน ชื่อขวัญตา เป็นช้างที่เจ้าอาวาสเลี้ยงที่วัด จ.เพชรบุรี เป็นช้างสำคัญในตระกูล "วิษณุพงศ์" จำพวก "อัฎฐคช" ชื่อ "ดามพหัสดิน" น้อมเกล้าฯ ถวายขึ้นระวาง
พระราชทานนามว่า
"พระเทพรัตนกิริณี ดามพหัสดีพิษณุพงศ์ โสตถิธำรงวิสุทธิลักษณ์ อำนรรฆคุณสบสกนธ์ วิมลสารโสภิต วิบูลกิตติ์เลิศฟ้า"
ช้างพลายเผือกเล็บครบลูกเถื่อน ชื่อดาวรุ่ง เป็นของเจ้าอาวาสใน จ.เพชรบุรี เป็นช้างสำคัญในตระกูล "วิษณุพงศ์" จำพวก "อัฎฐคช" ชื่อ "ครบกระจอก" เป็นช้างที่มีเล็บครบ คือ เท้าละ 5 เล็บ ทั้ง 4 เท้า ครบ 20 เล็บ สมโภชขึ้นระวาง ณ จ.เพชรบุรี เมื่อวันที่ 25 พ.ค. 2521
พระราชทานนามว่า
"พระบรมนขทัศ วัชรพาหน พิษณุพงศ์ โสตถิธำรงอัฎฐคช ดิเรกยศอนันตคุณ อดุลสารเลิศฟ้า"
ภายหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศเดนมาร์กเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.2503 โดยรัฐบาลเดนมาร์กได้น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย โครงการส่งเสริมการเลี้ยงโคนม “ฟาร์มโคนมไทย-เดนมาร์ก” ที่อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี และเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2505 พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 9 แห่งประเทศเดนมาร์ก และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดฟาร์มโคนมแห่งนี้โดยเป็นองค์ประธานร่วมกัน
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สาธิตการปลูกหญ้าขึ้น ในเขตพระราชฐานสวนจิตรลดา โดยวิธีทำ “นาหญ้า” ต่อมาได้ขยายการปลูกเพื่อสาธิตออกไปภายนอกเพื่อทำแปลงหญ้าสำหรับผลิตหญ้าสดและหญ้าแห้งคุณภาพดี นับเป็นขวัญและกำลังใจแก่เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมเป็นอย่างยิ่งเมื่อมีการส่งเสริมให้เลี้ยงโคนมมากขึ้น และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดตั้ง “ศูนย์รวมนมสวนจิตรลดา” ขึ้น โดยรับน้ำนมจากสหกรณ์โคนมอยุธยาและหนองโพ มาผลิตโดยผ่านกรรมวิธีที่ทันสมัย และส่งจำหน่ายยังสถานที่ต่างๆ
ทรงริเริ่ม กิจการธนาคารโคและกระบือ ขึ้นใน พ.ศ. ๒๕๒๒ เมื่อเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรในโครงการที่ราบเชิงเขา จังหวัดปราจีนบุรี โดยมีพระราชวินิจฉัยว่าเมื่อน้ำมันมีราคาแพงขึ้น การใช้เครื่องจักรกลจะมีราคาแพงขึ้นด้วย เกษตรกรจึงจำเป็นที่จะต้องหันมาพึ่งแรงงานจากสัตว์เลี้ยง แต่ราษฎรก็ไม่มีเงินซื้อโคและกระบือ จึงทรงมีพระราชดำริเรื่องธนาคารโค-กระบือ ซึ่งกรมปศุสัตว์ได้รับไปดำเนินการเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ยากจนทั่วประเทศให้มีโคและกระบือไว้ใช้แรงงาน และเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร
ครั้นโคและกระบือชราแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีความห่วงใย ทรงมีพระเมตตาสงสาร พระองค์ทรงแนะนำให้จัดทำ “บ้านโค-กระบือชรา” ขึ้นที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เพื่อนำโคและกระบือที่ปลดระวางแล้วไปเลี้ยงที่นั่น พระองค์มีพระราชดำรัสว่า ไม่อยากให้ฆ่าโคและกระบือที่มีคุณต่อเกษตรกร
ลักษณะการดำเนินงานตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้แก่การเลี้ยงสัตว์เพื่อสาธิต มีการเลี้ยงสัตว์ชนิดต่างๆ เช่น โค กระบือ แพะ แกะ สุกร เป็ด ไก่ ฯลฯ เพื่อให้เกษตรกรได้มีโอกาสศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ และให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นของตน