Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา
Home > Dhamma >

วงจรชีวิตและสังคมผึ้ง

Posted By Plookpedia | 20 มิ.ย. 60
5,375 Views

  Favorite

 วงจรชีวิตและสังคมผึ้ง

 

        ไม่มีผึ้งตัวหนึ่งตัวใด สามารถดำรงชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยวเป็นระยะเวลานาน โดยขาดความสัมพันธ์กับผึ้งวรรณะอื่นภายในสังคมเดียวกัน เพราะผึ้งเป็นแมลงสังคมที่มีวิวัฒนาการสูง มีระบบสังคมมาเป็นเวลาช้านานประมาณถึง ๓๐ ล้านปี ผึ้งแต่ละรังเปรียบเสมือนครอบครัวหนึ่ง
ซึ่งประกอบด้วย ๓ วรรณะคือ ผึ้งนางพญาหนึ่งตัว ผึ้งตัวผู้หลายร้อยตัว และผึ้งงานอีกจำนวนเป็นหมื่นตัว โดยเฉพาะผึ้งเลี้ยง อาจจะมีผึ้งงานได้หลายหมื่นตัว
 

        รังผึ้งรังหนึ่ง ๆ หรือสังคมหนึ่ง ๆ จะดำเนินชีวิตไปได้อย่างมีระเบียบ ในระบบสังคมที่มีนางพญาเป็นศูนย์กลาง ทำหน้าที่ผสมพันธุ์ สร้างประชากร ปกตินางพญาผึ้งโพรงไทยจะวางไข่ได้วันละ ๑,๐๐๐ ฟอง นางพญาผึ้งโพรงฝรั่งสามารถวางไข่ได้ถึงวันละ ๓,๐๐๐ ฟอง โดยมีผึ้งงาน
คอยรับใช้ ทำความสะอาด ให้อาหาร และนำของเสียไปทิ้ง

 

แสดงจำนวนวันที่ผึ้งแต่ละวรรณะเจริญจากไข่จนเป็นตัวเต็มวัยของผึ้งโพรงไทยและผึ้งโพรงฝรั่ง


 

ผึ้งนางพญา 
        มีลักษณะตัวใหญ่กว่าผึ้งงาน และลำตัวยาวกว่าผึ้งตัวผู้ ปกติจะมีอายุ ๑-๒ ปี แต่บางตัวอาจมีอายุนานถึง ๓ ปี 

 

ผึ้งงาน 
        เป็นผึ้งเพศเมีย มีขนาดเล็กที่สุด เนื่องจากในระยะที่เป็นตัวอ่อน ได้รับอาหารพิเศษคือ นมผึ้ง หรือรอยัลเยลลี (royal jelly) เพียง ๓ วัน หลังจากนั้นตัวอ่อนผึ้งงานที่มีอายุมากขึ้น จะได้กินแต่เกสร และน้ำผึ้ง ทำให้ขบวนการพัฒนาแตกต่างไปจากผึ้งนางพญามาก ในขณะที่ผึ้งนางพญาได้กินนมผึ้งตั้งแต่เป็นตัวอ่อนอายุ ๑ วัน และได้กินต่อไปจนตลอดชีวิต ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เพศเมีย ๒ วรรณะนี้ ผิดแผกแตกต่างกัน ทั้งลักษณะภายนอก และภายใน ตลอดจนภารกิจต่าง ๆ ผึ้งงานมีหน้าที่หลักในการทำงาน เช่น ทำความสะอาดรัง เลี้ยงดูป้อนอาหารให้ผึ้งตัวอ่อน สร้างและซ่อมแซมรัง เป็นทหารเฝ้ารัง ป้องกันศัตรู และหาอาหาร ผึ้งงานต้องรับภาระดังกล่าวเท่ากันทุกตัว ไม่มีการเอาเปรียบแก่งแย่งกัน หรือหลบงานเลย ทุกตัวรับผิดชอบงานของตนเอง โดยไม่มีใครบังคับ และไม่ต้องสั่งสอนกัน นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า ผึ้งงานคือ หุ่นยนต์ที่มีชีวิตตัวน้อย ๆ ทำงานเกือบตลอดเวลาตั้งแต่เกิดจนตาย ดังนั้นผึ้งงานจึงมีอายุสั้นเพียง ๖-๘ สัปดาห์ เท่านั้น

 

ผึ้งตัวผู้ 
        มีขนาดใหญ่ ลำตัวอ้วนและสั้นกว่าผึ้งนางพญา ผึ้งตัวผู้ไม่มีเหล็กใน มีลิ้นสั้น หาอาหารเอง
ไม่ได้ แต่จะรับอาหารจากผึ้งงานเท่านั้น ผึ้งตัวผู้ไม่มีหน้าที่ทำงานภายในรัง ดังนั้นจึงมีหน้าที่ผสมพันธุ์อย่างเดียว เมื่อผสมพันธุ์ในอากาศเสร็จจะตกลงมาตาย เมื่อหมดฤดูผสมพันธุ์ ผึ้งตัวผู้ที่ยังไม่มีโอกาสผสมพันธุ์จะถูกผึ้งงานปล่อยให้อดตายด้วย เราจะพบผึ้งตัวผู้ปรากฎในรังเฉพาะช่วยฤดูผสมพันธุ์เท่านั้น หลังจากผสมพันธุ์กับนางพญาแล้ว ผึ้งตัวผู้จะตายทันที

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plookpedia
  • 15 Followers
  • Follow