ความรู้เรื่องกระต่าย
สมาชิกเลขที่2672 | 23 ก.ย. 52
43.6K views

การที่เราคิดจะเลือกเลี้ยงสัตว์เลี้ยงสักอย่างหนึ่งนั้นสัตว์เลี้ยงแต่ละชนิดก็ย่อมมีสิ่งที่จะต้องพิจารณาแตกต่างกันไปโดยเราจะต้องคิดถึงข้อดี ข้อด้อย ข้อจำกัดต่างๆนอกเหนือจากเรื่องของความชอบส่วนบุคคลแล้วแต่สำหรับการที่จะเลือกเลี้ยงกระต่ายเป็นเพื่อนนั้น คุณจะรู้ได้อย่างไรว่า "กระต่ายเหมาะสมกับคุณ หรือ คุณเหมาะสมกับกระต่ายหรือไม่" คำถามนี้เป็นคำถามที่เราจะต้องตอบตัวเองให้ได้ก่อนยังไงลองพิจารณาบทความนี้เพื่อประกอบการตัดสินใจของคุณ แล้วคุณจะรู้ว่ากระต่ายใช่คำตอบสุดท้ายที่ถูกต้องสำหรับคุณหรือไม่ ...
เจ้าสัตว์เลี้ยงตัวน้อยขนปุย จอมซุกซนนี้สำหรับคนไทยนั้นยังถือว่าไม่เป็นที่นิยมมากนัก แต่สำหรับชาวต่างชาตินั้นโดยเฉพาะในยุโรปและสหรัฐอเมริกา สัตว์เลี้ยงชนิดนี้กลับได้รับความนิยมอย่างมากมายเพราะว่าเค้ามีความเชื่อที่ว่าเท้ากระต่าย (Rabbit Foot) เป็นสิ่งนำโชคสำหรับพวกเขากระต่ายจึงกลายเป็นสัตว์เลี้ยงที่เหมือนกับว่าลึกลับสำหรับคนไทยอีกทั้งในประเทศไทยมีกระต่ายอยู่เพียงไม่กี่สายพันธุ์การที่คุณจะเลือกกระต่ายสักตัวให้สวย น่ารัก และถูกใจจึงเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายเลยอีกทั้งการเลี้ยงกระต่ายก็มีข้อจำกัดในการเลี้ยงอยู่บ้าง ดังที่จะกล่าวต่อไปแต่ถ้าหากคุณกำลังมองหาเพื่อนที่รู้ใจ น่ารัก ขนปุย และที่สำคัญคือ ไม่ส่งเสียงดังคำตอบที่เรานึกถึงก็คือ กระต่ายลองพิจารณาสิ่งเหล่านี้ก่อนเพื่อประกอบการตัดสินใจของคุณ
· คุณมีเวลาอย่างน้อยวันละ 3 ชั่วโมงหรือไม่
เมื่อคุณตัดสินใจที่จะเลี้ยงกระต่ายสักตัวหนึ่งแล้วกิจวัตรประจำวันที่คุณต้องปฏิบัติให้กระต่ายนั้น ค่อนข้างจะต้องใช้เวลาพอสมควรทั้งการให้อาหาร เปลี่ยนน้ำสะอาด ทำความสะอาดกรง สางขนสำหรับสายพันธุ์ขนยาวและที่สำคัญที่สุดคือการปล่อยให้กระต่ายได้วิ่งเล่นอย่างเป็นอิสระบ้างความรักที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือการให้อิสระ ไม่ใช่การกักขัง
· คุณมีสถานที่ที่เหมาะสมหรือไม่
สถานที่วางกรงสำหรับกระต่าย ควรเป็นที่ที่มีอากาศถ่ายเทตลอดทั้งวัน ไม่ร้อนจัดลมไม่พัดแรง และต้องไม่ชื้นแฉะ เพราะกลิ่นฉี่ของกระต่ายค่อนข้างมีกลิ่นที่แรงยิ่งถ้าผสมกับมูลด้วย ยิ่งไม่น่าอภิรมย์ยิ่งนักและอาจจะเป็นแหล่งที่เพาะเชื้อโรคเป็นอย่างดีดังนั้นกระต่ายจึงไม่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงในบ้านหรือสถานที่ที่ปิดอับฉะนั้นคุณจึงต้องเตรียมสถานที่วางกรงให้อย่างเหมาะสมและปลอดภัยสำหรับกระต่าย
· สัตว์เลี้ยงตัวเก่าของคุณพร้อมหรือไม่สำหรับเพื่อนใหม่
สำหรับบางคนที่เลี้ยงสุนัขหรือแมวอยู่แล้ว ต้องการเลี้ยงจะกระต่ายเพิ่มสิ่งนี้คือสิ่งที่ต้องระวังอย่างมากเป็นพิเศษ เนื่องจากธรรมชาติของสุนัขและแมวสัตว์เหล่านี้ที่มีสัญชาตญาณของการล่าเสมอ (นอกจากสุนัขบางสายพันธุ์แต่แมวนี่คือศัตรูตัวฉกาจของกระต่ายเลย) และกระต่ายมักจะเป็นผู้ถูกล่าเสมอเพราะฉะนั้น มันไม่เป็นการดีแน่ หากคุณมีสุนัขหรือแมวอยู่ก่อนแล้วในบ้านเรื่องนี้มีวิธีแก้ไขหากคุณต้องการนำกระต่ายมาเลี้ยงเพิ่มจริง ๆ สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ คุณต้องพิจารณาว่าสุนัขและแมวของคุณ มีนิสัยอย่างไรและน่าจะเป็นอันตรายต่อกระต่ายหรือไม่ ถ้าหากเค้ามีนิสัยไม่ก้าวร้าวและเป็นมิตรการจะเลี้ยงกระต่ายเพิ่มขึ้นอีกสักตัว ก็ไม่เป็นไร ดังนั้นก่อนทึ่คุณจะตัดสินใจเลือกกระต่ายมาเป็นสมาชิกใหม่ในครอบครัวของคุณคุณต้องพิจารณาสัตว์เลี้ยงเดิมก่อนว่าเค้าจะยอมรับเพื่อนใหม่ขนปุยเข้ามาอยู่ด้วยกันในบ้านหรือไม่
· กระต่ายและเด็กน้อยคือเพื่อนซี้กันจริงหรือ
แน่นอน เด็กน้อยน่ารักและกระต่ายน้อยเข้ากันได้อย่างดีเพราะกระต่ายเป็นสัตว์เลี้ยงที่มีความอดทนในการจับ อุ้ม เป็นอย่างดีกระต่ายจะไม่ทำร้ายเด็ก ๆ อีกทั้งกระต่ายยังเหมาะสมที่จะใช้ฝึกเด็ก ๆให้รู้จักความรับผิดชอบ และทำให้จิตใจของเด็ก ๆ อ่อนโยน แต่ ...ข้อควรระวังสำหรับเด็กน้อยที่ไม่สามารถอุ้มกระต่ายได้อย่างถูกวิธีนั้นจะทำให้กระต่ายดิ้นหลุดมือนั่นอาจทำให้กระต่ายได้รับอันตรายอีกทั้งสองขาหลังของกระต่ายนั้นเป็นขาที่ทรงพลังอย่างมหาศาลกระต่ายอาจจะดิ้นหรือถีบตัวเองออกจากการอุ้ม ทำให้เล็บอันแหลมคมจากขาหลังทำร้ายเด็กๆ ได้ และนี่คือสิ่งที่คุณต้องระมัดระวัง
· นักทำลายและกัดแทะทุกสิ่ง
เป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่ากระต่าย คือ ยอดนักขุด และกัดแทะทุกสิ่งที่ขวางหน้าดังนั้น พรม เฟอร์นิเจอร์สุดหรู สายไฟฟ้า สายโทรศัทพ์ สิ่งเหล่านี้อาจถูกทำลายเสียหายได้ หากคุณไม่ได้เตรียมตัวป้องกันไว้ล่วงหน้าคุณยอมรับได้หรือไม่กับสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นในบ้านคุณโดยไม่ได้ตั้งใจของน้องกระต่ายได้
ถึงตรงนี้การเลี้ยงกระต่ายเริ่มไม่ง่ายอย่างที่คุณคิดแล้วใช่ไหมคุณมีสิ่งที่คุณจะต้องปฏิบัติและคำนึงถึงมากมายคุณพร้อมที่จะเสียเวลาให้กับกระต่ายในแต่ละวันแล้วหรือยังคุณเตรียมการป้องกันความเป็นนักทำลายและกัดแทะของกระต่ายแล้วหรือชีวิตประจำวันของคุณจะต้องเปลี่ยนไป อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้คุณต้องตัดสินใจตรงนี้ให้ได้ก่อนว่าคุณมีคุณสมบัติที่ดีเหมาะสมกับการเลี้ยงกระต่ายแล้วหรือยังและ ถ้าคำตอบคือ ใช่ กระต่ายก็พร้อมและเหมาะสมสำหรับคุณเช่นกันจากนี้ไปก็เป็นหน้าที่ของคุณแล้วละที่จะต้องอ่านบทความเพื่อรู้จักกระต่ายให้มากกว่านี้ถ้าพร้อมแล้วก็อ่านบทความต่อไปได้เลย ... ลุย
 
เนเธอร์แลนด์ ดรอฟ

เมื่อประมาณช่วงปี ค.ศ. 1880 หรือราว พ.ศ. 2423 ที่ประเทศอังกฤษ ได้ปรากฏว่ามีกระต่ายสายพันธุ์ดัทช์ได้ให้กำเนิดลูกหลากหลายครอกที่มี สีขาวแต่มีลายสีต่างๆ ไม่เป็นสีขาวทั้งตัว มีตาสีแดง มีลักษณะลำตัวที่เล็ก สั้นกระทัดรัด มีน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 1.6 ถึง 2 กิโลกรัม แต่มีขนที่นุ่มลื่นสวยงาม ซึ่งเป็นที่มาของกระต่ายโปลิช (Polish) แม้ว่ากระต่ายที่ได้จะยังมีเลือดที่ไม่นิ่ง แต่การผสมแบบในสายเลือด (Line Breeding) ทำให้ได้กระต่ายในรุ่นต่อมาที่มีสีขาวมากขึ้น จนกระทั่งได้กระต่ายสีขาวล้วน ตาสีทับทิม (Ruby-Eyed White) ที่เป็นต้นกำเนิดของกระต่ายเนเธอร์แลนด์ดวอฟ ในปัจจุบัน
ด้วยแรงบันดาลใจจากการนำเข้ากระต่ายสายพันธุ์โปลิช มายังสหราชอาณาจักรอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1884 หรือ พ.ศ. 2427 กระต่ายพันธุ์โปลิชจากประเทศเยอรมัน ได้ถูกนำมาผสมข้ามพันธุ์กับกระต่ายป่าในประเทศเนเธอร์แลนด์ที่มีขนาดเล็กโดยบังเอิญ จนทำให้เกิดการถ่ายทอดยีนส์แคระลงในกระต่ายพันธุ์โปลิช ทำให้มีขนาดเล็กและมีลำตัวที่สั้นลง ในเวลานั้นกระต่ายแคระ จึงมีแต่สีขาวล้วนและมีตาสีทับทิม
ในช่วงของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง กระต่ายแคระ สีขาวตาฟ้า (Blue-Eyed White) ได้ถือกำเนิดขึ้นในจักรวรรดิเยอรมัน แต่ลักษณะของกระต่ายแคระสีขาวตาฟ้าในขณะนั้นจะมีโครงสร้างกระดูกที่ใหญ่ ลำตัวที่ยาวกว่า ขนหยาบและสั้นกว่าของขาวตาทับทิม จนกระทั่งถึงช่วง ปลายทศวรรษปี 1930 หรือราว พ.ศ. 2480-2483 กระต่ายแคระที่ถูกพัฒนาขึ้นมาในขณะนั้น จึงมีเพียงแค่ 2 ประเภทสีเท่านั้น คือ ขาวตาทับทิม และ ขาวตาฟ้า
จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1948 หรือ พ.ศ. 2491 ถือได้ว่าเป็นยุคเริ่มต้นของกระต่ายเนเธอร์แลนด์ดวอฟ เนื่องจากกระต่ายสายพันธุ์นี้ได้ถูกนำเข้าไปยังสหราชอาณาจักรอังกฤษ โดยนักพัฒนาสายพันธุ์กระต่าย และในปี ค.ศ. 1969 หรือ พ.ศ. 2512 กระต่ายสายพันธุ์นี้ ได้รับความนิยมในสหรัฐอเมริกา จนได้รับการยอมรับจากสมาคมนักพัฒนาพันธุ์กระต่ายแห่งสหรัฐอเมริกา (TheAmerican Rabbit Breeders Association, Inc. หรือ ARBA) โดยมีการปรับปรุงข้อกำหนดของรายละเอียดมาตรฐานสายพันธุ์จากของสภากระต่ายแห่งสหราชอาณาจักร (The British Rabbit Council) เพียงนิดหน่อยเท่านั้น
สำหรับในประเทศไทย เมื่อปลายปี ค.ศ. 2003 หรือ พ.ศ. 2546 ได้มีการนำเข้ากระต่ายสายพันธุ์นี้คุณภาพระดับประกวดจากสหรัฐอเมริกา สำหรับสมาชิกชมรมคนรักกระต่ายแห่งประเทศไทย สีที่นำเข้ามาในขณะนั้น คือสีขาวตาฟ้า สีดำสร้อยทอง (Black Otter) และสีดำสร้อยเงิน (Black Silver Marten) และในปีต่อมา ก็ได้มีการนำเข้า สีต่างๆ ที่แปลกและสวยขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง เช่น สีทองแดง (Siamese Sable) สีควันบุหรี่ (Siamese Smoke Pearl) สีฮิมาลายัน (Himalayan) และสีที่หายาก อย่างสีวิเชียรมาศ (Sable Point) หรืออย่าง สีพื้นเช่น สีดำ สีบลู (Blue) สีชอกโกแลต ทำให้ในขณะนี้ ประเทศของเราก็มีกระต่ายสายพันธุ์นี้ในประเภทสีต่างๆ มากมาย  ดังที่ได้เห็นกันแล้วตามงานประกวดต่างๆ และเมื่อปลายปีที่ผ่านมา ก็มีการนำเข้ากระต่ายสายพันธุ์นี้จากประเทศต้นกำเนิดคือ เนเธอร์แลนด์ ความแตกต่างหลักๆของกระต่ายจากสหรัฐอเมริกาและจากเนเธอร์แลนด์ นอกเหนือจากลักษณะทางกายภาพ อันได้แก่ น้ำหนัก หุ่น รูปทรง หัว กะโหลก และลำตัว ระบบเพดดีกรีและการจดทะเบียนของสหรัฐอเมริกาถือได้ว่ามีระบบที่ดีที่สุดในโลก ซึ่งดีกว่าของกระต่ายทางเนเธอร์แลนด์ ซึ่งยังไม่มีการจดทะเบียนที่มีระบบ จึงทำให้กระต่ายจากทางสหรัฐอเมริกามีคุณภาพและราคาที่สูงกว่า
 
ในปัจจุบันสายพันธุ์นี้เป็นที่ยอมรับและมีชื่อเสียงมากในวงการนักพัฒนาสายพันธุ์กระต่ายสวยงามจนถือได้ว่าเป็นอัญมณีแห่งวงการกระต่ายสวยงาม(Gem of the Fancy Rabbits)
 
 
ลักษณะมาตรฐานของสายพันธุ์โดยทั่วไปของสายพันธุ์กระต่ายแคระเนเธอร์แลนด์หรือเนเธอร์แลนด์ดวอฟ คือ มีลำตัวสั้น กะทัดรัด ไหล่ สะโพก ความสูงมองดูโดยรวมแล้วสมมาตรกันอย่างสวยงาม หัวมองดูกลม ไม่ว่าจะมองจากมุมใดคอสั้นมากเท่าที่จะเป็นไปได้ หูตั้ง ตรง มีขนเต็ม และมีความแน่น ไม่บางจนเกินไปตากลม โต สดใส ขนดูแลรักษาง่าย เวลาหวีย้อนแนวขน ขนสามารถกลับมาเป็นทรงเดิมได้
น้ำหนักเมื่อโตเต็มที่ในอุดมคติคือ 0.9 กิโลกรัม
น้ำหนักมากที่สุดที่สามารถจดทะเบียนได้ 1.15 กิโลกรัม
 
รูปร่าง ทรง และลักษณะทั่วไป
ลำตัว ลำตัวต้องสั้น เล็กกะทัดรัด ไหล่หนา และมีความกว้างเท่ากับความกว้างของสะโพก ความกว้างและส่วนสูงจะต้องใกล้เคียงกัน ไหล่โค้งได้รูปรับกับส่วนโค้งของสะโพกที่กลมกลึง ซึ่งทำให้เน้นความสูงของตัวกระต่าย โดยที่ความกว้างและส่วนสูงจะต้องสมดุลกัน
 
หัว หัวโต มีขนาดใหญ่สมดุลกันกับลำตัว ตัวผู้จะมีหัวใหญ่กว่าตัวเมีย หัวเป็นทรงกลมเมื่อมองจากทุกทิศทาง ส่วนโค้งของหัวมองดูกลมไม่มีสะดุด หัวตั้งสูงและติดกับไหล่มากที่สุด
 
หู หูจะต้องสั้นและตั้งอยู่บนส่วนหัว หูตั้งแต่ไม่จำเป็นต้องชิดติดกัน มีขนเต็มสม่ำเสมอ แสดงถึงความมีเนื้อของส่วนฐานของหู ปลายหูมน ความยาวของหูในอุดมคติคือ 2 นิ้ว ขนาดของหูต้องสมดุลกันกับหัวและลำตัว
 
ตาดวงตาต้องกลม โต สดใส สีของตาต้องตรงตามมาตรฐานของประเภทสีที่ทำการประกวด ดังจะได้กล่าวถึงในรายละเอียดในเล่มต่อไป เช่น สีบลูหรือสีสวาดหรือสีเทาควันบุหรี่ ต้องมีตาสีเทา เป็นต้น ข้อยกเว้นในกระต่ายสีช็อกโกแล็ต สีไลแลคหรือสีเทากาบบัว และกลุ่มสีเฉด รวมถึงพวกสร้อยเงิน รูม่านตาอาจจะเป็นสีแดงสะท้อนออกมาได้ เรียกว่า Ruby Glow หรือ Ruby Red Reflection ในแสงปกติ ซึ่งกรรมการไม่ควรที่จะมาคำนึงถึงตรงส่วนนี้เวลาประกวด เพราะว่าไม่มีกระต่ายตัวไหนที่จะถูกตัดสิทธิ์หรือถูกหักคะแนนจากการที่มีสีแดงสะท้อนออกมาจากรูม่านตา
 
หาง ลักษณะของหางต้องตรง และมีขนเต็ม ถึงแม้ว่าจะไม่มีการให้คะแนนในส่วนหางของกระต่าย แต่ถ้าหางมีลักษณะที่บกพร่องบ้าง ก็อาจจะถูกหักคะแนนบ้างจากลักษณะประกอบอื่นๆ แต่ถ้าบกพร่องมาก ก็อาจจะถูกตัดสิทธิ์จากการประกวดได้เช่นกัน 
 
ขน ลักษณะขนต้องเป็นแบบโรลแบ็ค (Rollback) เท่านั้น โรลแบ็ค หมายถึง ลักษณะขนที่เมื่อใช้มือลูบย้อนแนวขน ขนจะค่อยๆ กลับคืนตัวสู่ตำแหน่งเดิม คุณภาพของขนต้องนุ่ม หนาแน่นสม่ำเสมอกัน ขนไม่ตายและเป็นมันเงางาม
 
สี ลักษณะของสีขนและสีตาต้องตรงกันตามมาตรฐานของสีนั้นๆสีเล็บก็ต้องตรงตามมาตรฐานของสีนั้นๆ ด้วย กระต่ายจะถูกตัดสิทธิ์จากการประกวด เมื่อปรากฏเล็บขาว ในกระต่ายสี สุดท้ายสีขนชั้นนอกและสีขนชั้นในไม่ตรงตามมาตรฐานที่กำหนด
ลักษณะที่ไม่พึงประสงค์ ไหล่แคบ ลำตัวยาวและแคบ หัวไหล่หรือสะโพกแคบ ส่วนโค้งหลังแบนราบไม่โค้ง ดังนั้นถ้าความกว้าง ความยาวและส่วนสูง ไม่สัมพันธ์กัน จึงถือว่าเป็นลักษณะที่บกพร่องทั้งสิ้นลักษณะหัว ที่มีจมูกแหลม บาน หรือแบน ถือเป็นลักษณะที่ไม่ต้องการ หัวใหญ่หรือเล็กเกินไปเมื่อเทียบกับตัว หัวไม่สมดุลกับตัวและหู หัวขาดความกลมถือเป็นลักษณะที่บกพร่องทั้งสิ้นหูบาง หูงอ หูพับ ขนที่หูไม่สม่ำเสมอ หูแบน หูเป็นรูปตัววีกางมากเกินไปเส้นขนยาวเกินไป ขนบาง ขนไม่หนาแน่น กระต่ายอยู่ในช่วงผลัดขน สีจางไม่เท่ากัน หรือมีสีปะคือมีสีอื่นปรากฏขึ้นมาในที่ที่ไม่ควรเป็น และที่ยอมไม่ได้มากที่สุดคือ ขนปรากฏเป็นแบบฟลายแบ็ค (Flyback) คือเมื่อลูบขนย้อนแนว จะตีกลับสู่ตำแหน่งเดิมในทันที ซึ่งเป็นลักษณะที่ทำให้กระต่ายเนเธอร์แลนด์ดวอฟแตกต่างจากกระต่ายพันธุ์โปลิช

ลักษณะที่ปรับเป็นโมฆะจากการประกวด เมื่อมีเหนียงใต้คอ กระต่ายที่มีหูยาวเกิน
2 นิ้วครึ่ง เมื่อกระต่ายประกวดในกลุ่มสีใดๆ ถ้าหากปรากฏว่ามีขนแซมสีขาวขึ้นมา หรือกระต่ายสีขาว หรือกลุ่มสีฮิมาลายัน แต่ขนสีอื่นปรากฏแซมขึ้นมา จะถูกตัดสิทธิ์จากการประกวด
 การจัดท่าทาง เวลาประกวดกระต่ายเนเธอร์แลนด์ดวอฟ จะจัดระเบียบร่างกายให้เป็นไปตามธรรมชาติของสายพันธุ์นี้ที่สุด คือ ไม่ควรยืดลำตัวให้ยาวออก หรือดันมาให้ติดกัน ไม่ควรจัดท่าให้กระต่ายอยู่ในท่ายืนถ่ายน้ำหนักไปที่ขาหน้า ซึ่งจะทำให้เกิดความสูง และความสมดุลของตัวกระต่ายจะหายไป ทำให้ตัวกระต่ายไม่แลดูสั้นและกะทัดรัด การจัดระเบียบร่างกายที่ดีคือ ต้องแสดงถึงความสมดุลกันทั้งความกว้าง ความยาวและส่วนสูง ซึ่งเป็นลักษณะที่สำคัญที่สุดของกระต่ายแคระ
 
กระต่ายสายพันธุ์เนเธอร์แลนด์ดวอฟเป็นกระต่ายที่จัดได้ว่า มีสีให้เลือกได้มากมายมากที่สุดในบรรดากระต่ายสายพันธุ์ต่างๆทั้งหมดที่มี คือสามารถแบ่งได้เป็น 5 กลุ่มสี และมีสีหรือลักษณะสีย่อยๆ อีกกว่า 24 สีสีตามมาตรฐานที่สมาคมพัฒนาพันธุ์กระต่ายแห่งสหรัฐอเมริกา หรือ ARBA กำหนดให้มีการประกวดในกระต่ายสายพันธุ์เนเธอร์แลนด์ดวอฟ มีกลุ่มสีถึง 5 กลุ่มสี ได้แก่ กลุ่มสีพื้น (Self Varieties) กลุ่มสีเฉด (Shaded Varieties) กลุ่มสีขนอะกูติ (Agouti Varieties) กลุ่มแทนหรือกลุ่มมีสร้อย (Tan Varieties) และกลุ่มสีอื่นๆ Any Other Varieties)
 
กลุ่มสีพื้น (Self Varieties) คือกลุ่มสีขนที่มีสีขนสีเดียวเหมือนกันตลอดทั้งตัว ประกอบด้วย 5 สี 6 ประเภท ได้แก่
สีดำ
สีบลู (Blue)-เป็นสีเทาเข้ม (สีเรือรบ) เหมือนสีของแมวสีสวาด
สีช็อกโกแล็ต
สีไลแลค (Lilac)
สีขาวตาฟ้า (Blue Eyed White) และ
ขาวตาทับทิม (Ruby Eyed White)
 
กลุ่มสีเฉด (Shaded Varieties) คือกลุ่มสีขนที่มีความเข้มของสีเดียวกันในแต่ละตำแหน่งของตัวไม่เท่ากัน ตำแหน่งที่มีความเข้มของสีแตกต่างกันอย่างชัดเจนคือ จมูกและขาทั้งสี่ จะมีสีที่เข้มกว่า ส่วนอื่นๆของตัว ประกอบด้วย 4 สี ได้แก่
สีซาเบิ้ลพอยท์ (Sable Point)-เป็นสีครีมทั้งตัว มีแต้มสีน้ำตาลเข้ม เหมือนสีของแมววิเชียรมาศ
สีซาเบิล (Siamese Sable)-เป็นสีน้ำตาลแดงเข้ม เหมือนสีของสุนัขไทยสีทองแดง
สีเทาควันบุหรี่ (Siamese Smoke Pearl)-เป็นสีเทาควันบุหรี่
สีกระ (Tortoise Shell)-เป็นสีกระ เหมือนสีของกระดองเต่ากระ พื้นขนออกสีน้ำตาล แต่มีแต้มที่จมูกและขาเป็นสีน้ำตาลที่เข้มกว่า
 
กลุ่มสีขนอะกูติ (Agouti Varieties)คือกลุ่มสีขนที่มีสีขนมากกว่าหนึ่งสีในขนเส้นเดียวกัน เมื่อสังเกตอย่างใกล้ชิดจะเห็นขนถูกแบ่งเป็นสามแถบอย่างชัดเจน ประกอบด้วย 5 สี ได้แก่
สีเชสนัท (Chestnut)-เป็นสีน้ำตาลเชสนัท แซมดำที่ปลายขนเหมือนสีกระต่ายป่า
สีชินชิลล่า (Chinchilla)-เป็นสีเทาแซมดำที่ปลายขนเหมือนสีตัวชินชิลล่า
สีลิงซ์ (Lynx)-เป็นสีส้มแซมสีเทาเงิน
สีโอปอล (Opal)-เป็นสีฟางข้าว ขนชั้นในเป็นสีบลู
สีกระรอก (Squirrel)-เป็นสีเทา แซมบลู หรือเทาเข้มที่ปลายขน เหมือนสีของกระรอก

กลุ่มแทนหรือกลุ่มมีสร้อย
(Tan Varieties) แบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆ คือประเภทที่มีขนสีพื้นเป็นสีตามที่กำหนดไว้คือ สีดำ สีบลู สีช็อกโกแล็ต หรือสีไลแลค และอีกกลุ่มคือประเภทที่มีสีทองแดงและสีเทาควันบุหรี่ แต่ที่สำคัญคือ สำหรับสีทุกประเภทจะต้องมีสร้อยหรือเป็นแถบขนสีขาวหรือสีที่กำหนดพาดที่คอ แลดูเหมือนกับสร้อย และผ้าพาดคอพาดอยู่
กลุ่มสร้อยทอง (Otter)-เป็นประเภทที่มีขนสีพื้นเป็นสีตามที่กำหนดไว้คือ สีดำ สีบลู สีช็อกโกแล็ต หรือสีไลแลค ที่บริเวณหัว หูส่วนนอก หลังเท้าหน้า ส่วนนอกของขาหลัง และส่วนหลังและลำตัวด้านข้าง แต่จะมีมาร์กกิ้งที่คอ (ส่วนกราม) หลังคอเป็นรูปสามเหลี่ยม ส่วนท้อง จมูกส่วนล่าง รอบดวงตา หางส่วนล่าง หูส่วนใน และส่วนในของขาหน้าและขาหลัง จะเป็นสีครีม แต่มีสีส้มแซมเป็นมาร์กกิ้งในกระต่ายสีพื้นดำหรือช็อกโกแล็ต หรือมีสีฟางข้าวแซมเป็นมาร์กกิ้งในกระต่ายสีพื้นบลูและไลแลค ทำให้แลดูเหมือนเป็นสร้อยทองคล้องอยู่
กลุ่มสร้อยเงิน (Silver Marten)-เป็นประเภทที่มีขนสีพื้นเป็นสีตามที่กำหนดไว้เหมือนกับของกลุ่มสร้อยทอง แต่จะมีมาร์กกิ้งที่คอ (ส่วนกราม) หลังคอเป็นรูป
สามเหลี่ยม ส่วนท้อง จมูกส่วนล่าง รอบดวงตา หางส่วนล่าง หูส่วนใน และส่วนในของขาหน้าและขาหลัง จะเป็นสีเทาเงิน ทำให้แลดูราวกับว่ามีสร้อยเงินคล้องอยู่
กลุ่มสร้อยนาค (Tans)-เป็นประเภทที่มีขนสีพื้นเป็นสีตามที่กำหนดไว้เหมือนกับของกลุ่มสร้อยทองและสร้อยเงิน แต่จะมีมาร์กกิ้งที่คอ (ส่วนกราม) หลังคอเป็นรูป สามเหลื่ยม ส่วนท้อง จมูกส่วนล่าง รอบดวงตา หางส่วนล่าง หูส่วนใน และส่วนในของขาหน้าและขาหลัง จะเป็นสีน้ำตาลแดงเข้ม คล้ายสีนาค ทำให้เหมือนมีสร้อยนาคอยู่
สีทองแดงสร้อยเงิน (Sable Marten)-เป็นสีทองแดง แต่มีมาร์กกิ้งต่างๆ คล้ายกับของกลุ่มสร้อยเงิน
สีเทาควันบุหรี่สร้อยเงิน (Smoke Pearl Marten)-เป็นสีเทาควันบุหรี่ แต่มีมาร์กกิ้งต่างๆ คล้ายกับของกลุ่มสร้อยเงิน
หมายเหตุ ลำดับที่ใช้ในการอธิบายอาจจะแตกต่างไปจากลำดับที่ใช้ในการประกวดคือ Otter – Sable Marten – Silver Marten –  Smoke Pearl Marten – Tans ทั้งนี้เพื่อความง่ายต่อการอธิบายและความเข้าใจ

กลุ่มสีอื่นๆ
(Any Other Varieties)คือกลุ่มสีที่ไม่สามารถจัดให้เข้าอยู่กับกลุ่มสีอื่นๆ ข้างต้นได้ เป็นกลุ่มสีที่มีลักษณะเฉพาะตัว มี 4 สีด้วยกัน ได้แก่
สีฟางข้าว (Fawn)
กลุ่มหิมาลายัน (Himalayan)-กลุ่มที่มีสีขนพื้นลำตัวเป็นสีขาว แต่มีแต้มที่ จมูก หูทั้งสอง ขาทั้งสี่ และหาง โดยจะต้องมีสีตามที่กำหนดไว้คือ สีดำ สีบลู สีช็อกโกแล็ต และสีไลแลค แต่ที่สำคัญคือ จะต้องมีตาสีทับทิม
สีส้ม (Orange) และ
สีสนิมเหล็ก (Steel)-มีสีดำทั้งตัว และมีปลายขนเป็นสีน้ำตาล
เนื่องจากคะแนนที่ให้สำหรับสีมีมากถึง 15 คะแนน หรือ 15 เปอร์เซ็นต์ ลักษณะของสีขนและสีตาจึงต้องตรงกันตามมาตรฐานของสีนั้นๆ นอกจากนี้ สีเล็บก็ยังต้องตรงตามมาตรฐานของสีนั้นๆ อีกด้วย กระต่ายจะถูกตัดสิทธิ์จากการประกวด โดยเฉพาะเมื่อปรากฏเล็บขาวในกระต่ายสี สุดท้ายสีขนชั้นนอกและสีขนชั้นในไม่ตรงตามมาตรฐานที่กำหนด ก็ถือว่าเป็นลักษณะที่บกพร่องและถูกหักคะแนนได้
ลักษณะที่ปรับเป็นโมฆะหรือจะถูกตัดสิทธิ์จากการประกวด คือเมื่อกระต่ายประกวดในกลุ่มสีใดๆ ถ้าหากปรากฏว่ามีขนแซมสีขาวขึ้นมาอย่างเห็นได้อย่างชัดเจน หรือมีจำนวนมากเกินไป หรือกระต่ายสีขาวหรือกลุ่มสีหิมาลายันแต่มีขนสีอื่นปรากฏแซมขึ้นมา เราจะถือว่ากระต่ายตัวนั้นมีลักษณะที่ต้องถูกตัดสิทธิ์จากการประกวด
 สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ เนื่องจากกระต่ายสายพันธุ์นี้ยังไม่ได้กำหนดให้มีมาตรฐานของกระต่ายที่มีลายหรือเป็นสีขาวจุด หรือสีขาวปะ เพราะฉะนั้น กระต่ายที่มีลายทั้งหมด (หรือเรียกว่า Broken) หรือกระต่ายที่เป็นลายหน้ากาก (หรือ Dutch mark) ก็ถือว่าไม่ตรงตามมาตรฐานสำหรับการประกวดของ ARBA ดังนั้นการเลือกซื้อกระต่ายสายพันธุ์นี้ ให้ถูกต้องตามสีมาตรฐาน และเพื่อใช้ประกวด จะต้องจำไว้ว่า สีจะต้องตรงตามสีหรือกลุ่มสีทั้ง 24 นี้เท่านั้น แต่ถ้าเลี้ยงเล่นๆ ก็ไม่ว่ากั
 
   
   

 

  

 

ต้นกำเนิดของอเมริกันฟัซซี่ลอปมาจากการผ่าเหล่าของฮอลแลนด์ลอปหรืออีกกระแสหนึ่งเล่าว่ากระต่ายสายพันธุ์นี้เกิดจากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างฮอลแลนด์ลอปที่ลักษณะขนเป็นแบบอังโกร่าในกลุ่มนักพัฒนาสายพันธุ์กระต่ายทางฝากตะวันตกของสหรัฐอเมริกาจากนั้นก็ถูกขายไปยังฝั่งตะวันออก ลูกที่เกิดมาก็ยังมีขนที่ยาวเหมือนอังโกร่าเมื่อผสมลูกเหล่านี้ รุ่นหลานก็ยังปรากฏเป็นกระต่ายหูตกขนยาวอยู่ตลอดมาสายพันธุ์อเมริกันฟัซซี่ลอปถูกเสนอให้มีการยอมรับสายพันธุ์ต่อสมาคมพัฒนาพันธุ์กระต่ายของสหรัฐอเมริกาในงานประกวดกระต่ายสวยงาม ณ เมดิสัน รัฐวิสเคาส์ซิน ในปี ค.ศ. 1988 หรือ พ.ศ. 2531 โดยเพตตี้กรีน คาร์ล
 
 
กระต่ายพันธุ์อเมริกันฟัซซี่ลอป (American Fuzzy Lop) เป็นกระต่ายขนาดเล็ก (Compact Type) จัดอยู่ในกลุ่มกระต่ายแคระ มีลักษณะเด่นคือมีหูตกสวยงามและมีขนที่ยาวสลวยลักษณะเด่นอื่นๆของสายพันธุ์กระต่ายหูตกอเมริกันฟัซซี่ลอป ก็คือ มีลำตัวสั้นกะทัดรัด หัวมีลักษณะกลม ขนาดใหญ่หนาและกว้างจากฐานของหูทั้งสองข้าง หูที่หนาและแบน หูยิ่งสั้นยิ่งถือว่ามีลักษณะที่ดีเพราะว่าเป็นการแสดงถึงลักษณะของกระต่ายแคระ หูจะต้องตกแนบข้างแก้ม หัวโตใหญ่ต่อติดกับหัวไหล่ เหมือนไม่มีคอ หัวและหูปกคลุมด้วยขนธรรมดา ที่ไม่ใช่ขนยาวขนที่หน้าสามารถตัดแต่งได้ตามความเหมาะสมและสวยงาม ขาหลังมีขนธรรมดาฝ่าเท้าหนาและหนัก ขนที่ตัวหนาแน่นเสมอกันตลอดทั้งตัวขนควรมีลักษณะค่อนข้างหยาบและมีความยาวไม่น้อยกว่า 2 นิ้ว
เนื่องจากกระต่ายสายพันธุ์นี้มีน้ำหนักและลำตัวยาวไม่มากเหมือนกระต่ายทั่วไปจึงเป็นที่นิยมเลี้ยงอยู่ในขณะนี้ การที่มีขนาดลำตัวที่สั้น ไหล่ที่กว้างหนาและมีความสูงสมดุลกันทั้งตัว ทำให้ดูเหมือนเป็นก้อนฟูฟูกลมๆก้อนหนึ่งเนื่องจากขนที่มีสองลักษณะคือ ขนชั้นในที่นุ่มฟูและมีขนาดสั้นกว่าขนชั้นนอกที่มีความยาวและแลดูหยาบกว่าขนชั้นในทำให้ดูเหมือนอเมริกันฟัซซี่ลอปมีขนาดที่ใหญ่เกินกว่าความเป็นจริง ในเพศผู้จะมีขนาดลำตัวและหัวที่ใหญ่กว่า กล้ามเนื้อเด่นชัดในเพศเมียจะแสดงออกถึงลักษณะของเพศเมียมากกว่าแต่ทั้งคู่ก็จะแสดงถึงลักษณะของสายพันธุ์ที่ประกอบไปด้วยกล้ามเนื้อเมื่อเติบโตเต็มที่แล้ว
น้ำหนักเมื่อโตเต็มที่ในอุดมคติคือ 1.6 กิโลกรัม (สำหรับตัวผู้) และ 1.7 กิโลกรัม (ในตัวเมีย)
น้ำหนักมากที่สุดที่สามารถจดทะเบียนได้ 1.8 กิโลกรัม
 

สัดส่วนและขนาด
น้ำหนักในเพศผู้ (พ่อพันธุ์) อายุตั้งแต่หกเดือนขึ้นไป ไม่เกิน 4 ปอนด์ (1.8 กิโลกรัม)โดยมีน้ำหนักในอุดมคติคือ ไม่เกิน 3 ? ปอนด์ (1.6 กิโลกรัม)
น้ำหนักในเพศเมีย (แม่พันธุ์) อายุตั้งแต่หกเดือนขึ้นไป ไม่เกิน 4 ปอนด์ (1.8 กิโลกรัม)โดยมีน้ำหนักในอุดมคติคือ ไม่เกิน 3 ? ปอนด์ (1.7 กิโลกรัม)
น้ำหนักกระต่ายรุ่น อายุไม่เกินหกเดือน น้ำหนักต้องไม่เกิน 3 ? ปอนด์ (1.6 กิโลกรัม) โดยมีน้ำหนักที่น้อยที่สุดสำหรับประกวด ไม่น้อยกว่า 1 ? ปอนด์ (8 ขีด)
ศีรษะ
มองจากหน้าตรง หัวมีความกว้าง หน้าผากโหนกลงมาถึงระหว่างตาทั้งสองข้างทำให้แลดูหัวเต็ม มองจากด้านข้าง หัวจะสั้นและหนา หัวกลม หน้าตัด หัวใหญ่สังเกตเห็นได้ชัดเจน ขนาดของหัวต้องสัมพันธ์กันกับลำตัวขนข้างแก้มสามารถตัดแต่งได้เพื่อความสวยงาม
ลักษณะที่ไม่เป็นที่พิจารณา หน้ายาว หัวแคบเล็ก ระหว่างตาแคบหัวเล็กไม่สัมพันธ์กับลำตัว ขนข้างแก้มถูกตัดมากเกินไป
 

สีตามมาตรฐานที่สมาคมพัฒนาพันธุ์กระต่ายแห่งสหรัฐอเมริกาหรือ ARBA กำหนดให้มีการประกวดในกระต่ายสายพันธุ์อเมริกันฟัซซี่ลอป มีกลุ่มสีถึง 6 กลุ่มสี ได้แก่ กลุ่มสีพื้น (Self Group) กลุ่มสีขนอะกูติ (Agouti Group) กลุ่มสีเฉด (Shaded Group) กลุ่มสีขาวมีแปดแต้ม (Pointed White Group) กลุ่มขาวลายแต้มสีต่างๆ (Broken Group) และกลุ่มสีอื่นๆ (Wide Band Group)
กลุ่มสีพื้น (Self Group) คือกลุ่มสีขนที่มีสีขนสีเดียวเหมือนกันตลอดทั้งตัวประกอบด้วย 6 สี ได้แก่
สีดำ
สีบลู (Blue)-เป็นสีเทาเข้ม (สีเรือรบ)เหมือนสีของแมวสีสวาด
สีขาวตาฟ้า (Blue Eyed White)
สีช็อกโกแล็ต
สีไลแลค (Lilac) และ
ขาวตาทับทิม (Ruby Eyed White)
กลุ่มสีขนอะกูติ (Agouti Group) คือกลุ่มสีขนที่มีสีขนมากกว่าหนึ่งสีในขนเส้นเดียวกัน ประกอบด้วย 5 สี ได้แก่
สีเชสนัท (Chestnut)-เป็นสีน้ำตาลเชสนัท แซมดำที่ปลายขนเหมือนสีกระต่ายป่า
สีชินชิลล่า (Chinchilla)-เป็นสีเทาแซมดำที่ปลายขนเหมือนสีตัวชินชิลล่า
สีลิงซ์ (Lynx)-เป็นสีส้มแซมสีเทาเงิน
สีโอปอล (Opal)-เป็นสีฟางข้าวขนชั้นในเป็นสีบลู
สีกระรอก (Squirrel)-เป็นสีเทา แซมบลู หรือเทาเข้มที่ปลายขนเหมือนสีของกระรอก
กลุ่มสีเฉด (Shaded Group) คือกลุ่มสีขนที่มีความเข้มของสีเดียวกันในแต่ละตำแหน่งของตัวไม่เท่ากันตำแหน่งที่มีความเข้มของสีแตกต่างกันอย่างชัดเจนคือ จมูกและขาทั้งสี่จะมีสีที่เข้มกว่า ส่วนอื่นๆของตัว ประกอบด้วย 4 สี ได้แก่
สีซาเบิล (Siamese Sable)-เป็นสีน้ำตาลแดงเข้ม เหมือนสีของสุนัขไทยสีทองแดง
สีเทาควันบุหรี่ (Siamese Smoke Pearl)-เป็นสีเทาควันบุหรี่
สีซาเบิ้ลพอยท์ (Sable Point)-เป็นสีครีมทั้งตัว มีแต้มสีน้ำตาลเข้ม เหมือนสีของแมววิเชียรมาศ
สีกระ (Tortoise Shell)-เป็นสีกระ เหมือนสีของกระดองเต่ากระ พื้นขนออกสีน้ำตาลแต่มีแต้มที่จมูกและขาเป็นสีน้ำตาลที่เข้มกว่า
กลุ่มสีขาวมีแปดแต้ม (Pointed White Group) คือกลุ่มที่มีสีขนพื้นลำตัวเป็นสีขาวแต่มีแต้มที่ จมูก หูทั้งสอง ขาทั้งสี่ และหาง โดยจะต้องมีสีตามที่กำหนดไว้คือ สีดำสีบลู สีช็อกโกแล็ต สีไลแลค (Lilac) และที่สำคัญคือ จะต้องมีตาสีทับทิม
กลุ่มขาวลายแต้มสีต่างๆ (Broken Group) คือกลุ่มที่มีสีขนพื้นลำตัวเป็นสีขาวและมีแต้ม หรือลายจุด กระจัดกระจายทั่วไปตามลำตัว แต่ต้องมีแต้มบังคับที่ข้างจมูกและขอบตา ทั้งสองข้าง และต้องมีสีแต้มไม่น้อยกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ของลำตัวทั้งหมด
กลุ่มสีอื่นๆ (Wide Band Group) คือกลุ่มสีที่ไม่สามารถจัดให้เข้าอยู่กับกลุ่มสีอื่นๆ ข้างต้นได้เป็นกลุ่มสีที่มีลักษณะเฉพาะตัว มี 2 สี ได้แก่ สีส้ม (Orange) สีฟางข้าว (Fawn)

ฮอลแลนด์ ลอป

นักพัฒนาพันธุ์กระต่ายชาวเนเธอร์แลนด์ชื่อ นายแอนเดรียน เดอคอก ซึ่งในขณะนั้นเป็นนักพัฒนากระต่ายสายพันธุ์แทน แต่กลับมีความชื่นชอบกระต่ายสายพันธุ์เนเธอร์แลนด์ดวอฟและสายพันธุ์เฟรนช์ลอปเป็นพิเศษ มีความคิดที่จะผสมกระต่ายให้ได้กระต่ายหูตกที่มีขนาดเล็กลงกว่าที่เป็นอยู่ ดังนั้นในช่วงฤดูหนาวปี ค.ศ. 1949 หรือ พ.ศ. 2492 เขาได้ผสมกระต่ายเฟรนช์ลอปเพศผู้กับกระต่ายขาวเนเธอร์แลนด์ดวอฟเพศเมีย โดยหวังว่าจะได้กระต่ายหูตกที่ตัวเล็กลง แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ หลังจากการผสมข้ามพันธุ์ในครั้งนั้น สองปีต่อมา คือในปี ค.ศ. 1951 หรือ พ.ศ. 2494 เขาลองผสมกระต่ายเฟรนช์ลอปเพศเมียกับกระต่ายเนเธอร์แลนด์ดวอฟเพศผู้ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องง่ายนักที่จะผสมกระต่ายต่างสายพันธุ์ที่มีขนาดที่แตกต่างกันมากเช่นนี้ แต่เขาก็ประสบความสำเร็จ จากความพยายามผสมในครั้งที่ 3 จนกระทั่งได้ลูกกระต่ายออกมาทั้งหมดหกตัว ทุกตัวมีหูตั้งและชิดกัน อันเกิดจากลักษณะเด่นของกระต่ายเนเธอร์แลนด์ดวอฟ ซึ่งข่มทับอย่างสมบูรณ์ ในปีถัดมา เขานำลูกกระต่ายเพศเมียเหล่านั้นไปผสมกับกระต่ายอิงลิชลอปเพศผู้สีฟางข้าว ได้ลูกกระต่ายออกมาห้าตัว ตัวเมียหนึ่งตัวในครอกนี้หูตก สองตัวหูตั้ง ที่เหลือ หูตกข้างตั้งข้าง ด้วยความที่ฝืนธรรมชาติกระต่ายเพศเมียที่ได้ทุกตัวจากการทดลองผสมข้ามสายพันธุ์ ไม่สามารถผสมติดให้ลูกเลย กระนั้นเขาก็ไม่ได้ละความพยายาม เขาได้ทดลองเอาพี่น้องต่างครอกผสมกัน ผลปรากฏว่าเป็นผลสำเร็จ จำนวนลูกหูตกที่ได้มากขึ้นและก็มีขนาดที่เล็กลงด้วย จนกระทั่ง ในปี ค.ศ. 1955 หรือ พ.ศ. 2598 ความพยายามของเขาก็เป็นผลสำเร็จ กระต่ายต้นแบบฮอลแลนด์ลอปได้ถือกำเนิดมาที่น้ำหนักประมาณ 2.5 ถึง 3 กิโลกรัม ในเดือนมกราคมปี ค.ศ. 1964 หรือ พ.ศ. 2507 กระต่ายแคระหูตกฮอลแลนด์ก็ได้รับการรับรองมาตรฐานสายพันธุ์จากสภากระต่ายแห่งประเทศเนเธอร์แลนด์ ที่น้ำหนักตัวน้อยกว่าสองกิโลกรัม

กระต่ายแคระหูตกฮอลแลนด์ของแอนเดรียน ได้นำเข้ามาในประเทศสหรัฐอเมริกาในปีค.ศ. 1976 หรือ พ.ศ. 2519 และได้มีการเสนอให้มีการยอมรับสายพันธุ์นี้ต่อสมาคมพัฒนาพันธุ์กระต่ายของสหรัฐอเมริกาที่งานประกวดกระต่ายสวยงาม ณ ทักสัน ในปี ค.ศ. 1980 หรือ พ.ศ. 2523
 
 
ถ้าจะกล่าวถึงกระต่ายที่เป็นที่นิยมในเมืองไทยมากที่สุดในขณะนี้ คงหนีไม่พ้นกระต่ายหูตกนั่นเอง อันเนื่องมาจากลักษณะที่โดดเด่นในตัวของกระต่ายเอง คือมีหูตกอยู่ที่ข้างแก้ม ซึ่งจัดว่าเป็นลักษณะที่แตกต่างจากกระต่ายปกติที่เราคุ้นเคย คือต้องมีหูตั้ง แต่นั่นก็ไม่ใช่เหตุผลหลัก ที่ทำให้กระต่ายสายพันธุ์นี้เป็นที่นิยมเลี้ยงในหมู่คนเลี้ยงกระต่าย แต่เป็นเพราะเนื่องจากกระต่ายพันธุ์นี้เป็นกระต่ายที่มีความเชื่องมากที่สุดพันธุ์หนึ่ง หุ่นที่แข็งแรง บึกบึน หูตก ขนสั้น สามารถจดจำชื่อของตัวเองได้และยังรู้จักเจ้าของอีก นอกจากนี้ ลักษณะภายนอกที่เห็นเด่นชัด ก็ไปมีรูปร่างลักษณะคล้ายกับสุนัขพันธุ์คอกเกอร์สแปเนี่ยล ที่มีหูตกห้อยอยู่ข้างแก้ม ด้วยคุณลักษณะทั้งหลายดังที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ เราจึงสามารถกล่าวได้ว่ากระต่ายพันธุ์ฮอลแลนด์ลอปนี้ เป็นกระต่ายในดวงใจของผู้นิยมเลี้ยงกระต่ายหลายๆท่าน รวมทั้งในต่างประเทศด้วย อย่างเช่นในสหรัฐอเมริกา กระต่ายพันธุ์นี้เป็นที่นิยมเลี้ยงเป็นอย่างมาก จนถึงกับมีการตั้งมอตโต้ของกระต่ายสายพันธุ์นี้ ว่าเป็น ฮอลมาร์กบรีด (The Hallmark Breed)หรือเป็นหนึ่งในสายพันธุ์ที่เป็นตราเครื่องหมายของกระต่ายเลยทีเดียว
กระต่ายสายพันธุ์ฮอลแลนด์ลอปจัดว่าเป็นกระต่ายกลุ่มหูตกที่มีขนาดเล็กที่สุด เพราะว่าเมื่อดูจากประวัติของสายพันธุ์ ก็มาจากกระต่ายแคระเนเธอร์แลนด์ดวอฟ กระต่ายสายพันธุ์นี้ มีลักษณะเด่นที่หัวกลมโต แลดูน่ารักเหมือนตุ๊กตา มีน้ำหนักน้อยและลำตัวสั้น ซึ่งแตกต่างจากกระต่ายโดยทั่วไป จึงทำให้เป็นกระต่ายที่เป็นที่นิยมเลี้ยงกันในขณะนี้ การที่มีขนาดลำตัวที่สั้น ไหล่ที่กว้างหนา และมีความสูงสมดุลกันทั้งตัว ทำให้แลดูเหมือนก้อนกลมๆ หูที่สั้น ไม่ยาวมาก ทำให้แลดูน่ารัก โดยปกติ หูยิ่งสั้น ยิ่งดี เพราะว่าจะแสดงถึงลักษณะของกระต่ายแคระ
ในเพศผู้ จะมีขนาดลำตัวและหัวที่ใหญ่กว่า กล้ามเนื้อเด่นชัดกว่า ในเพศเมียจะแสดงออกถึงลักษณะของเพศเมียมากกว่า แต่ทั้งคู่ก็จะแสดงถึงลักษณะของสายพันธุ์ที่ประกอบไปด้วยกล้ามเนื้อ เมื่อเติบโตเต็มที่แล้ว
สำหรับชื่อที่ใช้เรียก กระต่ายสายพันธุ์ฮอลแลนด์ลอป ในแต่ละประเทศก็จะเรียกแตกต่างกันไป อันอาจจะก่อให้เกิดความสับสนได้โดยง่าย เช่น ในประเทศอังกฤษ (The British Rabbit Council) จะเรียกฮอลแลนด์ลอป ว่าเป็นมินิลอป แต่กลับเรียกมินิลอปเป็น ดวอฟลอป
สำหรับในประเทศไทย ไม่ได้เกิดจากการเรียกชื่อที่ผิด แต่เนื่องจากผู้เลี้ยงกระต่ายในเมืองไทย ยังคงมีความเข้าใจเรื่องมาตรฐานสายพันธุ์ของกระต่ายพันธุ์ฮอลแลนด์ลอปนี้อย่างผิดๆ โดยเข้าใจว่ากระต่ายหูตกลูกผสมที่มีลักษณะคล้ายกับกระต่ายพันธุ์มินิลอป แต่ขนกระด้างเหมือนกระต่ายไทยทั่วไป คือ ฮอลแลนด์ลอปสายพันธุ์แท้ ทั้งๆที่กระต่ายสองสายพันธุ์นี้ มีลักษณะที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง กล่าวคือ กระต่ายฮอลแลนด์ลอป จะมีหัวที่กลมกว่ามินิลอป น้ำหนักตัวที่น้อยกว่ามาก คือ 1.6-1.8 กิโลกรัม ในขณะที่มินิลอปจะหนักกว่ามาก คือ กว่าสองกิโลกรัม (2.5-2.7 กิโลกรัม) เมื่อโตเต็มที่ หน้าและความยาวของหู สัดส่วนระหว่างหัวกับตัวซึ่งแตกต่างกันอย่างชัดเจน (ดังรูป) แต่ที่สำคัญและแตกต่างที่สุด ก็คือเรื่องของขน กระต่ายฮอลแลนด์ลอปสายพันธุ์แท้จะมีขนที่นุ่มลื่นเป็นเอกลักษณ์
 
สายพันธุ์กระต่ายฮอลแลนด์ลอปในอุดมคติ ที่เราจะจัดว่าสวยตรงตามมาตรฐานของสายพันธุ์ จะต้องมีหัวที่กลมโต กล้ามเนื้อหนาแน่น ลำตัวสั้น กะทัดรัด และสมมาตรทั้งความยาว ความกว้างและความสูง สัดส่วนของลำตัวและหัว ควรจะเป็น 3:1 ไหล่และอกกว้าง หนาและเต็ม เช่นเดียวกันกับสะโพก หัวที่โตต่อติดกับหัวไหล่ เหมือนไม่มีคอ ขาสั้น หนา ตรงและกระดูกใหญ่ หูทั้งสองข้างต้องตกแนบแก้ม เมื่อมองจากด้านหน้าตรง จะดูเหมือนเป็นรูปเกือกม้า หูต้องหนาและมีขนขึ้นเต็ม หูยาวเลยจากคางไปไม่เกิน 1 นิ้ว ความยาวของหูต้องสัมพันธ์กับหัวและตัว  
น้ำหนักเมื่อโตเต็มที่ในอุดมคติคือ 1.6 กิโลกรัม (สำหรับตัวผู้) และ 1.7 กิโลกรัม (ในตัวเมีย) แต่น้ำหนักมากที่สุดที่สามารถจดทะเบียนได้ 1.8 กิโลกรัม
ลักษณะที่จะถูกหักคะแนนจากการประกวด ลำตัวยาวและแคบ ความกว้างและความสูงไม่สัมพันธ์กัน สันหลังโค้งผิดรูป ไหล่แคบหรือกว้างเกินไปไม่สมดุลกับลำตัวโดยรวม ไหล่อยู่ต่ำมาก สะโพกแคบ แบน ผอม มีกระดูก หัวยาวหรือแคบ หัวไม่สมดุลกับลำตัว เนื้อหูบาง หูไม่สมดุลกันกับลำตัว
 
กระต่ายฮอลแลนด์ลอปมีสีมากมายหลากหลายสี จนสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มสีต่างๆ ได้มากถึง 7 กลุ่มสี ได้แก่ กลุ่มอะกูติ (Agouti) กลุ่มสีขาวแต้ม (Broken) กลุ่มสีขาวมีมาร์กกิ้งแปดแต้ม (Pointed White) กลุ่มสีพื้น (Self) กลุ่มสีเฉด (Shaded) กลุ่มสีพิเศษ (Ticked) และกลุ่มสีอื่นๆ (Wide Band) หรือเราอาจจะกล่าวง่ายๆ ว่ามีสีต่างๆ ที่รับรองโดย ARBA แล้ว ดังต่อไปนี้ คือ
กลุ่มอะกูติ: สีเชสนัทอะกูติ สีช็อกโกแล็ตอะกูติ สีชินชิลล่า สีช็อกโกแล็ตชินชิลล่า สีลิงซ์ สีโอปอล สีกระรอก (Squirrel) 
กลุ่มสีขาวแต้ม: สีขาวแต้ม คือสีขาว แต่มีสีแต้มเป็นสีอะไรก็ได้ ที่ได้รับการรับรอง รวมถึงสีไตรคัลเลอร์ หรือสามสี (มีสีขาว น้ำตาล และดำ)  
กลุ่มสีขาวมีมาร์กกิ้งแปดแต้ม: โดยที่มาร์กกิ้งต้องมีสีกลุ่มสีพื้น (สีดำ สีบลู สีช็อกโกแล็ต สีไลแลค)  
กลุ่มสีพื้น : สีดำ สีบลู สีช็อกโกแล็ต สีไลแลค สีขาวตาแดง และสีขาวตาฟ้า
กลุ่มสีเฉด : สีวิเชียรมาศ สีทองแดง สีซีล สีเทาควันบุหรี่ และสีกระ
กลุ่มสีพิเศษ
ปลายขนสีน้ำตาล : ตอนนี้มีอยู่สีเดียวคือ สีสตีล หรือสีสนิมเหล็ก
กลุ่มสีอื่นๆ : สีครีม สีฟางข้าว สีฟร้อสตี้ (เทาควันบุหรี่อ่อนๆ) สีส้ม และสีแดง
ในขณะนี้ได้มีสีอีกกลุ่มหนึ่งที่เพิ่งจะได้รับการรับรองเมื่อต้นปี พ.ศ. 2548 ที่ผ่านมา คือ กลุ่มสร้อยทอง หรือ ออตเตอร์ สีทั้งหมดที่กล่าวมาแล้วนี้ เป็นสีมาตรฐานของสมาคมนักพัฒนาพันธุ์กระต่ายแห่งสหรัฐอเมริกา (The American Rabbit Breeders Association, Inc.) แต่ของสภากระต่ายแห่งสหราชอาณาจักร (The British Rabbit Council) ก็จะมีสีน้อยกว่านี้ แต่จะมีสีแปลกๆเพิ่มขึ้นมาแทน เช่น กลุ่มสีสร้อยเงิน เช่น สีเทาควันบุหรี่สร้อยเงินและสีทองแดงสร้อยเงิน เป็นต้น 

1. กระต่ายไทยทั่วไป

กระต่ายไทยจะเป็นกระต่ายที่มีมานานแล้ว มีราคาถูก บางคนเรียกว่า กระต่ายพื้นเมืองลักษณะขนจะสั้น และหน้าจะแหลม มีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับกระต่ายที่จะกล่างถึงต่อไป
2. เจอรี่ วู๊ดดี้ (Jerry Woody)

ชื่อของเจอรี่ วู๊ดดี้นั้นค่อนข้างสร้างความสับสนให้กับผู้เลี้ยง เป็นอันมาก เนื่องจากไปฟังแล้วคล้ายกับ Jerry Wooly (เจอรี่ วูลลี่) ของต่างประเทศ อันที่จริงแล้ว เป็นคนละพันธุ์กันค่ะเจอรี่ วู๊ดดี้ จะลักษณะคล้ายกับ Teddy ค่ะ แต่ว่า ขนที่หน้าจะสั้นกว่าเล็กน้อยและขนาดเมื่อโตเต็มที่ ตัวจะใหญ่กว่า ปัจจุบันไม่ค่อยมีขายแล้วค่ะภาพข้างล่างเป็นภาพของเพื่อนๆ ทางบ้านค่ะ
 
4. วู๊ดดี้ ทอย (Woody Toy)

อ่านชื่อแล้วเพื่อนๆ อาจจะเกิดอาการมึน เล็กน้อยอันที่จริงแล้ว Woody Toy ชื่อฟังดูมีคำว่า วู๊ดดี้ เหมือนกัน ก็น่าจะคล้ายกับเจอรี่ วู๊ดดี้ แต่ไม่ใช่ค่ะ กระต่ายพันธุ์วูดดี้ ทอย นี้จะคล้ายกับ Teddy Bear มากกว่า เพราะว่า พัฒนาสายพันธุ์ต่อจาก Teddy Bear โดยทำให้มีขนาดเล็กลงไปอีกมองแล้วคล้ายกับเอา Teddy Bear มาหดให้เล็กลง เพราะว่า หน้าตาคล้ายกับ Teddy Bear เลยค่ะ (แต่ไม่ได้มียีนส์แคระนะคะ เพราะหากมียีนส์แคระนั้น Woody Toy จะผสมกับ Woody Toy ไม่ได้ เพราะว่า จะเกิดลูกที่เป็น peanut ซึ่งเป็นปัญหาจากยีนส์ แคระที่เป็นยีนส์ด้อยมาเจอกัน แต่ปรากฏว่า Woody Toy ไม่ได้ให้ลูก peanut จึงไม่ใช่กระต่ายแคระค่ะ เพียงแค่พัฒนาให้มีขนาดเล็กลงเท่านั้น)

ลักษณะคือหน้าตาจะเหมือน Teddy Bear เลย แต่หูจะสั้นกว่ามองเห็นคล้ายรูปสามเหลี่ยมด้านเท่าและเมื่อโตเต็มที่แล้วตัวจะเล็กกว่า Teddy Bear ค่ะ หากเอา Woody Toy และ Teddy Bear ที่โตเต็มที่มาเทียบกัน Woody Toy จะตัวเล็กกว่า เกือบครึ่งเลยทีเดียว
เปรียบเทียบทั้ง 3 สายพันธุ์
3. Teddy Bear

Teddy
หรือ Teddy Bear เป็นกระต่ายที่เป็นลูกผสมเช่นกัน และได้พัฒนาสายพันธุ์กันมาต่อจาก เจอรี่ วู๊ดดี้จนค่อนข้างนิ่งในเมืองไทย กระต่ายพันธุ์นี้ จะนิยมเลี้ยงกันมาก เพราะว่ารูปร่างน่ารัก ตัวจะกลมฟู ขนจะฟูยาวประมาณ 4-5 นิ้ว และก็มีราคาไม่แพงเพาะพันธุ์ขึ้นจากฟาร์มในเมืองไทย ต่างประเทศไม่มีค่ะ (ภาพด้านล่างส่วนใหญ่เป็นภาพน้องกระต่าย จากเพื่อนๆ ทางบ้านค่ะ)
พันธุ์
ราคา
น้ำหนัก เมื่อโตเต็มที่
หู
ขน
อื่นๆ
กระต่ายไทยทั่วไป
ถูก
ราคา 80-100
ประมาณ 4 กิโลกรัม
หูยาว หน้าแหลม
สั้น ประมาณ ขนหนูตะเภา
บางคนเอามาหลอกขาย ว่าเป็นกระต่ายแคระ โดยนำมาขายตั้งแต่ยังไม่หย่านม
Lion Head
**
ประมาณ 2.5 กิโลกรัม
หูสั้นกว่า กระต่ายไทยไม่มาก
ขนฟูยาว เฉพาะที่หน้า คล้ายแผง คอ สิงโต
Lion head ในไทย ไม่ค่อยสวยเหมือนของ นอก มีการพัฒนา สายพันธุ์ขึ้นในเมืองไทยและต่างประเทศ
Jerry Woody
**
2-3 กิโลกรัม
หูยาวกว่า Teddy แต่สั้นกระต่ายไทย มักไม่มีขนฟูที่หู
ยาว แต่ขนที่หน้า
สั้นกว่าตัว หน้าเล็กกว่า Teddy และ Woody Toy
ไม่ค่อยมีขายแล้ว
Teddy Bear
**
1-1.8 กิโลกรัม
สั้นกว่า กระต่ายไทย แต่ยาวกว่า Woody Toy
ยาว (ประมาณ 4-5 เซนติเมตร) ขนจะยาว ปรกหน้าปิดตา และยาวเท่ากันเสมอทั้งตัว
นิยมเลี้ยง หาซื้อได้ทั่วไป
Woody Toy
**
ไม่เกิน 1.2 กิโลกรัม
หูสั้นสุด
ยาวเหมือน Teddy
สายพันธุ์ใหม่สุด มีขายแต่ไม่มากเท่า Teddy
 
** หมายเหตุ กระต่ายที่ขนฟูเหล่านี้ การผสมพันธุ์ที่ค่อนข้างเปะปะตอนเล็กจะดูแยกกันออกยาก คนขายส่วนใหญ่ มักจะตั้งราคาโดยดูจากฟอร์ม กระต่ายหากกระต่ายขนฟูหน้าฟูมากๆ ในตอนเด็ก และหน้าไม่แหลม ก็จะขายในราคาที่สูงกว่านอกเสียจากเราจะรู้ ว่าพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์เป็นพันธุ์อะไรเราจึงจะได้ลูกค่อนข้างที่เป็นตามนั้น ราคาส่วนใหญ่ จะอยู่ที่ 150-800 บาทขึ้นกับความสวย การซื้อกระต่ายเหล่านี้ บางครั้งเลี้ยงๆไปอาจจะไม่สวยอย่างที่เราหวังไว้ก็มี ทั้งนี้จะเห็นฟอร์มว่าสวยหรือไม่ก็เมื่อประมาณ 2 เดือนขึ้นไป เวลาเลือกกระต่ายขนฟูเหล่านี้ ให้พยายามเลือกที่ หน้าทู่ขนที่หน้าและตัวฟูให้มากที่สุด และหูสั้นๆ พยายามดูที่ฟอร์มสวยๆ ค่ะคงจะพอช่วยได้บ้าง แต่ย้ำอีกที ว่ากระต่ายเด็กนั้นดูยากค่ะว่าเป็นพันธุ์อะไร


Netherland dwarfมักจะเรียกว่า เป็นอัญมณีแห่งกระต่ายเลยเชียวหละค่ะ

ลักษณะของเค้าคือเค้าจะตัวเล็กที่สุดในบรรดากระต่ายทั้งหมดที่ได้รับรองสายพันธุ์จาก ARBA และ ตัวจะกลมป้อม หน้าตาดูไปดูมาเมือนแมวอ้วนๆ (ดูแล้วคล้ายชิลชีล่าที่ไม่มีพวงหาง) เพราะว่าหูจะสั้นไม่เหมือนกระต่าย และ ส่วนหัวจะกลมสั้นไม่ว่าจะมองจากมุมไหนก็จะกลมไปหมดทั้งหัวมีแก้มอีกต่างหากแถมส่วนคอจะสั้นเหมือนเอาหัวไปแปะไว้กับตัวไม่มีคอยังไงยังงั้น ตัวกลมมนเรียบตัวเล็กกว่าพันธุ์อื่นๆ
ดูยังไงว่าสวยไม่สวย

มีรายละเอียดอยู่ที่เว็บนี้ค่ะhttp://www.islandgems.net/dwarfparts.html คลิ๊กเข้าไปดูนะคะ
เค้าจะเปรียบเทียบให้ดูค่ะ ว่าแบบไหนเรียกว่า สวยแบบไหนไม่สวย เช่น หูควรจะตั้งตรงสั้นกลม ไม่โย้หน้าโย้หลังอยู่ในแนวเดียวกันกับขาหน้า เมื่อกระต่ายอยู่ในท่ายืน หัวควรจะกลมตั้งตรงและติดกับตัว ขนหนา แบบในรูปแรก ซึ่งหากใครอ่านภาษาอังกฤษไม่ค่อยเก่งก็ไม่เป็นไรค่ะ คลิ๊กเข้าไปดูเลย รูปแรกสุดของแต่ละตารางคือลักษณะที่สวยค่ะรูปอื่นๆในตารางเดียวกัน คือลักษณะไม่สวยที่เอามาเปรียบเทียบให้ดู

สีของ Netherland Dwarf

สีของ Netherland Dwarf มีหลายสีค่ะสีที่ได้รับการยอมรับจาก ARBA จะมีทั้งหมด 35 สีค่ะ เพื่อนๆสามารถจะคลิ๊กเข้าไปดูสี ได้ที่ URL นี้http://www.islandgems.net/compatible-colors.html

ในเว็บที่บอกจะมีสีของ Netherland Dwarf มีรหัสยีนส์ และ สีขนสีตาแสดงให้ดูอย่างชัดเจนอย่างเช่น กระต่ายตัวแรกสุด เค้าก็จะบอกว่า สี Ruby Eyed White นั้น ลักษณะที่ดีคือสีขาวไปหมดทั้งตัว ตาสีแดง แต่ถ้าหากว่า มีส่วนที่ไม่ใช่สีขาวปนมาหรือขนเปื้อนเป็นสีเหลืองๆ เนี่ยก็จะทำให้เป็นข้อด้อยไป เป็นต้น ลองคลิ๊กเข้าไปดูนะคะดีมากๆเลย
น้ำหนักเมื่อโตเต็มที่ 0.9-1.1 กิโลกรัม



ประวัติคร่าวๆ
เชื่อกันว่า กระต่ายพันธุ์นี้ ผสมขึ้นมาได้จากความบังเอิญ เนื่องจากมีคนนำ Polish มาผสมกับกระต่ายป่าตัวเล็กใน Netherland ในช่วงคศ 1940 และต่อมาในปี 1969 ทาง ARBA ได้ยอมรับ Netherland dwarf จัดเข้าเป็นสายพันธุ์หนึ่งในสายพันธุ์แท้

เรื่องยีนส์แคระ (Dwarf Gene)
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกันกับ gene หรือรหัสพันธุกรรมกันก่อนนะคะ
การที่ Netherland dwarf มีขนาดแคระ ตัวเล็กนั้น เป็นเพราะว่าเค้ายีนส์พิเศษที่เรียกว่ายีนส์แคระหรือ "Dwarf gene” (ย่อว่าDw) อยู่ ซึ่งยีนส์นี้คือยีนส์ด้อยทำให้มีลักษณะเล็กแคระผิดกระต่ายทั่วไป ซึ่ง ส่วนยีนส์ของกระต่ายขนาดปกติแทนด้วย dw แทนยีนส์เด่นที่ไม่มีปัญหา
ขออธิบายแยกเป็นข้อๆ คือ
1.
กระต่ายขนาดไม่แคระจะไม่มียีนส์แคระอยู่ เวลาเขียนเป็นรหัสยีนส์จะเขียนเป็น dwdw
2.
กระต่ายแคระจะมียีนส์ธรรมดา จับคู่กับยีนส์แคระเวลาเขียนเป็นรหัสยีนส์จะเป็นDwdw อย่าง Netherland Dwarf ที่เราเห็นลักษณะเล็กตามมาตรฐานเนี่ย เพราะว่าเค้ามียีนส์แคระ คือ Dw ปนอยู่นั่นเอง
3.
กระต่ายที่แคระแกร็นผิดปกติ เรียกว่า peanut เวลาเขียนจะเป็นรหัสยีนส์DwDw เพราะว่า ยีนส์แคระเป็นยีนส์ด้อย หากมาเข้าคู่กันเมื่อไร จะเกิดความผิดปกติขึ้น

ี้เพื่อให้เข้าใจง่ายขอแทน Dwด้วยวงกลมเขียว
และdw ด้วย วงกลมใหญ่สีเงิน

สิ่งเหล่านี้สามารถจะอธิบายได้ด้วยหลักพันธุกรรม ของ เมนเดลค่ะ (หลับตานึกถึงวิชาชีววิทยา ที่แสนเกลียด กันออกไหมเอ่ย) เพราะว่าเวลาเอากระต่ายมาจับคู่กัน กระต่ายจะได้ยีนส์ตัวนึงมาจากแม่และยีนส์อีกตัวมาจากพ่อ

ดังนั้น กรณีที่เอากระต่ายแคระทั้งคู่ มาจับคู่กัน
จะได้ลูกที่เป็น peanut ออกมาค่ะดังภาพ


จะเห็นว่า มีโอกาสได้ลูกที่เป็นกระต่ายผิดปกติ(peanut) 25% กระต่ายแคระ 50% และกระต่ายขนาดธรรมดา 25% พูดง่ายๆ ว่ามีโอกาสได้ลูกผิดปกติถึง 1 ใน 4 เลยทีเดียว

ดังนั้น กรณีที่เอา กระต่ายแคระและไม่แคระ มาจับคู่กัน
จะได้ทำให้ลูกที่ออกมาไม่มีลูกที่ผิดปกติเลยดังภาพ


จะเห็นว่า มีโอกาสได้ลูกที่เป็นกระต่ายกระต่ายแคระ 50% และกระต่ายไม่แคระ 50% แต่ไม่มี peanut เห็นไหมคะว่าเราสามารถจะเลี่ยงการได้ลูกที่ผิดปกติได้ แล้วยังได้กระต่ายที่แคระในอัตราไม่ต่างจากแบบแรก โดยการไม่เอากระต่ายแคระ มาผสมกัน

เรื่องของ Peanut ความผิดปกติใน netherland dwarf
ใครอยากจะรู้ว่าลักษณะที่เรียกว่า Peanut เนี่ยเป็นยังไงคลิ๊กเข้าไปดูได้ที่นี่เลยค่ะ
http://www.islandgems.net/peanuts.html


ดูรูปขวามือในหน้าเว็บนั้นนะคะ นั่นหละ Peanut ตัวที่อยู่บนมือนั่นหละค่ะ
ซึ่งเค้าจะบอกว่า peanut จะมีขนาดประมาณแค่ครึ่งหนึ่งของ dwarf ค่ะ นอกจากตัวเล็กแล้ว ส่วนสะโพกและขาหลัง จะแกร็นอีกด้วยส่วนใหญ่เลี้ยงไม่รอดค่ะ มักอยู่ได้ไม่นาน เพราะว่า นอกจากจะแย่งอาหารไม่ทันแล้วร่างกายเค้ายังผิดปกติอีกด้วย
เพื่อนๆ หลายๆ คนคงจะรู้จักกระต่ายพันธุ์ โปลิส กันแล้ว อ่านแล้วชื่อเหมือนตำรวจเลยเนอะ แต่จริงๆแล้ว ไม่ได้หมายถึงตำรวจหรอกค่ะแต่ชื่อเค้ามาจากคำว่า polished ซึ่งแปลว่า เป็นเงา เนื่องจากขนของเค้าค่ะจะเรียบเงา นั่นเอง กระต่ายพันธุ์เนี้ย ขนไม่ยาวค่ะ ตัวจะกลมป้อมน่ารักเลี้ยงแล้วตัวไม่ใหญ่อีกด้วย เหมาะกับคนที่ไม่ชอบที่จะคอยดูแลหวีขนกระต่าย

มาดูลักษณะกระต่ายพันธุ์ Polish กันดีกว่า

(Photo Credit: http://home.att.net/~polish/index.html)

มีต้นกำเนิดที่เบลเยี่ยมและได้นำเข้าไปที่ อังกฤษ ในปี 1884 เป็นกระต่ายเล็ก ที่มีหูสั้น และ ปลายหูชนกันเพราะขนาดที่เล็กและลักษณะใกล้เคียงกับ Netherland Dwarf จึงมีหลายๆคนสับสนกับ Netherland Dwarf แต่จริงๆ แล้ว เค้าจะใหญ่กว่า Netherland Dwarf เล็กน้อย และหัวไม่กลมมนเหมือน Netherland Dwarf

น้ำหนักประมาณ 1.4 to 1.8 กิโลหรัม

กระต่าย โปลิส ที่ว่าสวยเนี่ย
1. หูค่ะ ต้องสั้นน่ารักปลายหูควรจะชนกัน ความยาวของหูต้องไม่เกิน 3 นิ้วค่ะ
2.
ลักษณะใบหู ถ้าจะให้สวยเนี่ย ลักษณะหูทั้ง 2 ข้างอยู่ชนแนบติดกันและตั้งตรงไม่เอียงเข้า เอียงออกนะคะ ขนสั้นหนา
3.
ตาควรจะกลมโต

ขนของ Polish จะเป็นดูเรียบเป็นเงา หน้าจะดูไม่กลมแบนเหมือนกับ Netherland Dwarf ค่ะและเมื่อมองจากด้านข้าง กระโหลก จะมีส่วนโค้งเล็กน้อย จากหูถึงจมูกหูควรจะยาวไม่เกิน 3 นิ้ว โครงควรจะแน่น และ เมื่อยืนโดยวางขาหน้า และขาหลังราบกับพื้นแล้ว สะโพกจะกว้างกว่าไหล่เล็กน้อย เส้นแนวตัวจะเริ่มจากส่วนหูค่ะไล่สูงขึ้นไปถึงดังภาพข้างบน

ส่วนเว็บนี้ แนะนำค่ะ ขอบอกเป็นวิธีดูว่า Polish ที่สวยเนี่ย มันต้องเป็นยังไง
http://home.att.net/~polish/learn/judging.html
ลองคลิ๊กเข้าไปดูนะคะ เค้าจะบอกเลย ว่า ลักษณะไหนสวย เช่นหน้าควรจะสั้นหรือยาวแค่ไหน ตาห่างแค่ไหนดี หูต้องติดกันยังไง ยาวแค่ไหน เป็นต้นเป็นภาพวาดประกอบเข้าใจง่าย


สีของ Polish ที่เป็นที่ยอมรับของสถาบัน ARBA
ก็คือ สี Black, Blue, Broken, Chocolate, Blue eyed White และ Albino ค่ะ เข้าไปดูได้ที่นี่ค่ะhttp://home.att.net/~polish/learn/pictures.html
หากใครสนใจอยากรู้เรื่อง กระต่ายพันธุ์ โปลิส มากกว่านี้เข้าไปดูได้ที่นี่เลยค่ะ

กระต่ายพันธุ์ Lion Head หรือที่คนไทยเรานิยมเรียกสั้นๆ ว่า Lion ว่ากันว่าเกิดจากการผสมข้ามพันธุ์ค่ะ ซึ่งกระต่ายพันธุ์นี้ พบอยู่ทั่วไปในบ้านเราแต่ว่า ยังไม่ได้รับการรับรองเป็นพันธุ์มาตรฐาน ใน European
ประวัติของ Lion Head คือ มีการนำเข้ามายังประเทศอังกฤษเมื่อปลายปี 1995 และได้รับการบอกเล่า ว่า เกิดจากการผสมข้ามพันธุ์ ระหว่าง Swiss Fox และ Netherland Dwarf บ้างก็บอกว่า มาจากการผสมกับ แองโกล่ามา

หลังจากไม่ได้รับการยอมรับต่อมาได้มีการพยายามจัดตั้งชมรม สำหรับ Lion Head ขั้นในประเทศอังกฤษ ในปี คศ 1996 โดยชั้นชื่อว่า"The National Lionhead Rabbit Club" มีชื่อย่อว่า NALRC และในภายหลังก็มีสมาคมเพิ่มขึ้นในประเทศอเมริกาอีกด้วย ชื่อว่า "North American Lionhead Rabbit Club" โดยก่อตั้งขึ้นในปี 2001 ค่ะ (มีเว็บไซต์ด้วยนะคะเข้าไปดูได้ค่ะที่นี่ค่ะ)
ลักษณะของ lion Head ก็คล้ายๆกับชื่อค่ะ คือหัวสิงโต คือเป็นกระต่ายที่ไม่ใหญ่มาก มีขนยาวแค่บริเวณหัวเท่านั้น (เหมือนสิงโต)มีแผงคอยาวออกมาแบบสิงโต ตามตัวห้ามมีขนยาวปุยเป็นกระโปรงขนที่ตัวจะค่อนข้างเรียบ


มีรูปกระต่ายไลอ้อนเต็มเลยค่ะ เพื่อนๆสามารถจะเข้าไปดูได้อย่างจุใจเลยค่ะ ที่นี่ค่ะ

ลักษณะตามมาตรฐานของสมาคม NALRC (North American Lionhead Rabbit Club) คือ
1. ลำตัว จะต้องสั้น กลมป้อม ไหล่และอกควรจะกว้าง ตะโพกต้องกว้าง กลม
2.
หัวต้องใหญ่ ระยะห่างระหว่างตา ต้องกว้าง หัวและตัวควรจะชิดกันไม่เห็นคอ ตาต้องกลมโต
3.
หู ต้องสั้น อยู่บนส่วนบนของหัว ต้องตั้ง และ มีขนปกคลุมหู
4.
แผงคอเป็นขน Wool คือขนปุย และแผงคอต้องเด่น ทั้งด้านบน และด้านข้างหูต้องมีความยาวของแผงคออย่างน้อย 2 นิ้ว แผงคอต้องเป็นแผงกลมรอบๆหัวส่วนขนตรงหน้าและตัวจะไม่ใช่ขน Wool เหมือนแผงคอค่ะ
ขนาดเมื่อโตเต็มที่จะประมาณ 2 กิโลกรัมค่ะ
แต่ว่ากระต่ายพันธุ์ ไลอ้อน ที่ผสมได้ในเมืองไทยนี้บางตัวเมื่อโตขึ้นมาแล้ว แผงคอไม่ออกก็มีค่ะ หรือบางตัวก็แผงคอไม่ได้รูปสั้นบ้างยาวบ้าง ก็มีค่ะ
ย้ำอีกครั้งว่าไลออน นั้นไม่ได้ฟูไปหมดทั้งตัวนะคะจะฟูมากๆ ก็ตรงแผงคอแต่หากเพื่อนๆต้องการกระต่ายที่ฟูไปหมดทั้งตัว ก็ควรจะเป็นพันธุ์อื่น เช่น เท็ดดี้แบร์ค่ะ

ใครที่นิยมไลอ้อนก็เข้าไปศึกษาเพิ่มเติมได้จาก 2 links นี้ค่ะ
 
กระต่ายแองโกล่านั้น มีทั้งหมด 4 ชนิดค่ะได้แก่
1.English Angora
2. French Angora
3. Giant Angora
4. Satin Angora

:
ซึ่งพันธุ์ดั้งเดิมก็คือ English และ French Angora ค่ะต่อมาจึงประกาศ Giant และ Satin เพิ่มเข้ามาในปลายคศ 1980 ค่ะ

ลักษณะของแองโกล่า ที่แตกต่างจากพันธุ์อื่นคือ ขนฟูค่ะ และปุยพองเราเรียกขนแบบนี้ว่า Wool ค่ะ
มาดูแต่ละแบบกันดีกว่าเนอะ
1. English Angora


Image Credit: http://home.pacbell.net/bettychu/2003allbreedbisris/BIS.html

พันธุ์นี้จะหน้าตาน่ารักค่ะขนแบบWool นี่จะปุยฟู หนา ปกคลุมไปจนถึงหูเลยหละ ตรงหูจะเห็นเป็นพู่ๆและขนจะคลุมไปขนถึงหน้า และเท้า ซึ่งขนส่วนใหญ่จนนุ่มละเอียดเหมือนไหมและต้องอาศัยการดูแลมากเป็นพิเศษ นอกจากนี้ English Angora นี้จะมีขนาดเล็กกว่าเพื่อนค่ะ โตเต็มที่จะหนักแค่ 2.3-3.2 กิโลกรัม


2. French Angora


พันธุ์นี้ จะดูไม่น่ารักเท่ากับ English Angora ค่ะ เพราะว่า หน้าและหูจะไม่ปุยหน้าตาจะเหมือนกระต่ายทั่วไป แต่ว่าจะปุยที่ตัวค่ะ ส่วนขนWool จะมีขนที่ละเอียดน้อยกว่า English Angora ความยาวตัวจะปานกลาง และเป็นทรงวงรีค่ะเมื่อโตเต็มที่จะหนัก 3.4-4.8 กิโลกรัม
3. Ginat Angora
จะเป็นเป็นสีขาวค่ะ โตเต็มที่จะหนัก 3.9 กิโลกรัม

4. The Satin Angora
ขนจะเงา ลักษณะส่วนใหญ่จะไปทาง French Angora ขนจะนุ่มเงาสวย เมื่อโตเต็มที่จะหนัก 3-4.3 กิโลกรัม
นี่คือตัวอย่างขนค่ะ


ส่วนภาพขวามือนี้ คือภาพเปรียบเทียบระหว่าง French Angora และ Angora Satin จะเห็นว่า ตัวขวาจะเงากว่าค่ะ

(Image Credit: http://homepage.sunrise.ch/homepage/pglaus/satinange.htm)

กระต่ายพันธุ์ Dutch นี้ ว่ากันว่า มีมานานมาก ต้นกำเนิดเค้าอยู่ที่ ฮอลแลนด์ค่ะแต่มาฮิตกันที่อังกฤษ ที่นิยมชมชอบกันก็คือ มาร์คกิ้งค่ะ คือลายค่ะจะต้องตรงตามมาตรฐานค่ะ

การเลือก ถ้าจะให้สวยล่ะก็ สีต้องตัดกันเป๊ะๆค่ะระหว่างสีขาวกับสีลาย ตัดกันเป็นเส้นชัดเจน แก้มต้องไม่ตอบ

Halland Lop กับ Mini Lop และ French Lop



ลอปทั้ง 3 พันธุ์นี้ จะหน้าตาคล้ายกันเลยค่ะ แต่ที่จะแตกต่างกันชัดๆก็คือขนาดตัวเมื่อโตเต็มที่ค่ะ โดยที่ Holland Lop จะเป็นลอปที่มีขนาดเล็กที่สุดค่ะใหญ่ขึ้นมานิดก็คือ Mini Lop และ French Lop นี่จะใหญ่กว่าเพื่อน



ทีนี้มาดูขนาดเมื่อโตเต็มที่กันดีกว่าเนอะ
-
Holland Lopเมื่อโตเต็มที่ จะมีขนาดประมาณ 1.8 กิโลกรัม ตัวจะเล็กสุดค่ะและหน้าจะกลมกว่า หูสั้นกว่า
-
Mini Lopเมื่อโตเต็มที่จะมีขนาด 2-3 กิโลกรัม
-
French Lopเมื่อโตเต็มที่ จะมีขนาด 4.5 กิโลกรัม ขึ้นไป



แต่ก็ไม่รู้ค่ะ ว่าใครเป็นคนนิยามชื่อเลยทำให้คนเข้าใจผิดสับสนกันไปหมด เนื่องจาก ชื่อว่า "Mini" ที่แปลว่าเล็กคนเลยชอบคิดว่า ลอป ที่เล็กสุด น่าจะหมายถึง Mini Lop แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่เลยค่ะ

ที่เห็นในเมืองไทยส่วนใหญ่ก็เป็นมินิลอป กับ ฮอลแลนด์ลอปค่ะ

Fuzzy Lop หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าแองโกล่าลอป


ลักษณะก็คือกระต่ายหูตก ที่ขนปุยฟู นั่นเองค่ะ

ว่ากันว่า Fuzzy Lop นี้เกิดจากการผสม ระหว่าง Halland Lops กับ Angora ค่ะ แต่บางตำราบอกว่าจริงๆแล้วเกิดจาก Halland Lop เพียงอย่างเดียวค่ะ จนกระทั่งสายเลือดนิ่งและได้รับการประกาศเป็นมาตรฐานโดย ARBA ในปีคศ 1988

การเลือก ควรเลือกที่โครงหัวใหญ่ๆ หูจะต้องมีขนปกคลุม ขนควรจะยาวมากกว่า 2 นิ้วค่ะ

English Lop



เป็นกระต่ายลอปที่เท่ห์สุดๆ นอกจากหูจะตกแล้ว ยังใบหูยาวและใหญ่มองแล้วทำให้นึกถึง โลโก้ของรองเท้า ฮัทพัพพี้ เลยทีเดียว เมื่อโตเต็มที่จะหนักประมาณ 5-5.5 กิโลกรัมเลยทีเดียวค่ะ จัดเป็นกระต่ายขนาดใหญ่ค่ะ
English
นี้ยังไม่เคยเห็นมีขายในเมืองไทยเลยหละ :(
 
เห็นถามกันเข้ามาว่า lop หรือกระต่ายหูตกก่อนหน้านี้ ยังไม่จุใจ ก็จะดูยังไงดีถึงจะบอกว่า สวย หรือไม่สวย ใช่ไหม สำหรับ กระต่ายลอป แต่ละอันวันนี้จะมาเล่าให้ฟังเป็นตัวๆเลยค่ะ โดยเน้นเฉพาะ Holland Lop และ Mini Lop เพราะคนค่อนข้างสับสน


Halland Lop


(Photo Credit To: http://animal-world.com/encyclo/critters/rabbits/hollandlop.php)

ลักษณะ

ขอเริ่มจากตัวนี้ก่อนเลยละกันนะคะ Halland Lop เป็น กระต่ายลอปที่ตัวเล็กที่สุดในบรรดาลอปทั้งหมด จะตัวเล็กที่สุดหน้าสวยที่สุด หน้าจะป้านกว่า ลอปพันธุ์อื่นๆ และที่สำคัญ ฮอลแลนด์ลอปนั้นหูจะต้องไม่ยาวมากค่ะ หากวัดจากเส้นขากรรไกรลงมาแล้วไม่ควรยาวเกิน 1 นิ้วค่ะและขนยาวไม่เกิน 1 นิ้ว อุปนิสัยจะขี้เล่นค่ะ ขนาด 1.4 กิโลกรัม ถึง 1.8 กิโลกรัม

สีของ Holland Lop
เพื่อนๆ สามารถจะเข้าไปดูสีของ Holland Lop ได้ที่ URL นี้ค่ะ เค้ามีรูปและรหัสพันธุกรรม ของสีแสดงไว้อย่างชัดเจนค่ะ Click ที่ URL นี้ค่ะhttp://www.mysticalmistminiatures.com/genetics.html
โดยรูปที่เค้าเอามีทั้ง holland lop และ Fuzzy lop (คือ lop ขนยาว) มาแสดง เค้าจะแสดงอย่างชัดเจนเลยคลิ๊กเข้าไปดูนะคะ ดีมากๆ


ดูยังไงว่าสวยไหม

ทีนี้ดูทฤษฎีกันมาแล้ว มาดูเว็บต่างประเทศที่นี่ดีกว่าค่ะเค้าบอกเลยว่าสวย หรือไม่สวย จะดูยังไง คลิ๊กเข้าไปที่ URLข้างล่างกันเลยนะคะแยกวิเคราะห์กันเป็นส่วนๆเลย

1.
ลำตัวค่ะ คือไหล่และอกควรจะกว้างแน่นและไหล่เทียบกันช่วงตะโพกควรจะได้ทรงไม่ป้าน
คลิ๊ก URL นี้ค่ะhttp://www.geocities.com/hollandstandard/body.html

2.
ส่วนหัว คือ ดูที่ URL นี้เลยhttp://www.geocities.com/hollandstandard/head.html
พูดง่ายๆคือหน้าจะต้องป้าน แก้มป่อง หากลากเส้นระหว่างตา และ จมูกเป็นรูป 3 เหลี่ยมควรจะได้เป็นรูปสามเหลี่ยมกลับหัว ซึ่งระยะของฐานสามเหลี่ยม(ระยะของ ตา 2 ข้าง)ควรจะกว้างกว่าระยะจากตามาจมูก หรืออย่างน้อยก็ควรจะเท่ากันพูดง่ายๆคือหน้ายิ่งสั้น ยิ่งป้านยิ่งสวย และระยะห่างระหว่างตาควรจะเท่ากับระยะระหว่างจมูกถึงหัว

3.
ส่วนหู ดูที่นี่ค่ะhttp://www.geocities.com/hollandstandard/ears.html
หูจะต้องตกข้างแก้มเลยไม่ใช่กางเป็นปีกแมงปอ หรือว่า ตั้งข้างตกข้าง หูจะต้องกว้างกลม แล้วก็ยาวไม่เกิน 1 นิ้วจากแนวขากรรไกร เค้าจะอธิบายไว้อย่างชัดเจนเลย เว็บนี้ดีมาก

4.
ส่วนของ Crown หรือพู่ขนบนหัว Halland lop จะไม่ได้มีพู่ขนที่หัวยาวเป็นไลอ้อนหรอกนะคะและแนวจะอยู่แนวตา กับด้านหลังตาค่ะ ลองเข้าไปดูที่ URL นี้นะคะhttp://www.geocities.com/hollandstandard/crown.html

5.
ส่วนของขาหน้า ควรจะตรงค่ะ และหนา ลองเข้าไปดู URL นี้http://www.geocities.com/hollandstandard/bone.html


Minilop

ส่วนใหญ่ที่ขายกันอยู่ในบ้านเรา จะเป็น Mini lop ค่ะ อันที่จริง mini lop จัดอยู่ในกระต่ายขนาดกลางค่ะ สังเกตง่ายๆว่าหูจะไม่สั้นเหมือน Holland Lop และ หน้าจะไม่ป้านเท่าบางตัวหน้าออกแหลมด้วยซ้ำไป และ โตเต็มที่แล้วตัวจะใหญ่กว่า ส่วนใหญ่แล้วตอนเล็กๆหน้าตาจะดูสั้นค่ะ แต่เลี้ยงไปนานเข้าหน้าจะแหลมขึ้น อย่างเจ้าตัวเล็กในรูปด้านล่างเมื่อโตขึ้น หน้าจะไม่กลมแล้วค่ะ จะยาวขึ้นทำให้ส่วนที่ดูเหมือนแก้มหายไป (รูปนี้ถ่ายตอนเด็ก) เช่นเดียวกันค่ะ

ลักษณะที่สวยนั้นหูต้องตกลงข้างแก้มค่ะ ไม่ใช่กางเป็นปีแมงปอ หรือตั้งข้างตกข้าง เมื่อโตเต็มที่ น้ำหนักประมาณ 2-3 กิโลกรัม มีคนบอกว่า Mini lop ฉลาดค่ะ

สีของ Minilop
เข้าไปดูได้จากเว็บต่างประเทศจาก URL นี้ค่ะhttp://www.miniloprabbit.com/images/gallery/index.php?cat=2
และที่นี่ค่ะhttp://www.rossrabbits.freewire.co.uk/colours.htm

สีของ Lop ทั้งหลาย
หากใครยังไม่จุใจ มีอีกเว็บค่ะ ลองเข้าไปดูได้มีสีค่อนข้างละเอียดเลยหละแยกเป็นกลุ่มๆ

1.
กลุ่มสี Aguti กลุ่มนี้จะเป็น ยีนส์เด่น
(
คลิ๊ก URL: http://www.geocities.com/hoppinherdofhares2003/Agouti.html)

2.
กลุ่ม Broken
(
คลิ๊ก URL: http://www.geocities.com/hoppinherdofhares2003/Broken.html)

3.
กลุ่ม Self กลุ่มนี้เป็น ยีนส์ด้อยค่ะ
(
คลิ๊ก URL: http://www.geocities.com/hoppinherdofhares2003/Self.html)
4. กลุ่ม point
(
คลิ๊ก URL: http://www.geocities.com/hoppinherdofhares2003/PointedWhite.html)
5. กลุ่ม Shaded
(
คลิ๊ก URL: http://www.geocities.com/hoppinherdofhares2003/Shaded.html)

6.
กลุ่ม Ticked
(
คลิ๊ก URL: http://www.geocities.com/hoppinherdofhares2003/Ticked.html)
7. กลุ่ม Wide Band
(
คลิ๊ก URL: http://www.geocities.com/hoppinherdofhares2003/WideBand.html)

8.
และกลุ่มสีอื่นๆที่ยังไม่ได้รับการยอมรับจาก ARBA ค่ะ
(
คลิ๊ก URL: http://www.geocities.com/hoppinherdofhares2003/Nonrecognized.html)

ข้อควรระวังในการเลือกซือ้ lop

เพราะว่า ลอป คือกระต่ายหูตก แต่ว่าเนื่องจากลอปให้ลูกไม่เยอะทำให้บางคนเอาลอปมาผสมกับกระต่ายหูตั้ง และ บางส่วนได้ลดต้นทุนโดยเอากระต่าย ธรรมดามาผสมกับ ลอป เพราะว่า ลอปมีราคาแพง หากได้ลูกหูตั้งก็ขายเป็นกระต่ายธรรมดาหูตกก็มาขายเป็น ลอป เป็นต้น การผสมแบบนี้ไม่ดีค่ะทำให้รุ่นลูกรุ่นหลานที่ออกมามั่วค่ะ กระต่ายบางตัวออกมาหูตั้งข้างตกข้างหรือไม่ก็ไม่ยอมตก เป็นต้น
และทำให้ผู้เลี้ยงบางคนที่ซื้อกระต่ายหูตก ไปเลี้ยงกลับได้กระต่ายหูตกที่มีลักษณะหูตั้งแฝงอยู่ในตัว พอเค้าเอามาผสมกับลอปด้วยกันแทนทีจะได้ลูกหูตก กลับอาจจะออกลูกมาหูตั้งก็ได้
มาดูลักษณะกระต่ายพันธุ์ Rex กันดีกว่า


กระต่ายพันธุ์ Rex นั้นไม่เหมือนพันธุ์อื่นๆ เค้าจะมีเสน่ห์ตรงเส้นขนนี่หละค่ะ เส้นขนกระต่าย Rex นั้นใครได้สัมผัส รับรองเลยจะต้องประทับใจ เส้นขนจะหนาแน่นนุ่มเหมือนกับเราเอามือไปลูบบนผ้ากำมะหยี่ ยังไงยังงั้นเลยล่ะค่ะ ขนเค้าจะตั้งขึ้นสั้นเตียนแน่น ความยาวขนควรจะประมาณ 5/8 นิ้ว ลูบแล้วจะนุ่มมือมาก
แม้ว่าหน้าตาจะไม่น่ารัก เพราะว่า หน้าจะแหลมๆจรวดๆ หูตั้งค่ะ แต่ว่าลองได้สัมผัสขนกำมะหยี่นุ่มๆ แล้วจะชอบค่ะ
แต่ว่า กระต่ายพันธุ์ Rex ที่เห็นขายอยู่ทั่วไปนั้น ก็มีทั้ง Rex แท้ๆและ Rex ลูกผสมค่ะ ที่เรียกว่า ลูกผสมก็เพราะว่า คนไทยหัวหมอ นำเอามาผสมกับกระต่ายไทย (อีกแล้ว - -") เพื่อลดต้นทุนนั่นเอง

แต่ว่าลักษณะของกระต่ายผสมและกระต่ายที่เป็น Rex แท้ๆนั้น ตอนเล็กจะดูยากเหมือนกันแต่ยิ่งโตจะยิ่งเห็นความแตกต่างได้ชัดเจนขึ้น เพราะว่าขนกระต่ายผสมจะไม่เป็นกำมะหยี่แน่นเหมือนกระต่าย Rex แท้ๆแล้วราคาก็ต่างกันมากทีเดียว
กระต่าย Rex แท้ๆนั้น จะราคาไม่ต่ำกว่า 1,000 บาท ส่วนกระต่าย Rex ที่ผสมกับกระต่ายไทยมาขายนั้น ราคาจะอยู่ที่ 100-200 บาทก็มีค่ะ
ประวัติของกระต่าย Rex
กระต่ายพันธุ์ Rex นั้นเกิดจากการกลายพันธุ์ โดย Rex ที่พบครั้งแรกนั้นเป็นลูกของกระต่ายป่า ในประเทศ ฝรั่งเศส โดยพบในปี คศ 1919 แล้วต่อมาก็มีการพบกระต่าย Rex อีกตัวที่เป็นเพศตรงข้ามกับที่พบตัวแรกแล้วทั้งคู่ก็กลายมาเป็น ต้นกำเนิดของ Rex ในปัจจุบันนั่นเอง

คนที่ค้นพบเนี่ยเค้าเป็นชาวนาค่ะ และได้มีบาทหลวง ที่ชือว่า Gillet เป็นคนตั้งชื่อกระต่ายนี้ว่าCastor Rexโดยที่มีความหมายคือ
  • Castor แปลว่า สีเหมือนตัวบีเวอร์
  • ส่วนคำว่า Rex เป็นภาษาละติน หมายถึง พระราชา เชียวนะคะ น่าภูมิใจใช่ม๊า
กระต่าย Rex จึงได้สมญาว่า "King of Rabbit" หรือราชาแห่งกระต่ายเชียวแหละ
ต่อมาในปี 1928 ก็ได้มี Rex สีใหม่ๆเกิดขึ้น และได้เป็นที่ยอมรับใน American Rabbit Breeders
และต่อมาได้มีการพัฒนาให้มีขนาดเล็กลงเป็นพันธุ์ใหม่ เรียกว่า Mini Rex และได้รับการยอมรับจาก ARBA ในปี 1986
เคยมีคนวิจารณ์ว่า Rex เนี่ยเป็นกระต่ายที่ไม่เห็นจะน่าสนใจเลยแถมยังเป็นกระต่ายที่น่าเกลียดอีกต่างหาก เพราะว่า ขนก็สั้น หน้าก็แหลม ตัวก็ยาวขาก็ยาวเบื๊อย ดูไปดูมายังกับจิงโจ้ยังไงยังงั้น
แต่ด้วยเส้นขนที่นุ่มแบบกำมะหยี่ เหมือนในอุดมคติที่หาไม่ได้ในกระต่ายพันธุ์ไหนทำให้ Rex กลายเป็นกระต่าย ในดวงใจของใครหลายคนในเวลาต่อมาและเป็นกระต่ายที่ขายได้ในราคาสูงมากในอดีต จนทำให้หลายๆคนรวยไปเลยก็มี
กระต่าย Rex ที่ลักษณะดีนั้น ขนจะต้องแน่นและนุ่มมากๆและความยาวของขนต้องไม่เกิน 0.5 - 3/4 นิ้ว และขนต้องยาวเท่าเสมอกันทั้งตัวค่ะ
กระต่าย Rex มีกี่แบบ

ชนิด
ขนาด
สี และหน้าตา
Rex
เป็นกระต่ายขนาดกลาง
เพศผู้ : 3.6 กิโลกรัม
เพศเมีย: 4 กิโลกรัม
Mini Rex
เป็นกระต่ายขนาดเล็ก

เพศผู้ : 1.8 กิโลกรัม
เพศเมีย : 2 กิโลกรัม


ตอนนี้ มีคนสามารถผสม Dwarf Rex ออกมาได้แล้วด้วยนะคะแต่ยังไม่ได้รับการรับรองจาก ARBA ค่ะ หากใครสนใจ click ดูได้ที่นี่เลยค่ะ (http://lapinrex.free.fr/dwarf.html)
ขนาดกรงที่เหมาะสมสำหรับกระต่าย
1. Rex กรงควรจะกว้าง 0.3 ตารางเมตร ต่อกระต่าย 1 ตัว และมีความสูงไม่ต่ำกว่า 35 เซนติเมตร
2. Mini Rex กรงควรจะกว้าง 0.2 ตารางเมตร ต่อกระต่าย 1 ตัว และสูงไม่น้อยกว่า 35 เซนติเมตรค่ะ

ข้อควรระวังของกระต่าย Rex และ Mini Rex ก็คือขนที่เท้าเค้าจะไม่ยาวหนา ดังนั้นการเลี้ยงหากเลี้ยงบนกรงที่มีพื่นเป็นซี่ลวดอาจจะเกิดปัญหาที่เรียกว่า Sore hock ได้ มากกว่ากระต่ายทั่วไป คือเท้าจะเจ็บเป็นแผล เนื่องจากน้ำหนักตัวที่กดลงบนซี่ลวดที่เป็นพื้นกรงดังนั้นการเลี้ยงควรจะเลือกกรงพื้นทึบจะเหมาะสมกว่าค่ะ
หลังๆ พบกว่า เพื่อนๆ หลายๆคน เริ่มพบว่า กระต่ายของตัวเองที่ซื้อมา ยังไม่หย่านม
วิธีหลีกเลี่ยงที่ง่ายที่สุดคือ
หากเป็นกระต่ายที่ตัวเล็กๆที่คนขายนำมาจับใส่กรงขนาดเกือบพอดีตัว (กรงเป็นกรง แฮมสเตอร์ที่เป็นลวดหลายๆสี ขอแนะนำว่า อย่าซื้อเด็ดขาด เพราะ 95% คือกระต่ายยังไม่หย่านมค่ะเช่นตามตลาดนัดต่างๆ หรือ หลายๆแหล่ง เช่นในภาพจะเห็นว่ากระต่ายบางตัวขนที่หน้ายังไม่เต็ม อย่างเช่นกระต่ายตัวแรกจะ เห็นชัดมากว่ายังเด็กเกินไป (ภาพเหล่านี้ เป็นภาพแอบถ่ายมาจากร้านค้าจริงๆ)



จะเห็นว่า ลูกกระต่ายเหล่านี้ จะไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม เช่นกรงที่เลี้ยงอยู่คับแคบ ไม่มีอาหารในกรง ไม่มีน้ำให้กินและลูกกระต่ายโดนพรากจากแม่มา ทั้งๆที่ยังไม่ถึงวัยหย่านมและเมื่อมาถึงมือผู้เลี้ยง ลูกกระต่ายก็จะอ่อนแอ เครียด และมักจะตาย
ซื้อลูกกระต่ายที่ถูกนำมาขายแบบนี้จะเป็นการส่งเสริมให้ลูกกระต่ายโดนขายอยู่เช่นเดิม อยากจะรณรงค์ให้เพื่อนๆหยุดซื้อลูกกระต่ายที่ยังไม่หย่านม และหยุดซื้อกระต่ายตามแหล่งที่มีการดูแลกระต่ายอย่างไม่ดีพอเช่นใส่ในกรงคับแคบพอดีตัว ไม่มีน้ำหรืออาหารให้อย่างเหมาะสมค่ะ
หากเราหยุดซื้อ ผู้ขายก็จะต้องหยุดขายไป เช่นกัน มาช่วยกันคนละไม้คนละมือเพื่อช่วยชีวิตลูกกระต่ายเหล่านี้ดีกว่าค่ะ
แต่สำหรับแหล่งอื่นๆที่ไม่ได้ใส่กระต่ายไว้ในกรงแบบนี้ก็ไม่ได้แปลว่าจะไม่ได้เอา ลูกกระต่ายที่ยังไม่หย่านมมาขายนะคะ ต้องศึกษาให้มากๆก่อนซื้อค่ะ
การแยกจากแม่เร็วเกินไป ทำให้ลูกกระต่ายเครียด และ เปราะบาง อ่อนแอ
วิธีดูแล ลูกกระต่ายที่ยังไม่หย่านม
1. ให้ใช้นมสำหรับสัตว์กำพร้า เช่นนมแพะ หรือ Esbilac หรือ KMR (นมสำหรับลูกแมว) หรือหากยังหาได้ไม่ทัน ให้ป้อนนมวัวไปก่อนและรีบหานมแพะ หรือ Esbilac หรือ KMR มาแทนโดยเร็ว และค่อยๆป้อนลูกกระต่ายกระต่ายยังไม่หย่านม ที่นำมาขายกัน น่าจะมีอายุประมาณ 3 สัปดาห์ หรือ 1 เดือนให้ป้อนประมาณ 30 cc ต่อวัน

2. หากมีกระต่ายตัวอื่นที่โตแล้ว ให้เอาอึ กระต่ายที่เรียกว่า cecotropes หรืออึที่ลักษณะเหมือนพวงองุ่น ติดกัน สีออกเขียวขี้ม้าให้เอาอึนี้มาผสมกับนมที่ป้อนลูกกระต่าย เพราะว่า ลูกกระต่ายต้องการ แบคทีเรียที่ใช้ในการย่อยอาหารซึ่งไม่สามารถจะได้รับจากแม่ เนื่องจากแยกจากแม่มาเร็วเกินไป โดยใช้อึ cecotropes แค่ 1 ก้อน สำหรับ 4-5 วัน ซึ่งจำเป็นมากๆ นะคะสำหรับลูกกระต่ายที่โดนแยกออกมาทั้งๆที่ยังไม่หย่านม

3.
สำหรับลูกกระต่ายควรให้หญ้าค่ะ ไม่ว่าจะเป็น หญ้าขน หญ้าอัลฟาฟ่า หรือ ทิโมธี ก็ได้ค่ะและหลีกเลี่ยงผักผลไม้ที่มีน้ำมากๆ เพราะจะทำให้ท้องเสียได้ซึ่งถ้าลูกกระต่ายท้องเสีย ถือว่า อันตรายถึงแก่ชีวิตได้ง่ายมากๆและเมื่อลูกกระต่ายอายุ 6 สัปดาห์จึงค่อยเริ่มหัดให้กินอาหารเม็ด แต่ว่า

ที่สำคัญคือ ระยะการเปลี่ยนมากินอาหารเม็ดนี้เป็นระยะที่เสี่ยงแก่การที่ลูกกระต่ายจะท้องเสีย เป็นอย่างมากจึงควรหมั่นสังเกตตลอดว่า ลูกกระต่ายท้องเสียหรือไม่ที่สำคัญในระยะที่เริ่มสอนให้ลูกกระต่ายกินอาหารเม็ด ห้ามไม่ให้เอาหญ้าออกนะคะเพราะว่า การเปลี่ยนอาหารต้องเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปเพราะระบบย่อยอาหารของลูกกระต่ายจะปรับตัวไม่ทัน และจะทำให้ท้องเสียได้เช่นกันระยะแรกๆ ควรให้อาหารเม็ดแค่น้อยๆ เพื่อบังคับให้ลูกกระต่ายกินหญ้าไปด้วยแล้วค่อยๆเพิ่มทีหลังทีละนิดค่ะ ในระยะนี้ เราควรป้อน cecotropes หรืออึพวงองุ่นให้ลูกกระต่ายด้วยค่ะ เพื่อเสริมแบคทีเรียที่จำเป็นต่อการย่อยค่ะ
4. นอกจากนี้ เราไม่ควรจะพาลูกกระต่ายที่ยังไม่หย่านม เดินทางไปไหน เพราะอาจจะตากแดด ตากลมมากเกินไปค่ะ เพราะเค้ายังอ่อนแอ ไม่ควรพาเดินทางค่ะ
สรุปว่า การเลี้ยงลูกกระต่ายที่ยังไม่หย่านมนั้น จะค่อนข้างลำบาก เพราะว่าลูกกระต่ายเองก็เปราะบาง ไม่แข็งแรง และ เสียชีวิตได้ง่ายค่ะแม้กระทั่งผู้เลี้ยงหลายๆคนที่เก่ง และเลี้ยงกระต่ายมานานยังพบปัญหาจากการที่ลูกกระต่ายท้องเสียตายอยู่บ่อยๆจึงขอรณรงค์ให้เพื่อนๆหยุดซื้อลูกกระต่ายที่ยังไม่หย่านม อีกครั้งค่ะ
เพื่อนๆ อาจจะกลัวว่า น้องต่ายจะเบื่อ ไม่เจริญอาหาร แล้วก็เห็นอาหาร ญี่ห้อต่างๆน่ากินกว่าที่น้องต่ายกำลังกินอยู่ ก็เลยซื้อกลับบ้านมาแล้วก็เปลี่ยนแทนอาหารเก่าซะเลย แต่ผลที่ได้คือ น้องกระต่ายท้องเสีย

ทำไมเปลี่ยนอาหารปุบปับจึงทำให้ท้องเสีย

นั่นแน่เริ่มเกิดคำถามแล้วใช่ไหมเอ่ยว่าทำไมกระต่ายจึงท้องเสียถ้าเปลี่ยนอาหารแบบทันทีทันใดทีคนอย่างเราๆยังไม่เห็นเป็นไรเลย

สาเหตุก็คือระบบย่อยอาหารของกระต่ายไม่เหมือนคนค่ะ เพราะว่าการย่อยอาหารของกระต่ายจะต้องอาศัยแบคทีเรียชนิดที่เป็นตัวพระเอกที่อาศัยอยู่ในระบบย่อยอาหารของกระต่าย มาช่วยย่อยอาหารค่ะแต่การปรับเปลี่ยนอาหารแบบฉับพลัน แบคทีเรียตัวจิ๊ดเดียวก็ปรับตัวไม่ทันเหมือนกันก็เลยทำให้ แบคทีเรียที่ชนิดที่เป็นตัวพระเอกที่ช่วยย่อยเกิดเสียสมดุลย์ขึ้นมาแล้วก็ทำให้แบคทีเรียชนิดที่เป็นฝั่งผู้ร้ายที่เป็นตัวทำให้เกิดโรคเกิดฮึกเหิมขึ้นมา สำแดงเดชเลยทำให้กระต่ายเกิดอาการท้องเสียแบบที่เราเรียกกันน่านหละ

เพราะฉะนั้นการเปลี่ยนอาหารจึงต้องค่อยๆเปลี่ยนค่ะ ให้เวลาแบคทีเรียพระเอกของเราปรับตัวนี๊ดนึงในการค่อยๆเปลี่ยนเอาอาหารใหม่มาแทนที่อาหารเก่าโดยเริ่มต้นก็ให้อาหารเก่าไปก่อนแล้วเอาอาหารใหม่ผสมลงไปแค่นิดเดียวแล้วค่อยๆเพิ่มอัตราส่วนอาหารใหม่เพิ่มขึ้นทีละนิดในมื้อถัดไป จนกระทั่งแทนที่อาหารเก่าด้วยอาหารใหม่ทั้งหมด โดยให้เวลาเค้าปรับตัวอย่างน้อย 1 สัปดาห์ค่ะ
โดยเฉพาะลูกกระต่ายที่เพิ่งซื้อมาหรือเพิ่งหย่านมยิ่งไม่ควรเปลี่ยนอาหารแบบฉับพลัย ควรให้อาหารเก่าไปก่อนซักระยะค่ะแล้วค่อยๆปรับแบบที่กล่าวมา ยิ่งถ้าใครซื้อลูกกระต่ายมาใหม่ๆควรจะถามคนขายว่าเดิมเค้าให้อาหารอะไรอยู่ แล้วก็ซื้ออาหารนั้นติดกลับมาด้วยค่ะเพราะไหนลูกกระต่ายจะเครียดจากการย้ายบ้านใหม่หากเจอเรื่องการเปลี่ยนแปลงอาหารแบบปุบปับอีก จะทำให้ท้องเสียได้ง่ายๆเลยเชียวค่ะแล้วอาการท้องเสียในกระต่ายถือเป็นเรื่องร้ายแรงเลยนะคะ เพราะว่ากระต่ายจะอาการทรุดเพราะ ขาดน้ำ และเสียชีวิตได้เร็วมาก

การให้ผักผลไม้ก็เช่นกัน

ไม่ใช่แค่อาหารค่ะ การให้ผักผลไม้ก็เช่นเดียวกันค่ะ ถ้าลูกกระต่ายยังเล็กในช่วงแรกๆ ยังไม่แนะนำให้ให้ผักและผลไม้ เพราะว่า อาจจะเกิดท้องเสียได้ควรรอให้หญ้าไปก่อน และค่อยๆหัดให้ผักและผลไม้ หลังจากที่ลูกกระต่ายอายุ ประมาณ 3 เดือน โดยการให้ผักผลไม้นั้น ก็ควรจะค่อยๆ ให้แค่ชิ้นเล็กๆ ให้วันละครั้งครั้งละนิด แล้วค่อยๆเพิ่มปริมาณทีละน้อย แบบเดียวกับอาหารเลยค่ะเพื่อให้กระต่ายปรับตัวได้ค่ะ

ทำไมกระต่ายตามธรรมชาติไม่เห็นเป็นไร

ก็เพราะว่า ธรรมชาติไม่เคยเปลี่ยนอาหารกระต่ายแบบฉับพลันค่ะ ธรรมชาติมีฤดูกาลและเมื่อฤดูกาลหนึ่งกำลังเปลี่ยนไป ฤดูกาลใหม่ก็จะค่อยๆเข้ามาแทนที่กระต่ายก็มีเวลาที่จะปรับตัวทีละน้อยๆ ไปตามธรรมชาติ
เรื่องนี้อาจจะเป็นเหมือนเรื่องเล็กๆ ที่หลายๆคนอาจจะมองข้ามแต่ก็เป็นเรื่องสำคัญสำหรับเพื่อนตัวน้อยๆ ของเรา เพราะว่าหากเรารู้จักเค้าดีพอเราก็จะได้สามารถเลี้ยงเค้าให้เติบโตขึ้นมาได้ อย่างถูกต้องมีสุขภาพที่ดี แข็งแรง และอยู่กับเราได้นานๆค่ะ
 

เอาล่ะค่ะ สำหรับเพื่อนๆ ที่ตัดสินใจเรียบร้อยแล้ว ว่าจะเลี้ยงกระต่ายแล้วก็อยากจะเลี้ยงให้ดีที่สุด วันนี้มีข้อมูลมาฝากค่ะ

จะเลือกซื้ออุปกรณ์ต่างๆ อย่างไรดี
1. กรง
อันนี้สำคัญค่ะ การมีกรงที่เหมาะสมก็จะทำให้กระต่ายมีความสุขค่ะ เพราะอย่าลืมว่า กระต่ายส่วนใหญ่จะใช้ชีวิตอยู่ในกรงมากกว่าข้างนอก ดังนั้นกรงควรจะสะอาด ระบายอากาศดี และมีความกว้างขวางเพียงพอค่ะนอกจากนี้เราควรจะเลือกกรงที่เป็นพื้นทึบจะดีกว่าค่ะ เพราะว่า อย่างที่เรารู้กันกระต่ายต้องกินอึบางชนิดกลับเข้าไป (เพราะเป็นสัตว์กินพืช เมื่อกระต่ายกินอาหารเข้าไปซึ่งจะย่อยยาก แบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ตอนต้นของกระต่าย จะทำการผลิตวิตามินที่มีประโยชน์ให้กับกระต่าย ซึ่งสารอาหารที่มีประโยชน์จากแบคทีเรียกนี้บางส่วนจะโดนขับออกมา กับอึของกระต่าย ซึ่งได้แก่ โปรตีน และวิตามิน B ซึ่งบางครั้งกระต่ายจะต้องกินกลับเข้าไปเพื่อรักษาสมดุลย์ธรรมชาติของร่างกายเค้าค่ะ)

หากเราเลี้ยงแบบที่พื้นเป็นซี่กรงอึนี้จะตกลงไประหว่างซี่กรง ทำให้กระต่ายไม่สามารถจะกินได้ค่ะดังนั้นการเลี้ยงในกรงพื้นทึบจะดีกว่าค่ะ

การเลือกกรงที่ดีนั้นกรงควรจะใหญ่กว่าตัวกระต่ายประมาณ 4 เท่า จึงจะดีค่ะ
ขนาดกรงที่เหมาะสมสำหรับกระต่ายเล็กคือประมาณ 25 X 35 นิ้วค่ะ
ส่วนกระต่ายโต ขนาดประมาณ 30 X 35 นิ้วค่ะ เราควรจะเลือกกรงที่ไม่เตี้ยเกินไปเพื่อให้กระต่ายสามารถจะยืน 2 ขาได้



2. กระบอกน้ำจะช่วยให้กระต่ายมีน้ำที่สะอาดกิน เราไม่ควรจะใส่น้ำลงในภาชนะ เพราะว่า เศษอาหารอุจจาระ และผักหญ้า อาจจะตกหล่นลงไปในน้ำ จะทำให้เน่าเสียและทำให้กระต่ายท้องเสียอีกด้วย การเลือกซื้อกระบอกน้ำเราควรจะซื้อกระบอกน้ำอย่างดีไปเลยค่ะ อย่ามัวเสียดาย เพราะว่ากระต่ายตัวนึงมีอายุขัยตั้งเกือบ 10 ปี เราซื้อกระบอกน้ำอย่างดี ใช้นานๆแบบไม่มีปัญหาการรั่วซึม ดีกว่าค่ะ เพราะว่าอากาศบ้านเรานั้น ร้อนมากหากกระบอกน้ำไม่ดี น้ำไม่ไหล อาจจะทำให้กระต่ายตายได้นะคะ


3. ภาชนะใส่อาหารควรเลือกแบบที่เป็นเซรามิกซ์หรือดินเผาจะดีกว่า เพราะว่า คว่ำยาก ค่ะ เวลาน้องกระต่ายหงุดหงิดเค้าไม่สามารถจะเอามาเหวี่ยงหรืองัดให้คว่ำได้ยิ่งถ้าเราเลือกเซรามิกซ์ที่ขอบงุ้มเข้ามาแบบในภาพซ้ายมือจะยิ่งดีค่ะอาหารจะหกยากกว่า ส่วนภาพทางขวามือ ที่เป็นภาชนะพลาสติกจะไม่ดีค่ะ เพราะว่าเบาหากเราแขวนไม่ดี โดนน้องต่ายคว่ำได้ง่ายๆ




4. อาหารปัจจุบันมีอาหารกระต่ายหลายๆแบบขายกันอยู่ทั่วไปทางที่ดีที่สุดเมื่อเราซื้อกระต่ายกลับมาใหม่ๆ เราควรจะถามเจ้าของเดิม (หรือคนขาย)ว่า เดิมกระต่ายกินอาหารอะไรอยู่เมื่อเราเอามาเลี้ยงเราไม่ควรจะเปลี่ยนมาเป็นอาหารชนิดใหม่ในทันที เพราะว่ากระต่ายจะท้องเสียได้การเปลี่ยนอาหารไปเป็นอาหารแบบอื่นๆ นั้นควรจะทำอย่างค่อยเป็นค่อยไปค่ะคือค่อยๆผสมอาหารใหม่เข้ามาในอัตราส่วนน้อยๆแล้วค่อยๆเพิ่มอัตราส่วนขึ้นทีละนิดๆ จนแทนที่อาหารเก่าในที่สุดแต่ทั้งนี้ต้องอาศัยเวลาเพื่อให้กระต่ายปรับตัวค่ะ

อาหารแบบที่ราคาถูก


อาหารแบบต่างประเทศ ราคาจะสูงกว่า



5. หญ้าจำเป็นมากค่ะ สำหรับกระต่ายเพราะว่า มีใยอาหารและช่วยรักษาสมดุลย์ของระบบย่อนอาหาร ของกระต่ายค่ะ สำหรับเพื่อนๆคนไหนที่มีเวลาออกไปตัดหญ้าเอง เราก็สามารถจะเก็บหญ้าขนได้ทั่วไปค่ะหาได้ตามแหล่งรกร้างข้างทาง โดยเฉพาะชานเมือง(การตัดหญ้าควรจะเลือกหญ้าที่สะอาดไม่ปนเปื้อนสารเคมี หรือ ยาฆ่าแมลงนะคะไม่มีราขึ้น)

แต่หากเพื่อนๆท่านใดไม่สามารถจะไปหาเองได้ก็อาจจะซื้อหญ้าแห้งสำเร็จรูปก็ได้ค่ะ
อันนี้ภาพหญ้าขนค่ะ หาได้ทั่วไป ไม่ต้องเสียเงินซื้อ
หญ้าชนิดนี้ คือ อัลฟาฟ่า ค่ะ ไม่มีแหล่งกำเนิดในเมืองไทย นำเข้ามาจึงมีราคาสูง
แตกต่างจากหญ้าอื่นๆ ตรงที่ มีจะมีโปรตีน และ แคลเซี่ยมสูงที่สุดเหมาะสำหรับกระต่ายที่กำลังเจริญเติบโต ที่อายุไม่ถึง 1 ปีหรือกระต่ายที่กำลังอุ้มท้องค่ะส่วนกระต่ายโตแล้วไม่จำเป็นต้องให้มากค่ะ
อันนี้ หญ้า Timothty
อันนี้หญ้า Hay
อันนี้ หญ้า แพงโกล่า
6. รางใส่หญ้าควรจะมีค่ะเพื่อสุขภาพอนามัยค่ะ เราควรจะมีรางใส่หญ้าแขวนไว้ข้างกรงด้วยเสมอ เพราะว่ากระต่ายเป็นสัตว์ฟันแทะ และอาหารหลักของเค้าไม่ใช่อาหารเม็ดนะคะอาหารเม็ดถ้ากินมากไป จะทำให้กระต่ายอ้วน และยังทำให้สมดุลย์ของแบคทีเรียเสียค่ะกระต่ายจะสุขภาพไม่ดี เราจึงควรจะมีหญ้าใส่ไว้ให้กระต่ายกินได้ตลอดเวลาเหมือนที่เค้าอยู่ตามธรรมชาติค่ะ รางใส่หญ้าจะช่วยให้กระต่าย มีหญ้าที่สะอาดกินโดยแขวนไว้ข้างกรง กระต่ายจะมาดึงหญ้าจากรางกินถ้าเราวางไว้กับพื้นหญ้าจะโดนย่ำไปมาจนช้ำเสีย และยังเปื้อนอึ และฉี่ของกระต่ายซึ่งหมักหมมเชื้อโรค และทำให้กระต่ายมีสุขภาพไม่ดีอีกด้วย

7. แปรงสำหรับกระต่ายขนยาวเราควรจะมีแปรงเพื่อใช้ในการหวีสางขนไม่ให้พันกัน แปรงสำหรับกระต่ายประเภทขนยาวปุยควรเลือกแปรงลักษณะปลายลวดแบบนี้ค่ะ เพราะจะหวีสางขนได้พองสวยกว่า
8. ก้อนเกลือแร่ช่วยเสริมแร่ธาติและแคลเซี่ยมให้กระต่าย วิธีใช้คือวางไว้หรือแขวนไว้ที่กรงค่ะกระต่ายจะมาเลียเอง เหมาะสำหรับกระต่ายวัยเจริญเติบโต หรือกระต่ายที่กำลังตั้งครภ์ค่ะ การเลือกก้อนเกลือแร่ถือเป็นศิลปะอย่างหนึ่งเหมือนกันนะคะ ควรเลือกก้อนเกลือแร่แบบที่มีที่แขวนติดกับข้างกรงค่ะ (อย่างในภาพบน) จะได้ไม่เปื้อนเลอะเทอะเลอะฉี่น้องต่าย หรือ โดนเหยียบจนเป็นที่หมักหมมของเชื้อโรค

<--
แบบนี้ไม่ดี ไม่มีที่แขวนค่ะ ต้องวางที่พื้นกรงจะสกปรก
9. คอกออกกำลังกายเหมาะสำหรับการออกกำลังกายนอกกรงค่ะ คอกจะช่วยกำจัดกระต่ายให้วิ่งเล่นอยู่ในพื้นที่ๆ ปลอดภัย เช่น ห่างจากสายไฟในบ้านเป็นต้น (อันนี้ใครไม่มีก็ไม่เป็นไรค่ะ แต่เวลาปล่อยน้องกระต่ายวิ่งเล่นต้องคอยดูแลเค้าด้วยนะคะ)
10. ไม้ลับฟันเพราะว่ากระต่ายเป็นสัตว์ฟันแทะ ฟันจะยาวออกมาตลอดชีวิตดังนั้นเพื่อนๆ ควรจะมีไม้ลับฟันเพื่อให้กระต่ายเอาไว้ลับฟันของเค้าค่ะอาจจะหาซื้อเอาก็ได้ค่ะ หรือหากจาไม้ธรรมชาติก็ได้โดยเลือกไม้ที่สะอาดไม่ปนเปื้อนสารพิษ หรือยาฆ่าแมลง ไม่มียาง ไม่เป็นพิษและไม่มีเสี้ยนค่ะ
11. วิตามินสำหรับช่วงเวลาที่แม่กระต่ายตั้งท้องหรือเวลาที่ต้องการบำรุงกระต่ายอาจจะให้ก็ได้ค่ะ แต่ถ้าถามว่าจำเป็นหรือไม่ นั้นวิตตามินรวมอาจจะไม่จำเป็น หากเราให้อาหารที่มีคุณค่ากับกระต่ายตลอดอยู่แล้ว


12. ขนมอย่าง Stick หรือ ขนมอื่นๆสำหรับกระต่ายเราอาจจะให้กระต่ายได้ค่ะ เช่นใช้เป็นแรงจูงใจในการฝึกหรือเป็นอาหารเสริม แต่ว่า ขนมเหล่านี้ไม่ได้เป็นอาหารหลักนะคะ ถ้าให้มากเกินไปกระต่ายจะอ้วนค่ะ และสมดุลย์อาหารของกระต่ายจะไม่ดี
13. สายจูงผู้เลี้ยงบางคนก็อาจจะอยากพากระต่ายไปเดินออกกำลังกาย อาจจะใช้สายจูงก็ได้แต่กระต่ายไม่เหมือนสุนัขนะคะ เค้าไม่สามารถจะป้องกันตัวเองจากผู้ล่าได้หากเราเอากระต่ายไปเดินเล่น โดยใช่สายจูง อย่าลืมว่าต้องคอยระวังเค้าด้วยนะคะอย่าให้สุนัข แมว หรือสัตว์อื่นมาทำอันตรายเค้าได้


 

 
ที่จริงแล้ว กระต่ายเป็นสัตว์สังคมค่ะ จริงๆแล้ว เค้าต้องการเพื่อน เพื่อนๆหลายๆคนอาจจะนึกค้านในใจว่า "ก็เจ้าของนี่หละ คือเพื่อน ของกระต่าย" แต่จริงๆแล้วก็ไม่ถูกเสียทีเดียวหรอกค่ะ เพราะว่า ถ้ากระต่ายจะมีเจ้าของเป็นเพื่อนแต่เค้าก็ต้องการเพื่อนชนิด เดียวกันด้วย เราไม่สามารถจะเข้าไปแทนที่ได้หรอกค่ะ
ลองนึกง่ายๆ มันก็เหมือนกับเอาคน ๆ นึงไปขังไว้ในห้องที่มีแต่กระต่ายอยู่เป็นเพื่อน ไม่ให้คนๆนั้นไปเจอ มนุษย์คนอื่นเลย แน่นอนค่ะ นานๆเข้า คนๆนั้นก็จะเหงา และ เบื่อ อยากเจอใครที่เหมือนกัน คุยกันได้รู้เรื่องน้องกระต่ายก็ไม่ต่างกับเราค่ะ
ทีนี้เพื่อนๆ ก็คงจะเกิดคำถามแล้วสิ ว่า อ้าว แล้วงี้จะเลี้ยงกี่ตัวดีล่ะ
จะเลี้ยงกี่ตัวดี
ในเมื่อการเลี้ยงตัวเดียว จะทำให้น้องกระต่ายเหงา เราจึงควรจะเลี้ยงเป็นคู่ค่ะแต่ไม่แนะนำให้เลี้ยงเป็นฝูงๆ เพราะว่า พอกระต่ายเริ่มเต็มบ้าน จากเดิมที่เพื่อนๆเคยสนุก เพื่อนๆ จะรู้สึกว่า เค้าเป็นภาระ อย่างเช่น เมื่อทำความสะอาดกรง หรือว่าอาบน้ำ แต่ละครั้ง เพื่อนๆ ก็จะเบื่อหน่ายที่วันหยุดของเพื่อนๆ หมดไปทั้งวันและขี้เกียจ แล้วก็พาลลงกับน้องกระต่ายเหล่านั้นค่ะ เค้าจะเริ่มโดนทิ้งขว้างไม่ดูแลอย่างดีเหมือนตอนที่เพื่อนๆ เริ่มเลี้ยงใหม่ๆ

จะเลี้ยงเพศอะไรกับ อะไรดีล่ะ
เพศ ผู้ - เมีย
ที่จริงแล้ว กระต่ายเป็นสัตว์ที่ ขยั๊นขยัน ในการ ผสมพันธุ์ค่ะ ถ้าเพื่อนๆไม่อยากจะมีปัญหา เรื่องลูกกระต่ายเต็มบ้านล่ะก็ แนะนำเลยค่ะ ว่าให้ทำหมันตัวผู้ซะแต่ถ้าจะให้ดีที่สุด เลี้ยงเพศ เมียกับเพศเมีย ดีกว่า

เพศ เมีย - เมีย
ควรเลือกตัวเมีย กับตัวเมียค่ะดีที่สุด ยิ่งถ้าซื้อมาด้วยกัน ตั้งแต่เล็กปัญหาว่า จะอยู่ด้วยกันไม่ได้เนี่ยแทบจะไม่มี
เพศ ผู้- ผู้
อันนี้ไม่แนะนำค่ะ เพราะว่าตอนเด็กๆ ก็จะดีอยู่หรอกค่ะ อยู่กันปรองดองแต่เมื่อเค้าโตเป็นหนุ่ม ล่ะก็ มักจะกัดกันค่ะ จะชิงความเป็นใหญ่กันค่ะ
หลงรักกระต่ายเข้าแล้วใช่ไหมคะ แต่ว่าก่อนที่เพื่อนๆจะหยิบตังก์ออกไปเลือกหาเพื่อนตัวน้อยที่แสนจะน่ารักนี้ มาครอบครองเรามาศึกษากันดูก่อนดีไหมคะ ว่ากระต่าย เหมาะกับเพื่อนๆจริงๆหรือเปล่า

ข้อดี ข้อเสีย
1. กระต่ายเป็นสัตว์ที่อายุยืน ก่อนเลี้ยงท่านต้องคิดก่อนว่าท่านสามารถจะดูแลกระต่ายได้ จนถึงวันสิ้นอายุขัยหรือไม่ หลายๆครั้งที่พบว่ากระต่ายได้ถูกทอดทิ้ง เพียงเพราะเจ้าของเบื่อหน่าย หรือ เพราะต้องย้ายที่อยู่ เช่นใครที่อยู่อพาร์ตเมนท์ช่วงสั้นๆ แล้วรู้ว่า ในอนาคตต้องย้ายไปอยู่บ้านไม่สามารถจะเลี้ยงกระต่ายได้ ก็ควรจะคิดให้ดีก่อน

2.
กระต่ายเป็นสัตว์ที่ออกลูกดก สามารถจะออกลูกได้ปีละ 5 ครอกเลยทีเดียวแต่ละครอกอาจจะมีมากถึง 8 ตัวเป็นต้น ดังนั้นหากท่านคิดจะเลี้ยง ควรจะคิดให้ดีว่าจะทำอย่างไรกับลูกกระต่าย หากท่านไม่อยากรับภาระเรื่องลูกกระต่ายท่านควรจะเลือกเลี้ยงกระต่ายเป็นเพศเมียทั้งหมด


3.
กระต่ายเป็นสัตว์ที่กินพืชเป็นอาหารและกินอาหารเม็ดด้วยเช่นกัน แต่เพื่อสุขภาพที่ดี ท่านต้องให้อาหารจพวกผัก และผลไม้แก่กระต่ายด้วย

4.
กระต่ายเป็นสัตว์ที่ขับถ่ายเยอะ ปัสสาวะ และอุจจาระหากไม่ได้รับการดูแลเรื่องความสะอาดให้ดีพอ
จะมีกลิ่นค่อนข้างมาก

5.
กระต่ายเป้นสัตว์ที่สุภาพ น่ารัก สะอาด ตัวของกระต่ายจะไม่มีกลิ่นเหม็น

6.
กระต่ายไม่ส่งเสียงร้องพร่ำเพรื่อท่านสามารถจะเลี้ยงในบ้านหรืออพาร์ตเมนท์ได้

7.
กระต่ายก็เหมือนกับคนค่ะเจ็บป่วยได้ แต่ว่าหมอที่รักษากระต่ายได้นั้น ควรจะเป็นคุณหมอที่รู้จักกระต่าย ดีพอไม่ใช่คลินิคสัตวแพทย์ทั่วไป ดังนั้นค่าใช่จ่ายในการรักษาก็มีเช่นกัน หากเค้าป่วยเพื่อนๆ สามารถจะรับผิดชอบ พาเค้าไปหาหมอได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้ อย่าเลี้ยงเลยค่ะสงสารเค้า
แม้ว่ากระต่ายจะมีมานาน ในเมืองไทย แต่จะมีผู้เลี้ยงซักกี่คนที่สนใจจะเรียนรู้ภาษากระต่าย เพราะว่า กระต่ายพูดไม่ได้เราจึงเข้าใจในกระต่ายได้ยาก แต่กระต่ายก็มีภาษากายนะคะ หากเราค่อยๆสังเกตและทำความข้าใจเราก็จะเข้าใจในสิ่งที่เค้าพยายามสื่อสารกับเราได้ค่ะ

ภาษากระต่าย

1. กระต่ายไม่ค่อยร้อง และสื่อสารกันด้วยกลิ่น

ถึงแม้ว่ากระต่ายเป็นสัตว์สังคมแต่ว่าพวกเค้าไม่มีการทักทายกันที่ส่งเสียงดังเหมือนเดียวกับสัตว์อื่น ๆ เช่นสุนัขหรือแมว นั่นเป็นเพราะว่าพวกเค้า เป็นผู้ถูกล่าและการส่งเสียงดังนั้นย่อมเป็นการบอกให้สัตว์ต่าง ๆที่เป็นผู้ล่านั้น
รู้ถึงตำแหน่งของพวกเค้า ดังนั้นเค้าจะเงียบและใช้กลิ่นในการสื่อสารกันเสียส่วนใหญ่ค่ะ ซึ่งการใช้กลิ่นสำหรับกระต่ายนั้นสำคัญมากค่ะ และกระต่ายมีจมูกที่ไวมาก นับเป็นการสื่อสารที่พัฒนาไปมากที่สุดของกระต่ายก็ว่าได้
การใช้กลิ่นนั้น ก็เหมือนกับเป็นบันทึกลับที่กระต่ายบันทึกเอาไว้ให้แก่กันและกันจะมีเฉพาะกระต่ายที่เข้าใจกัน เช่น เค้าสามารถจะบอกกันได้ว่าที่ตรงนี้เป็นอาณาเขตของเค้าหรือเปล่า โดยไม่ต้องพูดกันซักคำ นอกจากนี้กลิ่นยังเป็นประโยชน์อย่างมากในการสื่อสารในที่มืด หรือในยามที่กระต่ายไม่ต้องการให้ตัวเค้าเป็นที่สนใจ ของสัตว์อื่น ๆ โดยเฉพาะผู้ล่าซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับสัตว์ที่มีผู้ล่ามากมายเช่นกระต่าย
นอกจากนี้ กระต่ายนั้นก็มักจะไม่ได้แสดงออกอย่างชัดเจนเมื่อเค้ารู้สึกเจ็บปวดหรือหวาดกลัว
ซึ่งทำให้การแสดงออกต่างๆ ของกระต่ายนั้น มักจะไม่ทำให้เจ้าของสังเกต เพราะว่าการแสดงออก ถึงความอ่อนแอหากอยู่ในธรรมชาติ เค้าจะตกเป็นเป้าโจมตีของศัตรูได้ง่าย และด้วยความที่เค้าไม่ร้องเลยทำให้เราคาดคะเนได้ยากว่าเค้าต้องการอะไร หรือป่วยหรือไม่


2. การส่งเสียงร้อง
ตามปกติกระต่ายจะไม่ค่อยส่งเสียงร้องพร่ำเพรื่อค่ะแต่จะร้องเสียงดังเมื่อเจ็บปวด
3. อาการก้าวร้าว
ปกติแล้วกระต่ายจะอ่อนโยน สุภาพ แต่หากเค้ากลัวมากๆเค้าก็อาจจะมีอาการก้าวร้าวเช่น กัด หรือ ถีบได้หากเป็นแบบนี้แปลว่าเค้าไม่ไว้ใจเราค่ะ เราต้องอาศัยเวลาเพื่อให้เค้ารู้ว่าเรารักและจะไม่ทำร้ายเค้า พยายามอย่าทำให้เค้าตกใจกลัว

4. อาการแสดงความเหนือกว่า
กระต่ายบางตัว จะชอบแสดงความเหนือกว่า จะข่มกระต่ายด้วยกัน รวมแม้กระทั่งเจ้าของเราจะสังเกตเห็นง่ายๆ เช่น เค้าพยายามฉี่รดที่นอนเรา หรือว่าพยายามฉี่บนเก้าอี้ตัวโปรดของเรา รวมแม้กระทั่ง การไปฉี่รดมุมกรงของกระต่ายตัวอื่นๆพฤติกรรมนี้ เป็นการประกาศถิ่นค่ะ ว่าถิ่นนี้เป็นของเค้า ไม่ใช่ของเราเหมือนๆกับเด็กที่เอาปากกาเมจิกเที่ยวไล่ขีดบริเวณอาณาเขตของตัวเองบนพื้นห้องนั่นแหละเราสามารถจะแก้นิสัยนี้ได้ค่ะ โดยหากเค้าฉี่รดที่ๆไม่เหมาะสม เช่น บนเตียงเราก็ต้องกันไม่ให้กระต่ายขึ้นไปบนเตียง เป็นต้นโดยเมื่อเค้าพยายามจะเข้าไปในเขตนั้นเมื่อไร เราก็จับเค้าไปวางไว้ที่อื่นตลอดเค้าจะรู้เองในที่สุด
5. กระทืบเท้า
เมื่ออยู่ตามธรรมชาติ การกระทืบเท้าลงบนพื้น คือสัญญาณที่แสดงถึงความวิตกหรือหวาดกลัวของพวก เค้า โดยการกระทืบขาหลังของเค้าลงที่พื้น การกระทำเช่นนี้ไม่เป็นเพียงการเตือนเพื่อน ๆของเค้าที่อยู่บนพื้นดิน ถึงความไม่ชอบมาพากลเท่านั้นแต่เสียงสะท้อนที่ส่งไปยังพื้นดิน ยังเป็นการเตือนกระต่ายที่อยู่ในรังด้วยว่าอย่าขึ้นมาบนพื้นดิน
ท่าทางคือกระต่ายจะกระทืบเท้าหลังลงบนพื้น หรืออาจจะทำการยกขาหลังทั้งคู่ดีดขึ้นแล้วกระแทกลงกับพื้น และบางทีก็ฉี่ไปด้วย หลายๆครั้งท่าทางเหล่านี้ก็ยังบ่งบอกถึงอาการไม่ชอบใจค่ะ อาการนี้เหมือนกับเด็กค่ะที่กระทืบเท้าไปมาเวลาที่โดนขัดใจ ไม่พอใจ
เราจะเห็นกระต่ายทำท่านี้เมื่อเค้า วิตกกังวล หรือเครียด กระต่ายบางตัวทำท่านี้เมื่อเราพยายามจะเข้าไปไล่ตะครุบตัวเค้า หรือบางทีเราจะเจอกระต่ายทำท่านี้เมื่อเราย้ายเค้ามาอยู่ในกรงที่คับแคบ กว่าเดิมอาการแบบนี้บางครั้งก็เป็นการข่มขู่ไปด้วย อย่างกระต่ายบางตัวที่ไม่คุ้นเคยกับคนและกลัวคนมาก หากเค้าทำท่านี้แล้วเรายังพยายามเข้าไปจับ เค้าอาจจะต่อสู้ค่ะ

หรือบางครั้งการกระทืบเท้าก็เป็นการแสดงให้เราเห็นว่าเค้าไม่พอใจอะไรบางอย่าง และ พยายามเรียกร้องให้เราทำอะไรให้ เช่นอยากได้อาหารเพิ่ม เป็นต้น
6. ตำแหน่งของหูและหาง
กระต่ายจะใช้ร่างกายในการสื่อสารกับเรา เมื่อกระต่ายกำลังจะจู่โจมมันจะยืดตัวขึ้นตรง และยืดหางออก แล้วก็กระดกหูไปด้านหลัง แต่หากว่าเค้าเอาหูลู่ไปทางด้านหลัง แต่นั่งอยู่ไม่ได้ยืดตัวขึ้นตรง แปลว่า กำลังตั้งรับค่ะและกระต่ายที่ตั้งรับอยู่อาจจะหาจังหวะจู่โจมกลับได้ค่ะ
7. การทำเครื่องหมาย ด้วยกลิ่นใต้คาง

กระต่าย โดยเฉพาะเพศผู้เราจะเห็นบ่อยว่าเค้าชอบเอาคางถูกับโน่นนี่ ไม่ว่าจะเป็นรอบๆบ้าน หรือว่ากับของในกรง กระต่ายทั้งสองเพศต่างก็มีลักษณะนิสัยนี้เหมือนกันแต่กระต่ายตัวผู้นั้นอาจจะกระตือรือร้นมากหน่อยและอาจมีคางที่ชื้นและเหนียว
เนื่องจากการหลั่งสารของต่อมกลิ่นของเค้าซึ่งอยู่บริเวณนั้น

เค้าทำเครื่องหมายบ่งบอกพื้นที่ของเค้าเพราะว่ากระต่ายจะมีต่อมกลิ่นอยู่บริเวณหัว และเค้าจะเอาต่อมกลิ่นนี้ไปถูกับสิ่งของ ที่เค้าคิดว่าอยู่ในอาณาเขตเค้าเพื่อประกาศให้กระต่ายตัวอื่นรู้ว่าเค้าเป็นเจ้าของนอกจากนี้ยังใช้เป็นการจำแนกเพื่อนสมาชิกกระต่าย ที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันอีกด้วยเหมือน ๆ กับการที่สมาชิกในกลุ่มเดียวกันจะมีป้ายชื่อหรือเสื้อผ้าที่บ่งบอกถึงกลุ่มที่ตัวเองอยู่
วิธีการนี้ยังเป็นการทำให้กระต่ายมั่นใจว่าเค้ากำลังอยู่กับเพื่อน ๆ ของเค้าเอง ในอาณาเขตของเค้าเองและยังช่วยขัดขวางการรุกรานอีกด้วย

8. การอึไปรอบๆ
นอกจากนี้กระต่ายยังสร้างกลิ่นไว้กับมูลของพวกเค้าด้วยโดยจะทิ้งมูลเอาไว้ในขณะที่เดินทางไปรอบ ๆ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาหาอาหาร (มูลของกระต่ายนั้นเป็นปุ๋ยอย่างดี เนื่องจากมีแร่ธาตุไนโตรเจนสูง)กระต่าย
ยังจะขุดดินบริเวณไกล้ ๆ กับขอบอาณาเขตของเค้าแล้วทิ้งมูลเอาไว้เพื่อเป็นสัญลักษณ์
อย่างไรก็ตามนิสัยในการขับถ่ายอย่างหนึ่งของกระต่ายที่น่าประทับใจก็คือการใช้พื้นที่ที่เป็นห้องน้ำ
ซึ่งเป็นนิสัยตามธรรมชาติที่ทำให้เราสามารถสอนกระต่ายให้เข้าห้องน้ำได้ค่อนข้างง่าย
ตามธรรมชาติ ห้องน้ำของกระต่ายจะถูกใช้โดยสมาชิกทุกตัวภายในกลุ่มและอาจถูกสร้างขึ้นมาจาก กองมูลของพวกเค้าโดยทั่วไปห้องน้ำเหล่านี้จะอยู่ในบริเวณที่สูง

ห้องน้ำนี้จะเป็นสัญลักษณ์ให้กับกระต่ายทั้งในด้านการมองเห็นและกลิ่นสำหรับเหล่ากระต่ายแล้ว
ห้องน้ำนี้ก็เหมือนเป็นการประกาศว่าพื้นที่แห่งนี้เป็นของกระต่ายอีกกลุ่มไหน เป็นการเตือนหากพวกเค้ากำลังเข้าใกล้อาณาเขตของกระต่ายอีกกลุ่มหนึ่ง
8. การทำเครื่องหมายด้วยกลิ่นปัสสาวะ
วิธีนี้อาจเป็นวิธีที่กวนใจเราที่สุดของกระต่ายก็คือการปัสสาวะกระต่ายนั้นไม่เหมือนกับสุนัขหรือแมว หรอกนะคะ
ที่จะปัสสาวะใส่วัถุต่าง ๆในอาณาเขตของตัวเองเท่านั้นแต่ว่ากระต่ายนั้นจะปัสสาวะใส่กันและกัน
และในบางครั้งยังจะปัสสาวะใส่คนด้วยถึงแม้ว่าจะไม่บ่อยก็ตาม

นิสัยเหล่านี้จะพบบ่อยในกระต่ายตัวผู้ การปัสสาวะบางครั้งจะปัสสาวะจะหมายความถึง กระต่ายที่เป็นลูกน้องหรือผู้รุกรานแต่ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นส่วนหนึ่งในขั้นตอนการขอความรัก
การขอความรักนั้นเป็นขั้นตอนที่สำคัญสำหรับกระต่ายและกระต่ายตัวผู้ก็จะเอาจริงเอาจังกับมันมากทีเดียว
เวลาที่กระต่ายตัวผู้พบตัวเมียที่ถูกใจอันดับแรกเค้าจะทำการขอความรักโดยการเดินตามตัวเมียไป
หลังจากนั้นอาจเป็นการเดินเข้า ๆ ออก ๆ จากตัวเมียในขณะที่ยกหางของมันขึ้นหากกระต่ายตัวเมียยังไม่สนใจ
เค้าจะเรียกร้องความสนใจมากขึ้นโดยการวิ่งเลยตัวเมียไปและปัสสาวะใส่
กระต่ายเลี้ยงบางส่วนจะเรียนรู้ว่าวิธีนี้จะเป็นวิธีที่พวกเค้าสามารถใช้เรียกร้องความสนใจจากเจ้าของได้

9. เลีย
เคยเห็นแม่กระต่ายไหมคะ เค้าจะแสดงความรักกับลูกๆ ด้วยการเลียค่ะหากกระต่ายเลียใครล่ะก็ เป็นการบอกว่าเค้ารักคน ๆ นั้นค่ะ
10. การเอาหัวดันเรา

กระต่ายจะเอาส่วนจมูกดันเราเพื่อเรียกร้องความสนใจค่ะหรือเวลาที่เค้าพยายามข่วนพื้น โดนใช้ขาหน้าท่าทางเหล่านี้ก็เพื่อให้เราสนใจค่ะ(คล้ายๆการสะกิดของคนนั่นหละค่ะ)แต่บางครั้งท่าทางคล้ายๆกันนี้ ้ก็เป็นการบอกให้เราหยุดได้แล้ว เช่นหากเรายัดเยียดอาหารกระต่าย แต่กระต่ายอิ่มแล้วกระต่ายอาจจะพยายามเอาช่วงจมูกดันมือเราออกไป มันเป็นการบอกเราว่า" ขอบคุณแต่ว่าพอได้แล้วหละ หยุดเถอะ"

10. การงับหรือแทะๆ
บางครั้งกระต่ายจะงับเรา เพื่อเรียกร้องให้เราสนใจเค้าหรืออยากให้เราทำอะไรบางอย่างให้ การงับไม่ใช่การกัดนะคะคนละแบบกับการกัดเพื่อต่อสู้ค่ะ

ซึ่งบางทีเค้าก็ไม่รู้หรอกค่ะว่าการทำแบบนั้นบางครั้งทำให้เราเจ็บ เค้าเพียงแต่ต้องการเรียกร้องความสนใจค่ะเชื่อหรือไม่คะ ว่ากระต่ายไม่ได้ตั้งใจจะทำให้เราเจ็บค่ะ ซึ่งอันนี้แก้ได้โดยหากเราเจ็บและร้องออกมาทุกครั้งที่เค้างับแรงๆกระต่ายจะเรียนรู้เองว่าจะต้องงับเบากว่าเดิม หรือไม่ก็เลิกงับไปเลยก็มีค่ะ
แต่บางครั้งอาการงับนี่ก็เป็นการแสดงให้เห็น ถึงความเหนือกว่าค่ะเช่นหากกระต่ายพยายามงับเราเมื่อเรา นั่งบนเก้าอี้ตัวหนึ่งนั่นคือกระต่ายพยายามจะบอกว่า "เก้าอี้นี่เป็นที่ของกระต่ายนะ และคุณควรจะออกไป"วิธีแก้ก็คือ ให้ร้องค่ะ ให้กระต่ายรู้ว่าเราเจ็บ และวางกระต่ายลงบนพื้นและค่อยๆเอามือกดหัวกระต่ายลงเบาๆ อาการนี้เป็นอาการบอกกระต่ายว่า "เราเหนือกว่าเราคือเจ้านายนะ" ให้ทำแบบนี้หลายๆครั้งจนกว่ากระต่ายจะ เลิกท้าทายเราหากทำยังงั้นแล้ว เค้ายังไม่เข้าใจ ก็ให้เราเอาเค้าไปไว้ในกรงซักพักเพื่อให้กระต่ายรู้ได้เองว่า "ไม่ใช่หรอก ที่ของกระต่ายคือในกรงต่างหาก"
11. นอนเหยียดยาว
หากกระต่ายนอนโดยยืดขาออกจนสุด หูตกลงมาราบกับลำตัวตาหรี่ลงครึ่งนึง แปลว่าอยากจะนอนพักผ่อน โดยไม่ต้องการการรบกวนค่ะ


12. กัดทึ้งขนตัวเอง
หากกระต่ายเพศเมียกัดดึงขนของตัวเองออกมาสะสมไว้ในปาก แล้วเอาไปซุกไว้ตามที่ต่างๆ วิ่งไปวิ่งมารอบ ๆหรือคาบสิ่งของหรือเศษผ้ามากองไว้แปลว่ากระต่ายเตรียมจะทำรังคลอดลูกที่นั่น

13. ยืนด้วยขาหลัง ยกขาหน้าขึ้นกลางอากาศ

เป็นท่าขอค่ะเช่นกระต่ายอยากจะได้อะไรที่อยู่ในมือเรา หรืออยู่สูงกว่า เช่นขออาหาร

14. งับสิ่งของแล้วเหวี่ยงขึ้นลงไปมา
เป็นการแสดงอาการหงุดหงิดค่ะ

15. อาการหาคู่
กระต่ายที่โตขึ้นมามีฮอร์โมนมาผลักดัน แล้วพยายามหาคู่ผสมพันธุ์ แต่ว่า ไม่มีคู่ กระต่ายจะหงุดหงิดค่ะและแสดงอาการก้าวร้าวออกมา ส่วนใหญ่จะแสดงอาการคือ วิ่งวนไปมารอบๆเท้าเจ้าของพยายามปีนเจ้าของหรือสิ่งของ และมีกัดเจ้าของในบางครั้ง ซึ่งอาการเหล่านี้แก้ไดยการทำหมันค่ะ

15. การขุด

การขุดเป็นนิสัยตามธรรมชาติค่ะเพราะว่ากระต่ายจะอาศัยอยู่ในโพรง เค้าจึงมักจะขุดโน่นนี่แต่หากการขุดของกระต่ายทำให้สิ่งของในบ้านเสียหาย เราสามารถจะแก้ได้โดยเบี่ยงความสนใจของเค้า และเอากล่องเปล่ามาให้เค้าค่ะ และวางเค้าลงไปให้เค้าขุดกล่องเปล่าเล่นแทน พอเค้าขุดกล่องเปล่าเราก็ให้ขนมเค้า เป็นรางวัลและขัดขวางเค้าทุกครั้งที่เค้าพยายามจะขุดสิ่งของหรือบริเวณที่เราไม่อยากให้ขุดทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ เค้าจะเข้าใจเองค่ะว่าหากอยากขุดก็ควรจะขุดในกล่องที่เราเตรียมไว้ให้

16. อาการหมอบกดตัวเองลงกับพื้น

กระต่ายกดตัวเองลงกับพื้นเป็นอาการที่เกิดจากความกลัวค่ะ เหมือนเราเวลาเรากลัวมากๆเราจะพยายามหดตัวให้เล็กที่สุด กระต่ายก็หมือนกันค่ะ
17. การปีนขึ้นหลังตัวอื่น
กระต่ายที่โตกว่าบางครั้งจะปีนขึ้นไปบนหลังตัวอื่น แม้ว่าบางทีจะเป็นเพศเดียวกัน นั่นไม่ได้แปลว่ากระต่ายเป็นเกย์หรอกนะคะ แต่ท่าการปีนที่คล้ายการผสมพันธุ์นี้เป็นอาการข่มตัวอื่นค่ะ กระต่ายตัวที่ปีนขึ้นหลังตัวอื่นทำแบบนี้เพื่อเป็นการบอกว่า "ฉันเหนือกว่า"

18. นอนเอาหัวอิงกัน
หากกระต่ายนอนพิงกัน เองหัวเกยกับอีกตัวแปลว่ากระต่ายทั้งคู่เข้ากันได้ดีค่ะ

บทส่งท้าย

อย่างน้อยก็คงจะทำให้เพื่อนๆเข้าใจกระต่ายมากยิ่งขึ้น และได้เห็นในมุมมองของกระต่ายในโลกที่เราบังคับให้พวกเค้าดำเนินชีวิตอยู่ค่ะ
กระต่ายอ้วนไปหรือเปล่าเอ่ย?
เพื่อนๆ เคยสังเหตุบ้างหรือเปล่า ว่าเพื่อตัวน้อยอ้วนไปหรือเปล่าที่จริงกระต่ายอ้วนๆก็น่ารักดีค่ะ แต่ว่า อ้วนไปไม่ดีหรอกค่ะวันนี้มีเรื่องนี้มาฝาก

กระต่ายที่อยู่ตามธรรมชาติ
กระต่ายที่อาศัยอยู่ตามธรรมชาติจะต้องออกเดินทางหาอาหารต้องหลบหนีจากการถูกตามล่า โดยผู้ล่า เช่น หมาป่า เหยี่ยวและต้องต่อสู้กับอากาศที่หนาวเย็นหรือร้อนจัดตามธรรมชาติทั้งหมดนี้ล้วนต้องอาศัยพลังงานดยต้องดึงเอาพลังงานจากอาหารที่กินเข้าไปเอาออกมาใช้ จึงไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องอ้วนแถมอาหารก็ยังไม่ใช่พวกแป้งเหมือนอาหารสำเร็จรูป แต่เป็นหญ้า และผักตามธรรมชาติ
แต่กระต่ายบ้านหรือกระต่ายที่เราเอามาเลี้ยงเป็นเพื่อนส่วนมากจะโดนขังในกรงบางตัวเจ้าของแทบไม่เคยปล่อยออกมาวิ่งเล่นออกกำลังกายนอกกรงเลยทั้งๆที่กระต่ายควรจะได้รับอิสรภาพ ได้ออกกำลังกายวิ่งเล่นข้างนอกกรงบ้าง
และอาหารก็ยังไม่เคยต้องหาเอง มีเจ้าของหาอาหารมาให้ บางตัวก็ได้กินแต่อาหารเม็ดส่วนพวกหญ้า หรือผักใบเขียวแทบจะไม่ได้แตะเลยก็มี ยังงี้จะไม่ให้อ้วนได้ยังไงเนอะแถมบางตัวก็ยังจะโดยตอนหรือทำหมันเสียอีก ผลก็คือเจ้ากระต่ายตัวน้อยก็เลยอ้วนปั๊ก
กระต่ายอ้วนไม่ใช่กระต่ายแข็งแรง

แต่กระต่ายอ้วนถึงจะดูน่ารักแต่ไม่ใช่ว่าจะดีนะคะกระต่ายอ้วนก็เหมือนกับคนอ้วนๆ สุขภาพจะไม่แข็งแรงค่ะไม่เหมือนคนที่สุขภาพดีที่ออกกำลังกายอยู่เสมอผลที่ตามมาจากการที่กระต่ายอ้วนมากเกินไปก็คือ ทำให้มีปัญหาเรื่องหลอดเลือดและก็ยังมีผลกับพวกข้อต่อต่างๆที่ต้องรับน้ำหนักมากเกินความจำเป็น นอกจากนี้กระต่ายทีอ้วนมากจนเกินไปจะทำความสะอาดตัวเองได้ไม่สะดวกด้วยการจะก้มไปยังบริเวณก้น เพื่อที่จะกินอึพวงองุ่นก็ทำได้ยากยิ่งทำให้กระต่ายไม่ได้รับสารอาหารที่ควรจะได้จากอึพวงองุ่นไปเสียอีก
ดูยังไงว่าอ้วนหรือผอมไป

กระต่ายไม่ว่าจะอ้วนหรือผอมเกินไปก็ไม่ดีทั้งนั้น

รู้ได้งัยกว่ากระต่ายผอมไป
กระต่ายบางตัวที่เป็นกระต่ายขนยาวอาจจะดูยากหน่อยเพราะขนที่ยาวฟูจะหลอกตาให้ดูเหมือนอ้วน แต่ถ้าใครจับอาบน้ำจะเห็นว่าตัวนืดเดียวอันนี้ก็ควรต้องพยายามสังเกตกันหน่อยค่ะแต่ถ้าเป็นกระต่ายขนสั้นจะสังเกตเห็นได้ง่ายกว่ากันเยอะเลยวิธีดูง่ายๆว่ากระต่ายผอมไปหรือเปล่าให้ใช้มือคลำดูค่ะ โดยลูบไปบริเวณสันหลังถ้าหากเราคลำเจอโครงกระดูกแปลว่าผอมไปเสียแล้วหละ

รู้ได้ยังไงว่าอ้วนไป

กระต่ายที่มีหัวกลมตัวมักจะป้อมๆ กระต่ายที่อ้วนมักมีเหนียงที่คอมาก นอกจากนี้เราจะเห็นด้วยตาได้ว่าช่วงไหล่ ขา ว่าใหญ่มีเนื้อมากไปหรือไม่
กระต่ายอ้วนเกินไปทำยังไง

ควรจะลดอาหารเม็ดและให้หญ้าจำพวก Timothy หญ้า hay หรือ หญ้าขนแทนโดยใส่ไว้ในกรงให้กระต่ายสามารถจะกินได้ทั้งวัน และอาจจะเสริมผักใบเขียวต่างๆ หรือแครอท เพื่อให้กระต่ายได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนมากยิ่งขึ้นถ้ากระต่ายทำท่าไม่ยอมกินเลย เราอาจจะให้ต้องใจแข็งค่ะอย่าใจอ่อนเพราะกระต่ายจะเรียนรู้เองว่าไม่กินก็อด แล้วก็จะพยายามกินเองในที่สุด (แต่การเปลี่ยนอาหารให้เปลี่ยนแบบค่อยเป็นค่อยไปนะคะ ไม่ใช่เปลี่ยนที่เดียวหมด)

นอกจากนี้ก็ควรปล่อยให้กระต่ายได้ออกมาวิ่งเล่นออกกำลังกายนอกกรงบ้างค่ะ (แต่ระวัง สายไฟ ยาฆ่าแมลง พืชมีพิษ สุนัข แมว หรือผู้ล่าอื่นๆ)
เรื่องของอึกระต่ายค่ะ

อย่าเพิ่งร้องยี้ นะคะ การเข้าใจเรื่องอึ ก็เป็นสิ่งที่สำคัญในการเลี้ยงกระต่าย

ว่าแต่ว่าตอนนี้มีใครเข้าใจในเรื่องนี้มั่งเอ่ยมีใครตอบได้ไหม ว่าไอ้ก้อนดำๆ กับก้อนก้อนกลมๆ สีน้ำตาลแบบในรูปข้างล่างเนี่ยมันต่างกันยังไง
ล้อมวงกันเข้ามาเลยค่ะ จะเล่ารายละเอียดให้ฟัง
กระต่ายเป็นสัตว์กินพืช อย่างที่เรารู้กันอยู่แต่กระบวนการในการย่อยอาหารไม่เหมือนคนนะเพราะว่าอาหารของเค้าจะเป็นอาหารที่มีกากใยสูง และย่อยยากเมื่อกระต่ายกินอาหารเข้าไป เค้าจะกัดเป็นชิ้นเล็กๆ และ กลืนลงไปร่างกายเค้าจะมีกระบวนการในการผสมระหว่างน้ำและอาหารและของผสมเนี่ยมันจะไหลลงไปในส่วนท้องของกระต่าย
ระหว่างนั้นพวกสารอาหารที่มีประโยชน์ต่างๆ ที่ดูดซึมได้ง่ายก็จะโดนดูดซึมเข้าสู่ร่างกายกระต่าย ส่วนของเสียที่ไม่มีประโยชน์ใดๆอีกแล้วจะโดนกรองทิ้งออกมาเป็นอึก้อนกลมๆ แข็งๆ สีน้ำตาลนั่นเอง
อึที่เป็นก้อนกลมสีน้ำตาลแข็ง แบบนี้เป็นอึที่เราจะเห็นได้ระหว่างวันค่ะหากกระต่าย มีระบบย่อยอาหารที่ดี กระต่ายแข็งแรง อึนี้ควรจะเป็นก้อนแข็งค่ะแต่หากเหลว หรือเป็นน้ำ เนี่ย แสดงว่า กระต่ายเริ่มมีอาการไม่ดีค่ะ เช่น ท้องเสียซึ่งจะต้องได้รับการรักษาโดยเร่งด่วนค่ะ เพราะว่า อาการท้องเสียถือว่าเป็นเรื่องรุนแรง และ อันตราย สำหรับกระต่ายค่ะทำให้น้องต่ายเสียชีวิตได้เร็วมาก
ยังไม่หมดค่ะ ของผสมที่เหลือ ที่ยังมีประโยชน์แต่ย่อยยากจะไหลลงไปเพื่อย่อยต่อค่ะ และกระต่ายจะขับออกมาในตอนกลางคืนค่ะ เราเรียกว่าcecotropes หรือ cecal pellets ซึ่งจะมีลักษณะนิ่ม ชื้น และเงาและติดกันเป็นช่อคล้ายๆกับช่อองุ่นค่ะ
กระต่ายมักจะกิน cecotropes ในตอนกลางคืนค่ะ หลังจากที่อึออกมาคราวนี้อาหารที่ดูดซึมไม่ได้ในตอนแรกก็จะสามารถย่อยได้แบบเต็มที่และดูดซึมได้ค่ะวิธีการเหล่านี้ทำให้กระต่ายได้รับสารอาหารอย่างสมบูรณ์แบบและช่วยให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจ และตอบคำถามได้ว่า ทำไมเราจึงเจอกระต่ายในที่ๆสัตว์หลายๆชนิดไม่สามารถจะอาศัยอยู่ได้
อื้อ น่าคิดเนาะนี่เรามีเพื่อนที่มีวิธีการย่อยอาหารที่ได้รับการพัฒนามาอย่างดีเลยนะเนี่ยดังนั้นอย่าไปรังเกียจเค้านะคะหากเห็นเค้ากำลังก้มหน้างุดๆกินอึพวงองุ่นอยู่ เพราะว่านี่คือวิวัฒนาการเพื่อการอยู่รอดตามธรรมชาติค่ะอึพวงองุ่นสีดำๆ เนี่ยไม่เหมือนอึน๊ะ เพราะเป็นสิ่งมีประโยชน์เป็นเหมือนเป็นยาแคปซูลตามธรรมชาติที่กระต่ายผลิตได้เอง ยังไงยังงั้นเลย

ส่วนไอ้ที่เป็นอึจริงๆ คือก้อนสีน้ำตาลกลมแข็งๆแห้งๆ นั่นต่างหากอันนี้กระต่ายไม่กินค่ะ

อ้อ เวลาที่กระต่ายไม่สบาย จะพาเค้าไปหาหมอแอบเก็บอึทั้ง 2 แบบติดไปให้คุณหมอดูด้วยก็ดีค่ะ เผื่อจะมีประโยชน์ในการวินิจฉัยค่ะ

วันนี้ จะมีรายการ ผัก และ ผลไม้ ที่ปลอดภัย สำหรับกระต่ายมาฝากค่ะ
ผักผลไม้ ยังไม่ควรให้ในลูกกระต่ายที่ยังเด็กมากๆเพราะว่าอาจจะปรับตัวไม่ทัน และทำให้ท้องเสียได้ หากลูกกระต่ายหย่านมแล้ว ควรให้หญ้าไปก่อนหลังจาก อีกซัก 2 เดือนหลังหย่านม จึงค่อยหัดให้กินผัก ผลไม้ได้ แต่ไม่ควรให้เยอะต้องค่อยๆให้ทีละนิดให้กระต่ายปรับตัวค่ะ
และควรเลี่ยงผักผลไม้ที่มีน้ำมากๆค่ะ

1.ผลไม้
สามารถจะให้ได้ แต่ไม่ควรให้มากเกินไป เพราะผลไม้ส่วนใหญ่จะมีน้ำตาลสูงซึ่งหากกินมากเกินไป ก็จะไม่ดีต่อระบบย่อยอาหารของกระต่ายหากเทียบกับผักใบเขียวทั้งหลาย แล้ว ผักจะเหมาะกว่า เพราะว่า มีกากใยอาหารหรือที่เรียกว่า ไฟเบอร์สูง และน้ำตาลต่ำอีกด้วย

แอปเปิล
กล้วย(ไม่มีเปลือก)
ชมพู่
ลิ้นจี่
ฝรั่ง
 
สาลี่
แครนเบอรี่
ราสเบอรี่
บลูเบอรี่
สตรอเบอรี่
 
 
 
 
 
เชอรี่
มะละกอ(เม็ดออก)
แคนตาลูป
องุ่น(เม็ดออก)
ส้ม(ไม่เปรี้ยว)
 
 
 
 
 
 
 
ลูกแพร์
ลูกพีช
พลัม
 
 

2.ผักต่างๆ

ผักมีกากใยอาหาร หรือที่เรียกว่าไฟเบอร์สูง และน้ำตาลต่ำอีกด้วย

หน่อไม้ฝรั่ง
คะน้า
บล็อคเคอรี่
ใบบัวบก
คะน้าฮ่องกง
 
ผักกาดขาว
ผักกาด หางหงษ์
ผักกาดหอม
parsley
สะระแหน่
 
 
 
 
 
 
 
Arugula
Spinash (อย่าบ่อย)
ผักชีฝรั่ง
 
 

ผักผลไม้ที่ไม่ควรให้บ่อย หรือควรหลีกเลี่ยง

บร็อคโครี่ โหระพา แมงลักให้ได้แต่อย่างบ่อยเพราะมีแคลเซี่ยมสูง หากกินน้ำน้อยด้วยจะเสี่ยงแก่การเป็นนิ่ว
แตงโม ให้ได้แต่ไม่ควรให้บ่อย เพราะว่า จะทำให้ท้องเสียได้
ผักกาดแก้ว ควรเลี่ยงเพราะอาจจะทำให้ท้องเสีย
ควรเลี่ยง เพราะน้ำมาก อาจจะทำให้ท้องเสีย
เงาะ เพราะว่า มียาง
ทุเรียน เพราะ ให้พลังงานสูงเกินไป
ขนุน เพราะมียางและหวานมาก
อาโวคาโด เพราะ ให้พลังงานสูงเกินไป
กระหล่ำปลี ห้ามให้กิน เพราะจะทำให้เกิดแกส ในระบบทางเดินอาหาร
แตงกวา แตงร้าน เพราะว่ามียาง และมียาฆ่าแมลงที่เปลือกมาก
มะนาว และ ผลไม้รสเปรี้ยว
มันฝรั่งดิบ
ผักบุ้งไทย เพราะมียางมาก

 
การตัดเล็บเท้ากระต่าย

การตัดเล็บเท้าของกระต่ายถือเป็นส่วนหนึ่งในการ Grooming ค่ะ

กระต่ายจะมีนิ้วเท้า 5 นิ้ว ที่เท้าหน้าแต่ละข้าง และมีนิ้วเท้าหลังข้างละ 4 นิ้ว เล็บเท่ากระต่ายจะงอกยาวออกมาเรื่อยๆ เหมือนกับเล็บมือคนขนาดคนยังต้องตัดเล็บกระต่ายเองก็เหมือนกัน ต้องตัดเป็นระยะๆเราควรตัดเล็บกระต่ายอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
ทำไมต้องตัดเล็บกระต่าย



การตัดเล็บกระต่ายเป็นสิ่งที่จำเป็นเพราะว่ากระต่ายจะได้ไม่เอาเล็บเท้าข่วนตัวเองตอนที่เกาไม่ข่วนถูกคนเลี้ยงในขณะที่อุ้มกระต่าย ไม่ขูดถูกเพื่อนกระต่ายด้วยกันและนอกจากนี้ยังป้องกันไม่ให้เล็บกระต่ายไปเกี่ยวกับซี่กรงและเกิดการฉีกขาดบาดเจ็บค่ะ
หากเราหมั่นอุ้มกระต่ายแบบเบามือ เล่นกับกระต่ายบ่อยๆจะทำให้กระต่ายคุ้นเคยกับการตัดเล็บได้ง่ายยิ่งขึ้น
การตัดเล็บกระต่ายที่ง่ายสุดก็โดยการอุ้มกระต่ายหงายท้องแบบเด็กๆ แล้วค่อยๆตัดเล็บเท้าเบาๆ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับ กรต่ายของเพื่อนๆ ด้วยค่ะว่าจะยินยอมท่าไหน หากเพื่อนๆ ยังมือใหม่อยู่อาจจะหาคนมาช่วยจับด้วยก็ได้ค่ะ



อย่าตัดเข้าเนื้อนะคะเลือดจะออก และกระต่ายจะเจ็บ หลังจากนั้นกระต่ายจะกลัวการตัดเล็บค่ะต้องระวังให้มากๆ (ลองนึกถึงตอนที่เราตัดเล็บเข้าเนื้อแล้วเลือดไหลกระต่ายก็จะเจ็บเหมือนเราค่ะ)
ที่ตัดเล็บกระต่าย

ก็สามารถจะซื้อได้จาก Pet Shop ทั่วไปค่ะ หาซื้อเป็นที่ตัดเล็บสำหรับสุนัขและแมวค่ะ ใช้ได้
วิธีการตัดเล็บ





จะตัดแค่ไหนดี ?
ให้ค่อยๆ เอามือลูบขนของกระต่ายขึ้นไปจากเล็บ หากตรงปลายเล็บมีขนบังเพื่อให้เห็นได้ชัดยิ่งขึ้นว่า ควรตัดตรงตำแหน่งไหน เพราะว่ากระต่ายบางทีแล้วขนของกระต่ายจะมาปกคลุมตรงเล็บเท้า ทำให้เห็นยาก
พยายามมองหาเส้นที่แบ่งระหว่างสีขาวและสีชมพูของเล็บ (มองเทียบกับนิ้วมือของตัวเราเอง ตอนตัดเล็บมือ ก็ได้ค่ะ เทียบของคนประกอบนะคะจะเข้าใจง่ายยิ่งขึ้น ) เราต้องตัดต่ำกว่า เส้นสีชมพูนี้ลงมาหน่อย (อย่าตัดติดเส้นสีชมพูนะคะ ให้ห่างออกมานิดนึง ไม่งั้นจะติดเนื้อเล็บเกินไปและเจ็บได้)

ซึ่งส่วนสีขาวเป็นส่วนของเล็บที่ได้ตัดแล้วไม่เจ็บอย่าไปตัดโดนส่วนที่เป็นเส้นสีชมพูนี้ เพราะว่า จะเป็นการตัดเข้าเนื้อซึ่งมีเส้นเลือดหล่อเลี้ยงอยู่ ทำให้เลือดไหล และกระต่ายจะเจ็บ
กระต่ายเล็บดำ จะดูยากหน่อย อาจจะต้องใช้การส่องไฟช่วยค่ะ




ทีนี้มาดูวิธีการตัดจริงๆ
ตัดตามที่บอกไว้ค่ะ หากพลาดไปตัดลึกไป เลยเข้าไปถึงส่วนที่เป็นสีชมพูของเล็บแล้วเลือดไหล อย่าตกใจค่ะ หากใครเคยตัดเล็บตัวเองพลาดแล้วเลือดไหลจะจำได้ว่าไม่นานเลือดจะหยุดไหลเองค่ะ ไม่จำเป็นต้องใส่ยาอะไรกระต่ายก็เหมือนกันค่ะ ให้เราหยุดตัดแล้วปล่อยกระต่ายเข้ากรง เพื่อให้กระต่ายได้พักและจะได้เครียดลดลง
แต่หากเราตัดพลาดไปมากๆ แล้วหลังจากทิ้งไว้ซักครู่ เลือดไม่หยุดไหลจริงๆก็ให้เราไปซื้อผงห้ามเลือดมาค่ะจะช่วยให้เลือดหยุดไหลได้

เล็บเท้าของลูกกระต่ายจะเปราะและคมกว่ากระต่ายโต ดังนั้นควรจะตัดเหมือนกันและตัดอย่างระมัดระวังค่ะ
 
กระต่ายของเพื่อนๆ มีของเล่นหรือยังใครๆก็อยากจะให้น้องต่ายของตัวเองมีความสุขกันทั้งนั้นแหละแต่พอถามถึงของเล่นของกระต่าย ส่วนใหญ่จะอึ้งๆๆๆๆๆ และก็ถามกลับมาว่ากระต่ายมีของเล่นด้วยเหรอ ไม่ใช่แฮมสเตอร์นะจะได้ปั่นวงล้อ

ที่จริงแล้ว กระต่ายเอง ก็มีของเล่นได้นะคะการเลือกของเล่น เลือกแบบที่ไม่มีสีดีกว่า หรือหากมีสีก็ควรจะเป็นสีผสมอาหารนะคะประเภทไม้ที่ชุบสีทาบ้านเนี่ย ไม่ดีค่ะ เป็นอันตรายกับกระต่าย

วันนี้มีของเล่นของกระต่ายมาฝากค่ะเผื่อใครสนใจ

แกนทิชชู่ค่ะ
ใส่เอาไว้ในกรงก็ได้ค่ะกระต่ายจะแทะเล่นหรือไม่ก็เอามาเหวี่ยงเล่นอีกด้วย

กล่องกระดาษค่ะเอาแบบแข็งๆ
แข็งแรงๆนะคะเอามาเจาะเป็นรูประตูเข้าออก ค่ะ ใช้เป็นที่หลบได้ กระต่ายจะมุดเข้าไปสำรวจและอาจจะแทะเล่นอีกด้วย ที่อยากให้หาเป็นกล่องแข็งๆ เพราะว่าบางทีกระต่ายจะปีนขึ้นไปบนหลังกล่องค่ะ กลัวว่าจะคว่ำลงมา ใครมีไอเดียเจ็งๆฝีมือดีๆ จะตกแต่งบ้านกระดาษให้สวยถูกใจน้องกระต่ายก็ทำได้ค่ะ


(Photo Credit: http://www.cjpet.co.uk/chateau.html)

นอกจากนี้อาจจะดัดแปลงกล่องเป็นกล่องสมบัติค่ะ ในกล่องกระดาษนั้นใส่หญ้าลงไปกระต่ายจะขุดคุ้ยเล่นค่ะ และแทะกินหญ้าในกล่องไปในตัว

ถุงกระดาษแบบไม่มีลายไว้ให้มุดเล่น ขุดเล่น และไว้ให้แทะเล่น


ไม้ลับฟันไว้ให้กระต่ายลับฟันเล่นป้องกันฟันยาวได้อีกด้วย



พวกผ้าขนหนูเก่าๆ
ก็มีประโยชน์ค่ะเอาไว้ให้มุดเล่น หรือ ดึงเล่น แต่อย่าทิ้งไว้ในกรงนะคะเพราะว่ากระต่ายอาจจแทะเอาผ้าเข้าไป และย่อยไม่ได้ เป็นต้น

พวกตะกร้าสานที่ไม่ใช้แล้ว
ใส่ไว้ในกรงก็ได้ค่ะให้กระต่ายแทะเล่น

พวกของเล่นสุนัขค่ะ
กระต่ายบางตัวชอบเอามาเล่น โดยเอาปากงัดโยนไปมาแต่อย่าเลือกแบบที่กระต่ายเคี้ยวได้ หรือเล็กจนติดคอได้นะคะ

แล้วก็พวกของเล่นกลมๆ
ที่กลิ้งได้ มีเสียงกรุ๊งกริ๊งๆ แบบนี้กระต่ายบางตัวชอบนะ จะบอกให้

กะบะอาหารสแตนเลส
ว่างๆ ลองใส่ไว้ในกรงดูนะคะกระต่ายบางตัวชอบเอาปากงับเหวี่ยงเล่นค่ะ

บ้านบันไดโพรงค่ะ
สำหรับการแทะเล่น และ การกระโดดขึ้นลง ออกกำลังกายกระต่ายชอบปีนขึ้นไปนอนที่สูงๆด้วยนะคะ เพราะว่าจะทำให้เห็นวิวชัดขึ้นเค้าจะปีนขึ้นไปนอนบนบ้านบันไดโพรงค่ะนอกจากนี้ยังใช้บ้านบันไดโพรงเป็นที่ลับฟันอีกด้วย (กระต่ายชอบมากอันนี้แนะนำเลยค่ะ อยากให้มีไว้ในกรง)

ขอนไม้
ใส่ขอนไม้ไว้ในกรงด้วยก็ได้ค่ะกระต่ายจะฝึกวิชาตัวเบากระโดดข้ามเล่นไปมา และ แทะเล่นนอกจากนี้ขอนไม้ยังให้ความรู้สึกเป็นธรรมชาติแก่กระต่ายอีกด้วย อ้ออย่าใช้ไม่ที่มีเสี้ยนหรือยางนะคะ

กระดาษขาวไม่มีลาย
เหมาะแก่การให้กระต่ายฉีกเล่นค่ะหรือใช้ในการลับเล็บ ในการขุดเป็นต้น พยายามเลี่ยงกระดาษหนังสือพิมพ์ค่ะเพราะว่ามีหมึกพิมพ์ซึ่งไม่ดีต่อสุขภาพกระต่าย

หญ้าแห้งค่ะ
หรือหญ้าธรรมดาก็ได้ค่ะเอามามัดเข้าด้วยกันเป็นฟ่อนหญ้า กระต่ายจะสนุกกับการดึกหญ้าออกมาจากฟ่อนและเคี้ยวกินหญ้าค่ะ

ฝาอย่างฝาขวดที่เป็นพลาสติก
น่ะค่ะกระต่ายบางตัวก็ชอบคาบแล้วเหวี่ยงเล่นเหมือนกัน เอาฝาใหญ่ๆหน่อยนะคะเอาแบบงับเล่นได้ แต่กินไม่ได้ ป้องกันไม่ให้ติดคอน้องกระต่าย

การอยู่ในกรงทั้งวันน่ะ น่าเบื่อจะตายไปเราควรจะมีของเล่นมาให้น้องกระต่ายมั่งนะคะ
วิธีการดูอายุของกระต่ายแบบคร่าวๆ

เนื่องจากปัญหาส่วนใหญ่ที่เรามักจะพบกันบ่อยก็คือ ผู้ขายกระต่ายบางส่วนได้เอากระต่ายที่ยังไม่หย่านม คือมีอายุไม่เกิน 2 เดือนมาขายโดยเอามาหลอกขายว่าเป็นกระต่ายแคระ บางตัวอายุเพียงแค่ 3 สัปดาห์ด้วยซ้ำ ดังนั้นเราจึงควรจะเรียนรู้วิธีการเลือกซื้อลูกกระต่าย เพื่อจะได้ ไม่โดนหลอกกันอีก
อย่าซื้อเลยค่ะลูกกระต่ายที่ยังไม่หย่านมโอกาสรอดน้อยค่ะเพราะนั่นคือเรากำลังฆ่าลูกกระต่ายเหล่านั้นทางอ้อม ปล่อยให้เค้าอยู่กับแม่ของเค้าจนถึงเวลาที่เหมาะสมดีกว่าค่ะ แล้วเราจะได้ลูกกระต่ายที่แข็งแรงสุขภาพและสุขภาพจิตดี อีกด้วย

อีกอย่างนะ ลูกกระต่ายน่ะดูน่ารักก็จริงแต่อายุขนาดนั้น ฟอร์มยังไม่ออกหรอกค่ะ เลือกซื้อหลังจากอายุ 2-3 เดือนไป ยิ่งดีเพราะว่า เราจะเห็นลักษณะเค้าชัดเจนยิ่งขึ้นว่าสวยจริงหรือไม่

ลูกกระต่ายหย่านมแล้วหรือหรือไม่

กระต่ายที่อายุน้อยเกินไปลักษณะจะเป็นดังนี้
ขนจะอ่อน เป็นขนที่ยังไม่ผลัด
ส่วนขาโดยเฉพาะขาหลังจะยังยืดไม่เต็มที่
นิ้วจะยังไม่ค่อยออก นิ้วจะสั้นๆ
หูจะสั้นๆ และแข็งเมื่อลองสัมผัสเทียบกับกระต่ายโต พันธุ์เดียวกัน
ส่วนใหญ่แล้ว ลักษณะจะนอนทั้งวันจะเดินไม่คล่อง ยังต้วมเตี้ยม ขี้ตกใจ
ฟันจะเห็นว่าฟันบางตัวจะยังขึ้นไม่สมบูรณ์ยังเป็นเพียงจุดขาวๆ ยื่นออกมาสั้นๆก็มี
ส่วนกระต่ายอายุมากเกินไป
กระต่ายมีอายุที่เหมาะสมในการผสมเช่นกันในบางรายอาจจะเอากระต่ายที่โตแล้ว และเพาะลูกมาระยะหนึ่ง จนใกล้จะหมดเวลาที่เหมาะสมอาจจะมีการคัดกระต่ายทิ้งไป เพื่อหาพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ใหม่มาแทนแล้วเอากระต่ายแก่มาหลอกขาย เป็นต้น วิธีป้องกันในการไม่ไปซื้อกระต่ายอายุมากเกินไปก็คือ

การตรวจดูที่ฟันของกระต่ายฟันกระต่ายหนุ่มสาวจะมีสีขาวเหมือนไข่มุก แต่ถ้ากระต่ายอายุมากยิ่งมากฟันจะยิ่งเหลือง
ส่วนไขมันใต้คาง กระต่ายยิ่งอายุมาก ไขมันใต้คางจะยิ่งหนา
ดูจากเล็บกระต่าย ยิ่งเล็บยาวม้วนมากอายุจะยิ่งมาก แต่ถ้าหากว่า โดนตัดเล็บไป เราอาจจะตรวจดูจากฐานเล็บหากความกว้างของฐานเล็บยิ่งมาก กระต่ายจะยิ่งมีอายุมากค่ะ
หวังว่าจะมีประโยชน์แก่เพื่อนๆ และหวังว่าจะช่วยชีวิตลูกกระต่ายได้อีกหลายๆชีวิตค่ะเลิกซื้อเลิกขายลูกกระต่ายที่ยังไม่หย่านมกันเถอะ เพราะเค้าคือชีวิตที่ไม่มีทางสู้ ......
สำหรับคุณแม่มือใหม่ ที่จู่ๆ น้องกระต่ายที่ดูเหมือนอ้วนก็ออกลูกตัวแดงๆ ออกมาจะทำยังไงดี คนที่แม่กระต่ายใกล้จะออกลูกก็ควรศึกษาไว้นะคะถึงเวลาจะได้พร้อมค่ะ
อย่าเพิ่งตกใจค่ะ ที่นี่มีคำตอบ ใจเย็นๆ แล้วค่อยๆทำตามเป็นข้อๆนะคะ

1. แยกตัวผู้
ถ้ายังไม่ได้แยกตัวผู้ออก รีบแยกออกก่อนตัวเมียจะคลอดลูกแต่ของใครออกลูกมาแล้วโดยที่ยังไม่ได้แยกตัวผู้ ก็อย่าปล่อยเลยตามเลยนะคะรีบแยกตัวผู้ออกซะดีๆ



2. เตรียมรังคลอด
.
ในกรงกระต่ายมีรังคลอดหรือยังคะ ที่จริงควรใส่ไว้ในตั้งแต่แม่กระต่ายยังไม่ออกลูกค่ะ ถ้ายังไม่ได้เตรียมไว้ ก็ควรจะรีบไปหามาค่ะแม่กระต่ายบางตัวจะเข้าไปออกในรังที่เราเตรียมไว้ให้ หลังจากแม่กระต่ายออกลูกแล้วเค้าจะเลียทำความสะอาดลูก ซึ่งหลังจากแม่กระต่ายทำความสะอาดลูกแล้วเราก็สามารถเข้าไปตรวจดูได้ค่ะ ว่ามีลูกกระต่ายตายบ้างหรือไม่ถ้าพบว่าตายก็ควรจะเก็บออกค่ะ เพราะว่าถ้าปล่อยไว้ อาจจะทำให้ฝูงมดมาค่ะทีนี้ลูกกระต่ายตัวอื่นๆจะโดนมดกัดตายตามไปด้วย

แต่ถ้าแม่กระต่ายไม่ยอมออกในลูกรังคลอดที่เราเตรียมไว้ให้เราก็สามารถจะจับลูกกระต่าย ไปไว้ในรังคลอดได้ค่ะการปล่อยลูกกระต่ายไว้นอกรังคลอดไม่ดีหรอกค่ะ เพราะว่า ขาลูกกระต่ายหรือตัวลูกกระต่าย อาจจะตกลงไประหว่างซี่กรง และโดนแม่เหยียบตายได้

ซึ่งกระต่ายไม่มีปัญหาเรื่องการผิดกลิ่นหรอกค่ะ ไม่ต้องห่วงค่ะเราสามารถจะจับลูกกระต่ายได้ค่ะ แต่หากใครกลัวมากๆจะเอามือไปถูๆที่ขนแม่กระต่ายก่อนค่อยมาจับลูกกระต่ายเพื่อความสบายใจก็ไม่ผิดกติกาค่ะ

3. จัดกรงให้ปลอดภัยแก่ลูกกระต่าย
ในกรณีที่แม่กระต่ายไม่ยอมทึ้งขนแล้วอากาศค่อนข้างเย็นเนี่ย เราอาจจะช่วยลูกกระต่ายให้มีที่นอนนุ่มๆอุ่นๆได้ค่ะโดยไปหาสำลีแบบก้อนๆค่ะ ที่ขายตามโลตัสเป็นก้อนใหญ่ๆ เอามาปูในกรงก็ได้ค่ะลูกกระต่ายจะซุกตัวเข้าไปนอนเหมือนกับเป็นขนของแม่ค่ะ (กรณีที่ลูกกระต่ายที่แม่ไม่เลี้ยง ก็เอาสำลีมาปูได้ ไม่ผิดกติกาค่ะ)

นอกจากนี้ ตามพื้นกรงที่เป็นซี่ๆ ลูกกระต่ายอาจจะตกลงไประหว่างซี่ หรือขาติดระหว่างซี่กรง แล้วโดนเหยียบได้ ซึ่งเพื่อนๆ สามารถจะป้องกันได้โดยการปูพื้นกรงด้วยหญ้าแห้งค่ะอาจจะเป็น หญ้าขนแห้งๆหรือหญ้าแห้ง Timothy ที่ขายเป็นถุงๆก็ได้ค่ะ เพื่อปิดซี่ห่างของพื้นกรงซึ่งนอกจากจะเพิ่มความปลอดภัย แม่กระต่ายยังสามารถจะใช้รองนอนลูกกระต่ายก็ได้รับความอบอุ่นและแม่กระต่ายยังสามารถจะแทะหญ้าแห้งเหล่านี้กินได้อีกด้วย



4. แม่กระต่ายเลี้ยงลูกหรือเปล่า
หากแม่กระต่ายดูเหมือนไม่ยอมเลี้ยงลูก ไม่ต้องตกใจกลัวนะคะเจ้าของส่วนใหญ่มักจะกังวลเมื่อเห็นว่า แม่กระต่ายไม่ยอมไปนอนกกลูกแถมบางทีก็ไม่เห็นว่าเลี้ยงนมลูกอีกต่างหาก ก็เลยกลัวกันว่าแม่กระต่ายไม่เลี้ยงแต่จริงๆแล้ว อาจจะไม่ใช่อย่างที่เพื่อนๆ เข้าใจนะคะ เพราะว่าแม่กระต่ายไม่ใช่แม่ไก่ค่ะ เค้าไม่กกลูกทั้งวันหรอกค่ะแต่ว่าเค้าจะให้นมลูกแค่วันละ ไม่เกิน 2 ครั้งค่ะ คือตอนเช้าตรู่ครั้งและตอนกลางคืนอีกครั้งค่ะ

ส่วนเวลาที่เหลือเค้าจะแยกไปดูลูกอยู่ห่างๆค่ะทั้งนี้ก็เพราะตามธรรมชาติแล้วกระต่ายจะไปออกลูกในโพรงการที่แม่กระต่ายอยุ่กับลูกที่โพรงตลอดเวลานั้น จะทำให้เป็นเป้าสนใจแก่ผู้ล่าค่ะอย่าลืมว่าหากมีศัตรูมาโจมตี กระต่ายไม่มีทางสู้ได้เลยนอกจากการหนีให้เร็วที่สุดแต่ว่าลูกกระต่ายแรกเกิดนั้น ตายังไม่ลืม หูไม่ได้ยิน มองไม่เห็น เดินไม่ได้ป้องกันตัวเองไม่ได้เลย แม่กระต่ายส่วนใหญ่จึงมักจะต้องอยู่ห่างๆลูกไว้เพื่อไม่ให้ตกเป็นเป้าของศัตรูนั่นเอง

วิธีดูว่าลูกกระต่ายได้รับนมจากแม่หรือไม่
วิธีดูง่ายๆคือลูกกระต่ายที่ได้กินนมแม่เนี่ยตรงท้องบางๆของเค้าจะเต่งกลมค่ะ และมองดีๆจะเห็นนมสีขาวๆ อยู่ใต้ผิวบางๆ



ส่วนลูกกระต่ายที่แม่ไม่ยอมเลี้ยง เราจะเห็นว่าตัวเค้าเหี่ยวๆค่ะท้องไม่เต่งเต็มเหมือนตอนคลอดออกมา


4. หาแม่บุญธรรมถ้าแม่กระต่ายไม่เลี้ยง
ถ้าแม่กระต่ายไม่เลี้ยงเนี่ยเราจำเป็นจะต้องหาแม่บุญธรรมค่ะ ลูกกระต่ายเลี้ยงมือไม่ค่อยรอดนะคะ เราเคยเลี้ยงมือมีอยู่ตัวหนึ่ง แม้จะรอดแต่ก็ตายไม่นานหลังอายุหย่านมหลายๆคนก็เคยเจอแบบเดียวกันค่ะ
ทางที่ดีที่สุดคือ หาแม่บุญธรรมค่ะเป็นแม่กระต่ายที่คลอดลูกไล่เลี่ยกัน ลองประกาศหาตามบอร์ดต่างๆอาจจะมีคนช่วยเหลือได้ รวมทั้งถามจากฟาร์มที่ซื้อมาค่ะเผื่อเค้าจะมีแม่กระต่ายลูกอ่อน
5. อย่าลืมน้ำและอาหารของแม่กระต่าย
อย่าลืมเรื่องน้ำและอาหารของแม่กระต่ายด้วยนะคะดูแลเค้าให้เค้ามีน้ำและอาหารอย่าให้ขาดค่ะ :)

กระต่ายกลับมาบ้านแล้วเลี้ยงไปเลี้ยงมา ไม่กี่วันก็เสียชีวิตโดยไร้สาเหตุจึงเกิดคำร่ำลือมากมายว่ากระต่ายเลี้ยงยากตายง่าย ทำให้หลาย ๆคนเลิกคิดที่เลี้ยงกระต่ายไปเลยแต่โดยความเป็นจริงแล้วกระต่ายไม่ใช่เป็นสัตว์ที่เลี้ยงยากอย่างนั้นเลย จริงๆแล้วกระต่ายเป็นสัตว์ที่แข็งแรงและอดทนมาก ฉะนั้นต่อไปนี้เราจะมาดูกันว่าครั้งต่อไปเวลาเราจะเลือกกระต่ายสวยและสุขภาพดีกลับบ้าน จะต้องทำอย่างไรบ้าง ...
 
 
 
1.สถานที่ขาย
เบื้องต้นต้องดูเรื่องของความสะอาดหากเป็นร้านจำหน่ายทั่วไปดูได้จากการจัดการร้าน ควรจะสะอาดกระต่ายในร้านควรมีสุขภาพดี มีความตื่นตัวสูง หากเป็นฟาร์มโรงเรือนต้องถูกสุขลักษณะ มีการจัดการเรื่องของสุขาภิบาลอย่างถูกต้องกระต่ายในฟาร์มต้องสมบูรณ์ไม่มีตัวใดตัวหนึ่งเป็นโรคเพราะฟาร์มนั้นเลี้ยงกระต่ายร่วมกันมากมายหากตัวใดเป็นโรคโอกาสในการแพร่เชื้อจะสูงตามไปด้วย ควรซื้อกระต่ายจากแหล่งที่เชื่อถือได้และต้องมีการรับประกันสุขภาพ เช่น ใบรับรองสุขภาพ รวมทั้งต้องมี ใบเพ็ดดีกรีด้วยซึ่งจะต้องบอกรายละเอียด วันเดือนปีเกิดของตัวกระต่ายเอง รวมถึงรายละเอียดของพ่อแม่ปู่ย่าตายาย 3 รุ่นขึ้นไป
2.สุขภาพ
การเลือกกระต่ายสุขภาพดีสำคัญมากกว่าสีสัน ลวดลาย หรือสิ่งใดๆการที่จะรู้ได้ว่ากระต่ายมีสุขภาพดีหรือไม่ เรามีวิธีที่สามารถตรวจสอบด้วยตนเองโดยใช้วิธีตรวจสอบในจุดหรืออวัยวะส่วนต่าง ๆ ของกระต่ายดังนี้ คือ
ตา
ดวงตากระต่ายต้องสดใส ปราศจากขี้ตามองดูสีตาต้องถูกต้องตรงตามมาตรฐานสายพันธุ์และสีตัว ไม่มีโรคเกี่ยวกับสายตา เช่นต้อกระจก ผิวหนังรอบ ดวงตาต้องไม่เป็นสะเก็ดหรือร่องรอยบาดแผลรวมทั้งไม่มีเชื้อรารอบดวงตาด้วย
จมูก
โพรงจมูกกระต่ายต้องปกติไม่มีร่องรอยของอาการหวัด เช่นมีน้ำมูกเกรอะกรัง ปกติจมูกกระต่ายจะมีลักษณะที่เปียกนิดหน่อย แต่ไม่ควรชื้นแฉะเพราะนั่นคืออาการของไข้หวัด
ปาก-ฟัน
สิ่งสำคัญที่จะต้องดูเป็นพิเศษก็คือ ปากและฟันเปิดปากกระต่ายเพื่อตรวจดูฟันซี่หน้า ต้องสบกันพอดีฟันหน้าคู่บนต้องอยู่ด้านหน้าของฟันหน้าคู่ล่างเล็กน้อย แต่ต้องไม่มีอาการเอียง เกยื่น บิดเบี้ยว หรือแตกหักการตรวจฟันกระต่ายสำคัญมากเพราะกระต่ายอายุน้อยจะยังไม่แสดงอาการไม่พึงประสงค์หรือโรคทางพันธุกรรมออกมาแต่เมื่อคุณเลี้ยง ๆ ไป อาการเหล่านี้จะค่อย ๆ แสดงออกมาและจะกลายเป็นฝันร้ายสำหรับคุณไปตลอดเพราะการดูแลกระต่ายที่มีฟันผิดปกติเป็นภาระที่หนักหนาสาหัสมากคุณต้องตัดฟันกระต่ายเองหรือให้สัตวแพทย์ตัดให้ทุก 2 สัปดาห์เพราะกระต่ายที่เป็นโรคฟันยื่นจะทานอาหารได้ลำบากมาก
หู
ตรวจดูใบหูต้องสะอาดมองดูในรูหูต้องไม่มีขี้หูอุดตัน เพราะอาจเป็นรังของตัวเห็บไรได้
 
ท้อง
ตรวจดูขนบริเวณใต้ท้องต้องแน่นและปกคลุมมองไม่เห็นหนังท้องใสเพราะอาจเป็น โรคพยาธิ หรือโรคอื่น ๆ ที่ยังไม่แสดงอาการออกมา
เท้า
ตรวจดูเท้าทั้ง 2 คู่ต้องเดินและกระโดดเป็นปกติ ไม่มีอาการแบะหรือถ่างขนใต้เท้าคู่หลังทั้งสองข้างต้องหนาและไม่มีแผลบริเวณใต้เท้า
เล็บ
เล็บเท้าต้องมีครบทุกนิ้วกระต่ายมีนิ้วทั้งหมด 18 นิ้ว ขาหน้ามีข้างละ 5 นิ้ว ในขณะที่ขาหลังมีข้างละ 4 นิ้วเท่านั้น สีของเล็บต้องถูกต้องตามสายพันธุ์หนังหุ้มเล็บต้องไม่ตกสะเก็ดเป็นแผลหรือเป็นเชื้อราหรืออักเสบเป็นผื่นคัน
ขน
กระต่ายสุขภาพดีต้องมีขนเป็นมันสลวยไม่หยาบกร้านหรือหลุดร่วงง่ายสังเกตุจากความแน่นหนาของขน สีสันต้องชัดเจน ผิวหนังใต้ขนต้องไม่มีสะเก็ดแผลผื่นคัน หรือแข็งกระด้าง คุณสามารถตรวจสอบได้ด้วยตนเองใช้มือลูบขนเพื่อตรวจสอบผิวหนังใต้ขนในจุดต่าง ๆต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่งหากคุณกำลังจะซื้อกระต่ายสายพันธุ์ที่มีขนยาวขนที่ยาวนั้นสามารถซ่อนสิ่งต่าง ๆ ไว้ได้มากมาย
ลำตัว
จับบริเวณลำตัวกระต่ายเนื้อต้องแน่นเวลาคลำดูกระดูกสันหลังต้องไม่ปูดโปน กระต่ายต้องไม่อ้วนหรือผอมจนเกินไปเนื้อสะโพกต้องเต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ
ลักษณะโดยทั่วไป
กระต่ายที่สุขภาพดีจะต้องร่าเริง ตื่นตัวและดูแลทำความสะอาดตัวเองอยู่เสมอ กระต่ายที่เป็นโรคจะเก็บตัวนอนนิ่ง ๆไม่ค่อยวิ่งซุกซนมีอาการซึม
 

 
หลังจากที่เราได้เรียนรู้เรื่องของการเลือกซื้อกระต่ายและจัดหาอุปกรณ์ที่ใช้ในการเลี้ยงกระต่ายได้ครบถ้วนแล้วก็มาถึงเรื่องสำคัญที่สุดในการเริ่มต้นที่ดีกับกระต่ายสมาชิกใหม่ในบ้านหลังน้อยของเราการเริ่มต้นที่ดีจะช่วยให้การฝึกกระต่ายเป็นเรื่องน่าสนุกมาดูกันว่ามีเรื่องใดที่เราต้องให้ความสำคัญกับบ้านใหม่ของกระต่าย
๐ บ้านในฝันของกระต่าย ๐
กระต่ายก็ต้องการบ้านในฝันเช่นกันการเลือกกรงที่ใช้สำหรับเลี้ยงกระต่ายนั้นควรเลือกกรงที่มีขนาดใหญ่กว่าตัวกระต่ายเมื่อโตเต็มวัย 4 เท่า เป็นอย่างน้อย เพราะกระต่ายต้องการพื้นที่ไว้สำหรับกิจกรรมส่วนตัวทั้งออกกำลังกาย นอน ขับถ่าย ซึ่งทั้งหมดนั้นเราควรจัดแบ่งเป็นสัดส่วนที่ชัดเจนเพื่อเป็นการฝึกให้กระต่ายได้ใช้พื้นที่ให้เหมาะสมและมีสุขอนามัยที่ดี ดังเช่นส่วนที่เป็นเรื่องของการขับถ่ายควรเลือกมุมกรงด้านใดด้านหนึ่งไว้โดยเฉพาะพื้นที่ที่ใช้สำหรับนอนอาจทำเป็นโพรงไม้ขนาดให้พอดีกับกระต่ายเพื่อใช้เป็นที่สำหรับการหลับนอนก็เอาไว้อีกมุมหนึ่งพื้นที่ที่ให้อาหารก็ควรจัดรวมไว้อีกมุมหนึ่งของกรง เพื่อสุขภาพที่ดีของกระต่าย
๐ จัดสถานที่ให้ปลอดภัย
ตำแหน่งที่เราใช้วางกรงเพื่อให้กระต่ายอยู่อย่างสงบนั้นเป็นเรื่องสำคัญที่สุดกระต่ายเป็นสัตว์ที่ต้องการสภาพแวดล้อมที่สงบและปลอดภัยสถานที่ที่ใช้เลี้ยงกระต่ายต้องปลอดภัยจาก แสงแดด ละอองฝน และลมพัดโกรกตลอดวันตำแหน่งที่เหมาะสมคือสถานที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก สงบไม่มีการรบกวนจากเสียงต่างๆ รอบด้าน และต้องให้มั่นใจว่ากระต่ายจะปลอดภัยจากสัตว์เลี้ยงหรือสัตว์อันตรายต่างๆ เช่น สุนัข แมว มด และงู ที่อาจเข้ามาทำร้ายกระต่ายได้ เมื่อเราหาทำเลเหมาะ ๆได้แล้ว ก็เริ่มจากการประกอบอุปกรณ์การเลี้ยงกันเลย
๐ จัดอุปกรณ์ให้เข้าที่เข้าทาง ๐
-
ประกอบกรงพร้อมทั้งจัดวางให้แน่นหนา
-
นำอาหารเม็ดใส่ในกระถางใส่อาหาร
-
นำขวดน้ำเติมน้ำให้เต็มแล้วแขวนไว้ในตำแหน่งที่กระต่ายสามารถดูดได้ถนัด
-
ประกอบที่แขวนหญ้าไว้ในตำแหน่งต่ำกว่าขวดน้ำดื่มเล็กน้อย
-
นำโพรงไม้ใส่ไว้ให้กระต่ายได้ใช้นอน
๐ นำกระต่ายเข้าบ้านใหม่ ๐
จับกระต่ายด้วยความนุ่มนวลนำกระต่ายใส่ไว้ภายในกรง จากนั้นปิดประตูกรงให้แน่นหนาและให้เวลากับกระต่ายได้ใช้สัญชาตญาณในการสำรวจที่อยู่ใหม่ของเค้าอย่าเพิ่งไปเล่นหรือรบกวนกระต่ายถึงตอนนี้เราก็เริ่มเรียกชื่อเพื่อให้เค้าได้คุ้นเคยกับชื่อใหม่ได้แล้วเรื่องชื่อกระต่ายก็สำคัญไม่น้อย ควรเป็นชื่อที่มีไม่เกิน 3 พยางค์เพราะหากเกินกว่านั้นจะเป็นอุปสรรคในการฝึกให้กระต่ายจดจำชื่อของตนเองหลังจากนั้นปล่อยกระต่ายไว้ในกรงสัก 1-2 วัน โดยไม่อุ้มหรือปล่อยให้ออกมาเล่นนอกกรงเพื่อให้กระต่ายได้ทำความคุ้นเคยกับกรงของตนเองระหว่างนี้หากต้องการเล่นกับกระต่ายให้เล่นด้วยการนำอาหาร เช่น หญ้าแห้งแครอทหรือผักสดป้อนให้เค้า เพื่อฝึกให้กระต่ายได้คุ้นเคยกับกลิ่นของเราระหว่างนี้ก็ให้พูดคุยเรียกชื่อกระต่ายบ่อย ๆ ห้ามอุ้มหรือปล่อยให้ออกมาวิ่งเล่นจำไว้ว่าเสียงดังจะทำให้กระต่ายตื่นกลัวและต้องใช้เวลานานมากขึ้นในการปรับตัวให้เข้ากับสถานที่ดังนั้นการเริ่มต้นที่ดีจะช่วยให้กระต่ายปรับตัวได้ดี และรวดเร็วยิ่งขึ้น
 
 
 
 
       
 

วิธีการเลี้ยงกระต่าย
วิธีการเลี้ยงกระต่ายเป็นสิ่งสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งสำหรับการเลี้ยงและพัฒนาพันธุ์กระต่ายถ้าเราอยากให้กระต่ายของเราสมบูรณ์ แข็งแรง น่ารักเราก็ต้องมาทำความเข้าใจกับธรรมชาติของกระต่ายเสียก่อน ว่าเค้าชอบอะไรไม่ชอบอะไรอะไรทานได้ อะไรทานไม่ได้ เราถึงจะได้ดูแลเค้าได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมอาหารสำเร็จรูป หญ้า ผัก ผลไม้และน้ำ รวมถึงวิธีการให้จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้เลี้ยงจะต้องรู้เป็นอย่างดีซึ่งสิ่งนี้จะทำให้กระต่ายมีความสุขและมีสุขภาพที่แข็งแรง สมบูรณ์
น้ำเป็นโภชนาการที่สำคัญที่สุดน้ำที่สะอาดและเปลี่ยนใหม่อยู่เสมอ เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้เลี้ยงจะละเลยไม่ได้ถ้าหากกระต่ายขาดน้ำกระต่ายจะไม่ยอมทานอาหารอะไรเลยจึงแนะนำว่าควรเปลี่ยนน้ำเช้า-เย็น นอกจากนี้อาทิตย์หนึ่งๆควรมีสักวันหยดวิตามินรวม น้ำสีแดงๆ ให้กระต่ายสัก 2-3 หยด ต่อน้ำครึ่งลิตรเพื่อให้กระต่ายได้รับวิตามินบางตัวที่ไม่มีในอาหาร เช่นวิตามินบี ซีและเคการผสมวิตามินลงในน้ำสามารถช่วยลดอาการเครียดและเป็นผลดีต่อกระต่ายแม่พันธุ์ที่ผสมติดต่อกันหลายครอกน้ำเป็นสิ่งจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของกระต่ายและโดยเฉพาะในกระต่ายขนน้ำจะช่วยให้ขนกระต่ายมีคุณภาพที่ดีจำไว้ว่าลิ้นของกระต่ายค่อนข้างไวต่อรสชาติของน้ำที่เปลี่ยนไปและในบางครั้งเค้าอาจจะไม่ยอมดื่มน้ำที่แปลกกว่าที่เคยทานแม้ว่าจะเป็นช่วงระยะเวลาอันสั้น ที่กระต่ายขาดหรือไม่ยอมทานน้ำแต่สิ่งนี้อาจจะส่งผลให้เกิดเมตาโบลิซึมของการสร้างขนที่เปลี่ยนแปลงไปซึ่งอาจจะทำให้ขนกระต่ายพันกันได้
อาหารเม็ดสำเร็จรูปที่มีสารอาหารครบถ้วนและสัดส่วนพอเหมาะเป็นสิ่งจำเป็นต่อการเจริญเติบโตและสุขภาพของกระต่ายกระต่ายทั่วไปมีความต้องการโปรตีน 14-17 เปอร์เซ็นต์ ไขมัน 2-4 เปอร์เซ็นต์และไฟเบอร์อย่างน้อย 16 เปอร์เซ็นต์โดยทั่วไปอาหารเม็ดสำเร็จรูปตามท้องตลาดมักจะมีอัตราส่วนอย่างพอเหมาะอยู่แล้วและยังมีสารอาหารอื่นๆที่จำเป็นเช่น วิตามินและเกลือแร่แต่ผู้เลี้ยงสามารถผสมหรือให้ผักผลไม้อื่นๆเพิ่มเติมอีกได้โดยสามารถให้อาหารกระต่ายทุก 12 ชั่วโมงแต่เนื่องจากกระต่ายเป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางคืนฉะนั้นเวลาที่เหมาะสมสำหรับการให้อาหารคือในช่วงเช้าตรู่และตอนหัวค่ำกระต่ายเล็กอายุน้อยกว่า 3 เดือนควรจะได้รับอาหารเม็ดอย่างพอเพียงอาหารเม็ดใหม่ๆและเปลี่ยนทุกวัน เช้าเย็น ควรจะมีไว้ตลอดอย่าให้ขาดเมื่อกระต่ายอายุมากขึ้นการจำกัดอาหารตามปริมาณที่เหมาะสมเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งเพราะปัญหาหลักของการให้อาหารกระต่ายก็คือการให้อาหารมากเกินไปถ้าเราให้อาหารเค้ามากเกินไป กระต่ายจะอ้วนและไม่แข็งแรงซึ่งจะส่งผลโดยตรงกับการผสมพันธุ์ติดยาก เพราะฉะนั้นแม้ว่ากระต่ายจะทานอาหารทั้งหมดที่ท่านให้ แต่ก็ต้องจำกัดอาหารอย่างเคร่งครัดสูตรง่ายๆของการให้อาหารเม็ด คือ ให้อาหาร 50 กรัมต่อน้ำหนักกระต่าย 1 กิโลกรัมต่อวัน
 
· กระต่ายขนาดเล็กเล็ก เช่น โปลิช และดัทช์ ให้ทาน 40 กรัมต่อมื้อ
· กระต่ายหูตกพันธุ์เล็ก เช่น ฮอลแลนด์ลอปและอเมริกันฟัซซี่ลอป ให้ทาน 40 กรัมต่อมื้อ
· กระต่ายแคระ สายพันธุ์เนเธอร์แลนด์ดวอฟ ให้ทาน 35 กรัมต่อมื้อ
หญ้าขนเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการควบคุมโภชนาการของกระต่ายเพราะหญ้าขนเป็นแหล่งไฟเบอร์อย่างดีซึ่งช่วยให้กระต่ายมีระบบการย่อยอาหารที่สมบูรณ์ดังนั้นผู้เลี้ยงจึงควรมีหญ้าขนที่สดและสะอาดไว้ในกรงตลอดเวลาหญ้าขนที่นำมาให้กระต่ายทานควรจะทำความสะอาดเสียก่อนโดยการแช่น้ำผสมด่างทับทิมไว้อย่างน้อย 30 นาทีถ้าไปเก็บมาจากสถานที่ที่เสี่ยงต่อการมียาฆ่าแมลงตกค้างก็ควรจะเลี่ยงหรือแช่ให้นานกว่านั้นเพราะกระต่ายเป็นสัตว์ที่ไวต่อสิ่งมีพิษและอาจจะตายได้ในทันทีนอกจากนี้หญ้าขนยังจำเป็นสำหรับกระต่ายพันธุ์ขนเพราะนอกจากจะช่วยป้องกันอาการขนพันกันแล้วหญ้าขนยังมีส่วนช่วยในการงอกใหม่ของขนอีกด้วย
หญ้าขนให้ได้ อัลฟัลฟ่าและฟางไม่สมควรให้อัลฟัลฟ่าเป็นหญ้าชนิดหนึ่งที่มีกลิ่นหอม และกระตุ้นการกินอาหารของกระต่ายแต่ไม่ควรให้มากหรือบ่อยเกินไป เพราะอัลฟัลฟ่ามีโปรตีนสูงซึ่งจะมีผลต่อไตของกระต่าย อาจะทำให้เกิดอาการไตวายเฉียบพลันโดยเฉพาะกระต่ายพันธุ์เล็ก โปรตีนที่มากเกินไปจะมีผลเสียต่อไตและอวัยวะภายในอื่นๆกระต่ายที่ได้รับโปรตีนสูงเกินไป อาจจะมีอาการชักกระตุก หายใจถี่ น้ำมูกไหลและตายอย่างเฉียบพลันในที่สุด ฟางก็ไม่สมควรให้เป็นอาหารกระต่ายเพราะไม่มีคุณค่าทางโภชนาการใดๆ
ผลไม้ กระต่ายสามารถทานผลไม้ได้บางชนิดเท่านั้นเช่นแอ็บเปิ้ล กล้วยน้ำว้า มะละกอ ฝรั่ง ส้ม แครอท สับปะรด สำหรับผลไม้ที่มีน้ำเยอะเช่น แตงโม แตงกวา ไม่สมควรให้เพราะอาจจะทำให้กระต่ายท้องเสียได้โดยเฉพาะกล้วยน้ำว้าเหมาะสมสำหรับกระต่ายเล็กที่เพิ่งเริ่มหัดทานอาหารอื่นนอกจากนมแม่ อายุตั้งแต่ 3 สัปดาห์ขึ้นไป เพราะว่ากล้วยน้ำว้ามีโปรตีนแคลเซียมและสารอาหารอื่นๆ ที่จำเป็นต่อพัฒนาการของกระต่ายเด็กมะละกอเป็นผลไม้ที่มีความจำเป็นสำหรับกระต่ายมาก เพราะว่าช่วยป้องกันอาการเกิดก้อนขนไปอุดทางเดินอาหาร (Hair Ball) มะละกออบแห้ง เพียงชิ้นเล็กๆ ต่อวันเป็นสิ่งที่พึงกระทำเป็นกิจวัตร นอกจากนี้ น้ำสับปะรดยังช่วยบรรเทาอาการเกิดก้อนขนด้วยเช่นกัน
สำหรับผักที่เหมาะสำหรับกระต่าย มีหลายอย่างเช่น ใบกะเพรา (ป้องกันกระต่ายท้องอืด) ผักกาดหอม ถัวฝักยาว และผักบุ้งไทยส่วนผักบุ้งจีนไม่สมควรให้เพราะว่ามียางเยอะ ซึ่งอาจจะทำให้กระต่ายท้องเสียได้มีข้อสังเกตง่ายๆ ผักสีเขียวเข้มทานได้ ผักสีเขียวอ่อนควรหลีกเลี่ยง
อาหารเสริมเช่น ข้าวโอ๊ต เมล็ดทานตะวัน (ช่วยบำรุงขน)โดยเฉพาะข้าวเปลือก ซึ่งมีวิตามินบี เพื่อช่วยให้พ่อพันธุ์สมบูรณ์พันธุ์ก่อนผสม
สุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุด ภาชนะที่ใส่อาหารเช่นภาชนะดินเผา กระเบื้องเคลือบหรือกล่องใส่อาหารอัตโนมัติและกระบอกน้ำหรือถังจ่ายน้ำอัตโนมัติควรจะดูแลเรื่องความสะอาดอย่างดีและพิเศษที่สุดภาชนะควรทำความสะอาดอย่างน้อยอาทิตย์ละสองสามครั้งเพื่อล้างคราบสกปรกเช่นปัสสาวะและอุจจาระที่อาจจะกระเด็นหรือตกค้างอยู่โดยส่วนตัวอยากแนะนำให้ใช้ภาชนะที่ทำความสะอาดและแห้งได้ง่ายเพื่อลดโอกาสที่กระต่ายจะเกิดอาการท้องเสีย จากเชื้อรากรณีที่ภาชนะไม่แห้งสนิทได้นอกจากนี้ผู้เลี้ยงควรจะต้องหมั่นสังเกตกระบอกน้ำว่ากระต่ายสามารถเลียหรือดูดน้ำได้หรือไม่ โดยดูดจากปริมาณน้ำที่ลดลงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่เป็นจุกน้ำอัตโนมัติ ผู้เลี้ยงต้องหมั่นสังเกตตลอดเวลาหากจุกน้ำรั่วหรืออุดตันก็อาจจะส่งผลเสียหรืออันตรายกับชีวิตน้อยๆเหล่านี้ได้
สุดท้ายอยากฝากไว้ว่า สุขอนามัยของภาชนะอาหารและกระบอกน้ำมีความสำคัญพอๆกันกับความสะอาดของอาหารที่ให้กระต่ายทาน
หมายเหตุตัวเลขปริมาณอาหาร เป็นตัวเลขโดยประมาณสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามพฤติกรรมการกินของกระต่ายแต่ละตัว
 

 
 
 
 

อเมริกัน ฟัซซี่ ลอป
 
Share this